สภาทนายความออกแถลงการณ์ หลังสังคมออนไลน์ชี้นำให้ประชาชนนอนหลับทับสิทธิ์ให้ได้ 24 ล้านเสียง เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ อาจทำให้เข้าใจผิด ชี้ตามรัฐธรรมนูญการเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่ ไม่ไปจะถูกตัดสิทธิ์ ผู้สมัครผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำได้ง่าย แนะถ้ามีเลือกตั้งให้โหวตโนอย่างถล่มทลายเพื่อประท้วง กกต.
วันนี้ (23 ม.ค.) สภาทนายความออกแถลงการณ์ เรื่อง ควรไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่ (ถ้ามีการเลือกตั้ง) ระบุว่า ตามที่ได้มีการส่งข้อมูลทางระบบสังคมออนไลน์ชี้นำประชาชนว่าให้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้ได้จำนวนครบ 24 ล้านเสียงที่ไม่ใช้สิทธิ หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งประมาณ 48 ล้านเสียง เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ นั้น สภาทนายความเห็นว่าข้อความคำชี้แนะดังกล่าวจะทำให้ประชาชนเกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด จึงขอชี้แจงข้อกฎหมายการเลือกตั้งมา ดังนี้
1.การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ถือว่าเป็นหน้าที่ซึ่งประชาชนผู้มีอายุถึงเกณฑ์ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามกฎหมาย เว้นแต่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ แต่จะต้องแจ้งเหตุโดยยื่นหนังสือต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งก่อน หรือหลังวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยแจ้งเหตุเรื่อง (1) เจ็บป่วย (2) ไม่สะดวกไปใช้สิทธิเพราะทุพพลภาพ (3) มีอายุเกินกว่า 70 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ (4) ไม่อยู่ในภูมิลำเนาเขตเลือกตั้งในวันเลือกตั้งและเหตุอันสมควรอื่น
2.กรณีที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ไม่ไปใช้สิทธิและไม่ได้แจ้งเหตุจะเสียสิทธิ ดังนี้ (1) สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น (2) สิทธิในการร้องคัดค้านการเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (3) สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (4) สิทธิในการสมัครรับเลือกเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (5) สิทธิในการเข้าชื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น (6) สิทธิในการเข้าชื่อให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (7) สิทธิในการเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (8) สิทธิในการร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา (9) สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และ (10) สิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
การใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นจะได้กลับคืนมาต่อเมื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น
3.เมื่อการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของผู้มีสิทธิแต่ละบุคคล การไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจึงถูกตัดสิทธิ แต่ถ้าไปเลือกตั้งแล้วใช้สิทธิไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือที่สื่อสารกันว่าให้ Vote No นั้น เมื่อนับคะแนนของผู้ที่สมัครรับเลือกตั้งได้น้อยกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง (Vote No) จะทำให้ต้องมีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นอีก ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
ดังนั้น การที่มีข่าวเชิญชวนไม่ให้ไปเลือกตั้งจะทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจะสามารถผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของผู้ที่ต่อต้านการเลือกตั้งได้โดยง่าย แต่ถ้าผู้ต่อต้านการเลือกตั้งไปเลือกตั้ง และใช้สิทธิกากบาทแสดงความประสงค์ไม่ลงคะแนนเลือกตั้ง หรือ Vote No (ไม่ใช่ No vote คือไม่ไปใช้สิทธิลงคะแนน หรือไม่กากบาทเลย หรือกาทิ้งๆ ขว้าง ๆ ไม่ถูกช่อง เพราะจะเป็นบัตรเสีย) ซึ่งเมื่อรวมบัตร Vote No ในเขตเลือกตั้งใดมากกว่าคะแนนของผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว ถือว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตนั้นสอบไม่ผ่านต้องรอการเลือกตั้งครั้งใหม่ดังที่ชี้แจงในข้อที่ 2 ข้างต้น ส่วนกรณีผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิในเขตเลือกตั้งนั้น เป็นเงื่อนไขอีกข้อหนึ่ง ซึ่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องผ่านทั้ง 2 ประเด็น
สภาทนายความเห็นว่าการใช้สิทธิซึ่งเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของประชาชนคนไทย การไปเลือกตั้ง และหากจะใช้สิทธิไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง คือ Vote No อย่างถล่มทลายแล้วย่อมเป็นการแสดงการประท้วงการเลือกตั้งอย่างหนึ่งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องนำมาพิจารณาในกรณีที่จะออกประกาศให้มีการเลือกตั้งครั้งต่อไปว่าจะสามารถดำเนินการให้โปร่งใส รวดเร็ว และเที่ยงธรรม ได้ตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร
วันนี้ (23 ม.ค.) สภาทนายความออกแถลงการณ์ เรื่อง ควรไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่ (ถ้ามีการเลือกตั้ง) ระบุว่า ตามที่ได้มีการส่งข้อมูลทางระบบสังคมออนไลน์ชี้นำประชาชนว่าให้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้ได้จำนวนครบ 24 ล้านเสียงที่ไม่ใช้สิทธิ หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งประมาณ 48 ล้านเสียง เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ นั้น สภาทนายความเห็นว่าข้อความคำชี้แนะดังกล่าวจะทำให้ประชาชนเกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด จึงขอชี้แจงข้อกฎหมายการเลือกตั้งมา ดังนี้
1.การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ถือว่าเป็นหน้าที่ซึ่งประชาชนผู้มีอายุถึงเกณฑ์ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามกฎหมาย เว้นแต่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ แต่จะต้องแจ้งเหตุโดยยื่นหนังสือต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งก่อน หรือหลังวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยแจ้งเหตุเรื่อง (1) เจ็บป่วย (2) ไม่สะดวกไปใช้สิทธิเพราะทุพพลภาพ (3) มีอายุเกินกว่า 70 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ (4) ไม่อยู่ในภูมิลำเนาเขตเลือกตั้งในวันเลือกตั้งและเหตุอันสมควรอื่น
2.กรณีที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ไม่ไปใช้สิทธิและไม่ได้แจ้งเหตุจะเสียสิทธิ ดังนี้ (1) สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น (2) สิทธิในการร้องคัดค้านการเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (3) สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (4) สิทธิในการสมัครรับเลือกเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (5) สิทธิในการเข้าชื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น (6) สิทธิในการเข้าชื่อให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (7) สิทธิในการเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (8) สิทธิในการร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา (9) สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และ (10) สิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
การใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นจะได้กลับคืนมาต่อเมื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น
3.เมื่อการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของผู้มีสิทธิแต่ละบุคคล การไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจึงถูกตัดสิทธิ แต่ถ้าไปเลือกตั้งแล้วใช้สิทธิไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือที่สื่อสารกันว่าให้ Vote No นั้น เมื่อนับคะแนนของผู้ที่สมัครรับเลือกตั้งได้น้อยกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง (Vote No) จะทำให้ต้องมีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นอีก ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
ดังนั้น การที่มีข่าวเชิญชวนไม่ให้ไปเลือกตั้งจะทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจะสามารถผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของผู้ที่ต่อต้านการเลือกตั้งได้โดยง่าย แต่ถ้าผู้ต่อต้านการเลือกตั้งไปเลือกตั้ง และใช้สิทธิกากบาทแสดงความประสงค์ไม่ลงคะแนนเลือกตั้ง หรือ Vote No (ไม่ใช่ No vote คือไม่ไปใช้สิทธิลงคะแนน หรือไม่กากบาทเลย หรือกาทิ้งๆ ขว้าง ๆ ไม่ถูกช่อง เพราะจะเป็นบัตรเสีย) ซึ่งเมื่อรวมบัตร Vote No ในเขตเลือกตั้งใดมากกว่าคะแนนของผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว ถือว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตนั้นสอบไม่ผ่านต้องรอการเลือกตั้งครั้งใหม่ดังที่ชี้แจงในข้อที่ 2 ข้างต้น ส่วนกรณีผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิในเขตเลือกตั้งนั้น เป็นเงื่อนไขอีกข้อหนึ่ง ซึ่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องผ่านทั้ง 2 ประเด็น
สภาทนายความเห็นว่าการใช้สิทธิซึ่งเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของประชาชนคนไทย การไปเลือกตั้ง และหากจะใช้สิทธิไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง คือ Vote No อย่างถล่มทลายแล้วย่อมเป็นการแสดงการประท้วงการเลือกตั้งอย่างหนึ่งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องนำมาพิจารณาในกรณีที่จะออกประกาศให้มีการเลือกตั้งครั้งต่อไปว่าจะสามารถดำเนินการให้โปร่งใส รวดเร็ว และเที่ยงธรรม ได้ตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร