รองเลขาฯ กกต. ชูประกาศ คสช. ฉ.58 ทำวินิจฉัยแจกใบเหลือง-แดง เลือกตั้งท้องถิ่นได้มีประสิทธิภาพขึ้น สั่งฝ่ายสืบสวนฯปรับปรุงระเบียบกำหนดระยะเวลาให้ชัด รอพิจารณา 29 มิ.ย. เลื่อนเลือกตั้งหรือไม่
วันนี้ (11 มิ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายสุเทพ พรหมวาศ รองเลขาธิการ กกต. กล่าวว่า จากกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศฉบับที่ 58/2557 โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ กกต. ในการพิจารณาและเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 32 ลงวันที่ 30 ก.ย. 2549 ที่ให้ กกต. ประกาศผลการเลือกตั้งภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง พร้อมให้อำนาจ กกต. พิจารณาประกาศผลการเลือกตั้งภายใน 60 วัน นับแต่วันเลือกตั้งนั้น กกต. ได้มีการหารือกันในที่ประชุม โดยเห็นว่า ประกาศ คสช. ฉบับนี้จะช่วยให้ กกต. สามารถสืบสวนสอบสวน พิจารณาวินิจฉัยให้ใบเหลือง-ใบแดง ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้วางกรอบระยะเวลาในการดำเนินการพิจารณาเพื่อประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งหากไม่มีเรื่องร้องคัดค้านก็สามารถประกาศรับร้องได้ภายใน 7 วัน แต่หากมีเรื่องร้องคัดค้าน คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนของสำนักงาน กกต. ก็จะรีบประมวลเรื่องก่อนเสนอให้ กกต. พิจารณาได้ไม่เกิน 20 วัน
“กกต. ได้มีการกำชับฝ่ายสืบสวนฯ และให้มีการปรับปรุงระเบียบ กกต. ว่าด้วยการสืบสวนและวินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนว่า กระบวนการสืบสวนสอบสวนของ กกต. จังหวัด จะแล้วเสร็จในกี่วัน ส่งเรื่องมาให้ส่วนกลางเมื่อไร และส่วนกลางจะพิจารณาวินิจฉัยส่งเรื่องให้ กกต. พิจารณาได้เมื่อใด เพื่อจะสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งภายในกำหนด 60 วันก่อนประกาศผล” นายสุเทพ กล่าวและว่า แต่ทั้งนี้ หากพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 60 วัน กกต. ต้องส่งเรื่องให้ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยต่อ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับคำร้องคัดค้านแล้ว สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที จนกว่าการพิจารณาจะถึงที่สุด เช่นเดียวกับกรณีของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าฯ กทม. ที่ขณะนี้หยุดปฏิบัติหน้าที่แล้ว เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องคัดค้าน” นายสุเทพ กล่าว
นายสุเทพ กล่าวว่า สำหรับคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งท้องถิ่น ขณะนี้มีกว่า 640 สำนวน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำร้องคัดค้านที่เกี่ยวกับการใช้อิทธิพลในการจูงใจ เพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง การให้ทรัพย์สิน เพื่อให้ได้คะแนนนิยมในตัวผู้สมัคร ซึ่งคำร้องคัดค้านทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ต้องชะลอการจัดการเลือกตั้งออกไปนั้น กกต. จะพิจารณาอีกครั้งหลังวันที่ 29 มิ.ย. นี้ ทั้งนี้ ในหลายจังหวัดที่ คสช. มีประกาศยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) เชื่อว่าน่าจะมีโอกาสที่จะสามารถจัดการเลือกตั้งได้โดยเร็ว
วันนี้ (11 มิ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายสุเทพ พรหมวาศ รองเลขาธิการ กกต. กล่าวว่า จากกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศฉบับที่ 58/2557 โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ กกต. ในการพิจารณาและเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 32 ลงวันที่ 30 ก.ย. 2549 ที่ให้ กกต. ประกาศผลการเลือกตั้งภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง พร้อมให้อำนาจ กกต. พิจารณาประกาศผลการเลือกตั้งภายใน 60 วัน นับแต่วันเลือกตั้งนั้น กกต. ได้มีการหารือกันในที่ประชุม โดยเห็นว่า ประกาศ คสช. ฉบับนี้จะช่วยให้ กกต. สามารถสืบสวนสอบสวน พิจารณาวินิจฉัยให้ใบเหลือง-ใบแดง ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้วางกรอบระยะเวลาในการดำเนินการพิจารณาเพื่อประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งหากไม่มีเรื่องร้องคัดค้านก็สามารถประกาศรับร้องได้ภายใน 7 วัน แต่หากมีเรื่องร้องคัดค้าน คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนของสำนักงาน กกต. ก็จะรีบประมวลเรื่องก่อนเสนอให้ กกต. พิจารณาได้ไม่เกิน 20 วัน
“กกต. ได้มีการกำชับฝ่ายสืบสวนฯ และให้มีการปรับปรุงระเบียบ กกต. ว่าด้วยการสืบสวนและวินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนว่า กระบวนการสืบสวนสอบสวนของ กกต. จังหวัด จะแล้วเสร็จในกี่วัน ส่งเรื่องมาให้ส่วนกลางเมื่อไร และส่วนกลางจะพิจารณาวินิจฉัยส่งเรื่องให้ กกต. พิจารณาได้เมื่อใด เพื่อจะสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งภายในกำหนด 60 วันก่อนประกาศผล” นายสุเทพ กล่าวและว่า แต่ทั้งนี้ หากพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 60 วัน กกต. ต้องส่งเรื่องให้ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยต่อ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับคำร้องคัดค้านแล้ว สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที จนกว่าการพิจารณาจะถึงที่สุด เช่นเดียวกับกรณีของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าฯ กทม. ที่ขณะนี้หยุดปฏิบัติหน้าที่แล้ว เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องคัดค้าน” นายสุเทพ กล่าว
นายสุเทพ กล่าวว่า สำหรับคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งท้องถิ่น ขณะนี้มีกว่า 640 สำนวน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำร้องคัดค้านที่เกี่ยวกับการใช้อิทธิพลในการจูงใจ เพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง การให้ทรัพย์สิน เพื่อให้ได้คะแนนนิยมในตัวผู้สมัคร ซึ่งคำร้องคัดค้านทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ต้องชะลอการจัดการเลือกตั้งออกไปนั้น กกต. จะพิจารณาอีกครั้งหลังวันที่ 29 มิ.ย. นี้ ทั้งนี้ ในหลายจังหวัดที่ คสช. มีประกาศยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) เชื่อว่าน่าจะมีโอกาสที่จะสามารถจัดการเลือกตั้งได้โดยเร็ว