xs
xsm
sm
md
lg

“นิคม” ขู่เลือก ปธ.วุฒิฯ เสี่ยงถูกฟ้องแน่ บีบศาล รธน.รับคำร้อง “สุรชัย” ไม่วิจารณ์ข้อเสนอ “มาร์ค”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายนิคม ไวยรัชพาณิชย์ ประธานวุฒิสภา (แฟ้มภาพ)
รองประธานวุฒิสภา ไม่วิจารณ์ข้อเสนอ “อภิสิทธิ์” หวั่นถูกโยงเลือกประธานวุฒิสภา รับกำลังศึกษาอยู่ ชี้ทุกฝ่ายต้องยอมรับก่อน แนะพวกปฏิเสธร่วมเสนอแนวทางที่ไม่ใช่สูตรเดียว ด้าน “นิคม” อ้างเลือก ปธ. สมัยนี้เสี่ยงถูกฟ้อง บีบศาล รธน. ใช้มาตรฐานเดียวรับคำร้อง

วันนี้ (4 พ.ค.) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอขั้นตอนดำเนินการปฏิรูป 10 ข้อ โดยเฉพาะข้อที่ 6 การตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล โดยให้ประธานวุฒิสภาเป็นฝ่ายสรรหา ว่า ยังไม่อยากให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวมาก เพราะเกรงว่าจะมีการนำไปเชื่อมโยงต่อการดำเนินการเลือกประธานวุฒิสภาที่กำลังจะมีขึ้น แต่ในเบื้องต้นก็ได้รับทราบและกำลังศึกษาข้อเสนอ นายอภิสิทธิ์ อยู่ ส่วนตัวมองว่า การแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายก่อน แต่ก็จะเห็นได้ว่ามีรัฐมนตรีหลายท่านออกมาแสดงความคิดในเชิงปฏิเสธแล้ว ตนจึงอยากให้ทุกฝ่ายอย่าปฏิเสธเพียงอย่างเดียว แต่ขอให้ช่วยกันเสนอแนะข้อคิดเห็นเพิ่มเติมด้วย เพราะแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีสูตรเดียว แต่อาจจะต้องมีหลายสูตรเพื่อมาผสมรวมกันให้เป็นทางออกของประเทศได้

ด้าน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการดำเนินการเลือกประธานวุฒิสภา ว่า ยืนยันว่าการเลือกประธานวุฒิสภา ไม่เคยมีการทำในการประชุมสมัยวิสามัญ อีกทั้งการประชุมในครั้งนี้ พ.ร.ฎ. ได้กำหนดกรอบทำหน้าที่ของวุฒิสภาไว้ชัดเจนว่ามีเพียง 2 เรื่อง คือ 1. ตั้งคณะกรรมาธิการสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิศาลปกครอง และ 2. ตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบประวัติ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เท่านั้น ดังนั้นการดำเนินการเพื่อลงมติเลือกประธานวุฒิสภาจึงอาจสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ดำเนินการนอกเหนือไปจากที่ พ.ร.ฎ. กำหนด และศาลก็จะต้องรับไว้พิจารณาอย่างแน่นอน เพราะ เอกสิทธิ์ที่คุ้มครองการลงมติของ ส.ส. และ ส.ว. ในมาตรา 130 นั้น ไม่ได้รับการคุ้มครองแล้ว เนื่องจากตนและเพื่อน ส.ว. จำนวน 36 คน ขนาดดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วก็ยังไม่ได้รับการคุ้มครอง จึงมองว่าศาลน่าจะใช้มาตรฐานเดียวกัน


กำลังโหลดความคิดเห็น