กฤษฎีกาแจง กมธ.การเงินฯ วุฒิ ยัน รบ.กู้ ธ.ก.ส.1.3 แสนล้าน จ่ายหนี้จำนำข้าวไม่ขัด รธน.ม.181 เหตุก่อหนี้ก่อนยุบสภา ไม่ผูกพันกับรัฐบาลใหม่ ขณะที่ สคร.แจงไม่มีนโยบายออกพันธบัตรใช้หนี้
วันนี้ (25 ก.พ.) คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา ที่มี นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการเงินฯ เป็นประธานในการประชุมได้พิจารณาศึกษาและติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก แนวทางการจัดหาแหล่งเงินกู้ และมาตรการเร่งรัดการระบายข้าว เพื่อจ่ายเงินค้างจ่ายตามใบประทวนสินค้า ให้แก่ชาวนา โดย นายดิสทัต โหตระกิตย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า กรณีที่คณะรัฐมนตรีรักษาการอนุมัติการปรับปรุงแผนการบริการหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2557 ซึ่งเป็นการปรับลดวงเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ โครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาทของรัฐวิสาหกิจบางรายลง เพื่อเปิดวงเงินค้ำประกันเงินกู้ ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.จำนวน 1.3 แสนล้านบาท เพื่อนำเงินดังกล่าวมาชำระหนี้ให้แก่เกษตรในโครงการรับจำนำข้าว ปี 56-57 ซึ่งรัฐบาลได้ถามความเห็นมา
ซึ่งทางคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่าการดำเนินการกู้เงินของรัฐบาลรักษาการ ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 181(3) เนื่องจากโครงการรับจำนำข้าวดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดหนี้ที่รัฐบาลจะต้องชำระตามกฎหมาย ประกอบกับเป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาก่อนที่จะออกพระราชกฤษฎีกายุบสภา ดังนั้นการกู้เงินดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นการกระทำที่มีผลผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ตามมาตราดังกล่าว ส่วนจะเข้าข่ายเป็นการกระทำที่มีผลต่อการเลือกตั้งตามมาตรา 181(4) หรือไม่ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งจะพิจารณา
ขณะที่ นางปิยวรรณ ล่ามกิจจา ผู้อำนวยการสำนักบริหารหลักทรัพย์ของรัฐ หรือ สคร. ยืนยันว่า สคร.ไม่มีนโยบายให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจนำเงินสภาพคล่องมาใช้ในการลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพื่อมาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวตามที่มีกระแสข่าว พร้อมยืนยันว่าการดำเนินการทุกอย่างของ สคร.ยึดข้อกฎหมายและระเบียบของหน่วยงาน
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้ากรรมาธิการ จะเชิญ รมว.คลัง และ รมว.พาณิชย์ มาชี้แจงถึงแนวทางการจ่ายเงินค้างจ่ายในโครงการรับจำนำข้าว เนื่องจาก นายสุชาติ สินรัตน์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ซึ่งได้รับมอบหมายไม่สามารถตอบข้อซักถามของกรรมาธิการได้อย่างชัดเจน
วันนี้ (25 ก.พ.) คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา ที่มี นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการเงินฯ เป็นประธานในการประชุมได้พิจารณาศึกษาและติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก แนวทางการจัดหาแหล่งเงินกู้ และมาตรการเร่งรัดการระบายข้าว เพื่อจ่ายเงินค้างจ่ายตามใบประทวนสินค้า ให้แก่ชาวนา โดย นายดิสทัต โหตระกิตย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า กรณีที่คณะรัฐมนตรีรักษาการอนุมัติการปรับปรุงแผนการบริการหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2557 ซึ่งเป็นการปรับลดวงเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ โครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาทของรัฐวิสาหกิจบางรายลง เพื่อเปิดวงเงินค้ำประกันเงินกู้ ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.จำนวน 1.3 แสนล้านบาท เพื่อนำเงินดังกล่าวมาชำระหนี้ให้แก่เกษตรในโครงการรับจำนำข้าว ปี 56-57 ซึ่งรัฐบาลได้ถามความเห็นมา
ซึ่งทางคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่าการดำเนินการกู้เงินของรัฐบาลรักษาการ ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 181(3) เนื่องจากโครงการรับจำนำข้าวดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดหนี้ที่รัฐบาลจะต้องชำระตามกฎหมาย ประกอบกับเป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาก่อนที่จะออกพระราชกฤษฎีกายุบสภา ดังนั้นการกู้เงินดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นการกระทำที่มีผลผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ตามมาตราดังกล่าว ส่วนจะเข้าข่ายเป็นการกระทำที่มีผลต่อการเลือกตั้งตามมาตรา 181(4) หรือไม่ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งจะพิจารณา
ขณะที่ นางปิยวรรณ ล่ามกิจจา ผู้อำนวยการสำนักบริหารหลักทรัพย์ของรัฐ หรือ สคร. ยืนยันว่า สคร.ไม่มีนโยบายให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจนำเงินสภาพคล่องมาใช้ในการลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพื่อมาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวตามที่มีกระแสข่าว พร้อมยืนยันว่าการดำเนินการทุกอย่างของ สคร.ยึดข้อกฎหมายและระเบียบของหน่วยงาน
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้ากรรมาธิการ จะเชิญ รมว.คลัง และ รมว.พาณิชย์ มาชี้แจงถึงแนวทางการจ่ายเงินค้างจ่ายในโครงการรับจำนำข้าว เนื่องจาก นายสุชาติ สินรัตน์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ซึ่งได้รับมอบหมายไม่สามารถตอบข้อซักถามของกรรมาธิการได้อย่างชัดเจน