xs
xsm
sm
md
lg

สภาพัฒน์เฉือนเป้าจีดีพีเหลือ 3% เหตุการณ์ใช้จ่ายภาคครัวเรือนลด-การลงทุนหด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ (แฟ้มภาพ)
“สภาพัฒน์” หั่นเป้าจีดีพีจาก 3.8-4.3% เหลือ 3% เหตุการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน และค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนลด ส่วนจีดีพีไตรมาส 3/2556 ก็ต่ำว่าที่คาด โตแค่ 2.7% หวังปี 2557 ปัจจัยหนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก การดำเนินการตามแผนลงทุนภาครัฐ ทั้งการบริหารจัดการน้ำ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ด้านแรงกดดันเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ต่ำ



นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 3/2556 เติบโตเพียง 2.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าไตรมาส 4/2556 จะเติบโตราว 1% กว่า เนื่องจากฐานที่สูงเกินปกติในไตรมาส 4/2555 ดังนั้น จึงได้พิจารณาปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 2556 เหลือเพียง 3% จากเดิมคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวในช่วง 3.8-4.3%

“เป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศหดตัวลง โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ลดลงร้อยละ 1.2 เนื่องจากการใช้จ่ายสินค้าคงทนประเภทยานยนต์หดตัวสูงภายหลังผลของนโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรกหมดลง การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนลดลงร้อยละ 6.5 ลดลงทั้งการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน”

นายอาคมกล่าวว่า เศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3/56 ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคครัวเรือนลดลง เนื่องจากการซื้อสินค้าคงทนประเภทยานยนต์ลดลงมากจากฐานสูงในปีก่อน และการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนลดลง แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนอยู่บ้างจากการขยายตัวของการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่การส่งออกสินค้าหดตัว ส่วนด้านการผลิตพบว่ายังมีการขยายตัวที่ได้ปัจจัยหนุนจากสาขาโรงแรม ภัตตาคาร การเงิน และคมนาคมขนส่งที่ยังขยายตัว

ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2556 มีการเติบโตต่ำกว่าช่วงประมาณการเดิม เนื่องจากการส่งออกขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ รวมทั้งปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งปีมีแนวโน้มต่ำกว่าเป้าหมายของภาคเอกชนที่ตั้งไว้ 2.5 ล้านคัน ขณะที่การดำเนินการของแผนการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐไม่เป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งยังมีผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ซึ่งคาดว่าสการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์จะไม่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน

ส่วนในปี 2557 ปัจจัยสนับสนุนมาจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก การดำเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐทั้งการบริหารจัดการน้ำ และการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 7.4 แต่อุปสงค์ต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะภาคบริการ การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิขยายตัวสูงร้อยละ 18.6 เทียบกับที่หดตัวร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 1.4 แต่รายรับจากบริการขยายตัวสูงร้อยละ 25.5 ส่วนการนาเข้าสินค้าลดลงร้อยละ 0.5 และรายจ่ายจากบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4

การผลิตภาคเกษตร หดตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสที่แล้วขยายตัวร้อยละ 2.5 เป็นผลจากสาขาประมงที่หดตัวร้อยละ 7.4 เนื่องจากผลผลิตกุ้งที่ยังคงลดลงจากปัญหาโรคระบาด EMS (Early Mortality Syndrome) ส่วนสาขาพืชผลและปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 0.3 และ 1.4 ตามลาดับ

การผลิตภาคนอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.9 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.0 ในไตรมาส ที่แล้ว การผลิตในสาขาอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.4 เป็นผลกระทบจากอุปสงค์ภายในประเทศลดลงและความต้องการจากต่างประเทศฟื้นตัวช้า โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่การผลิตลดลง เช่น การผลิตอาหารหดตัวเนื่องจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจากภาคเกษตร อุตสาหกรรมยานยนต์ความต้องการในประเทศลดลงประกอบกับฐานที่สูงในปีที่แล้วจากนโยบายคืนภาษีรถยนต์ คันแรก สาขาเหมืองแร่และย่อยหินหดตัวลงร้อยละ 2.5 จากการผลิตก๊าซธรรมชาติที่ลดลง สาขาการค้าส่งค้าปลีกฯ ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 2.5 ตามความต้องการในประเทศที่ชะลอลง ในส่วนของสาขาบริการที่ยังคงขยายตัวดีประกอบด้วย สาขาโรงแรมและภัตตาคารที่ขยายตัวร้อยละ 15.1 จากบริการโรงแรมที่ได้รับปัจจัยบวกจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สาขาขนส่งและคมนาคมขยายตัวร้อยละ 8.6 โดยการขนส่งได้รับผลดีจากการท่องเที่ยวเช่นกัน ส่วนโทรคมนาคมขยายตัวจากการให้บริการสื่อสารระบบ 3G ในขณะที่สาขาตัวกลางทางการเงินขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 11.3

GDP ที่ปรับค่าฤดูกาล เพิ่มร้อยละ 1.3 จากไตรมาสที่แล้วทรงตัวร้อยละ 0.0

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาประจำปี มีมูลค่า 2,921.7 พันล้านบาท เมื่อหักผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตสุทธิจ่ายไปต่างประเทศ 303.5 พันล้านบาท คงเหลือเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product: GNP) เท่ากับ 2,618.2 พันล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงหดตัวร้อยละ 5.0

ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจาปี เกินดุล 199.98 พันล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตและเงินโอนสุทธิจากต่างประเทศ ทาให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 27.4 พันล้านบาท

ระดับราคา ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตและดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และร้อยละ 1.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และร้อยละ 2.3 ในไตรมาสที่แล้ว ตามลาดับ

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนในไตรมาส 3/2556 หดตัวร้อยละ 1.2 จากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในไตรมาสที่แล้ว เมื่อปรับค่าการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล การใช้จ่ายในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 1.3

ในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลได้อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่าย 2,400,000 ล้านบาท โดยไตรมาสนี้มีการเบิกจ่ายรวม 507,521 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 6.3 เบิกจ่ายเหลื่อมปี 41,345 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.5 และเบิกจ่ายจากโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จานวน 3,163 ล้านบาท เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) จานวน 4,006 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้า จานวน 3,616 ล้านบาท รวมยอดเบิกจ่ายในไตรมาสนี้ทั้งสิ้น 559,651 ล้านบาท

ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ ณ ราคาประจำปีมีมูลค่าลดลง 37,061 ล้านบาท จากไตรมาสที่แล้ว โดยไตรมาสนี้ภาวะการผลิตโดยรวมชะลอลงเล็กน้อย การใช้จ่ายของครัวเรือน และการลงทุนลดลง ในขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสติดกัน ในไตรมาสนี้การสะสมสต็อกของทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมลดลง โดยเฉพาะข้าวเปลือกและข้าวสารที่มีการสะสมสต็อกลดลง เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยว ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมที่มีการสะสมสต็อกลดลงมาก ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร และหมวดผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping : AD) ของสินค้านาเข้าจานวน 3 รายการ ประกอบด้วย เหล็กแผ่นรีดร้อนจากเกาหลีใต้ เหล็กแผ่นรีดเย็นจากจีน เวียดนาม ไต้หวัน และเหล็กลวดคาร์บอนสูงจากจีน เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีการสะสมสต็อกเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดอุปกรณ์สานักงาน ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ หมวดผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น
กำลังโหลดความคิดเห็น