สมช.ตั้งศูนย์อำนวยการร่วมสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ แถลงข่าวที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาลทุกวันที่มีเหตุการณ์ที่สำคัญ ตั้งแต่ไฟใต้ ยันม็อบไล่รัฐบาล-พระวิหาร อ้างเพื่อทันสถานการณ์ “ธีรัตถ์-หมวดเจี๊ยบ” โต้เรื่องการเมือง เตรียมขึ้นตัววิ่งในทำเนียบแจ้งเหตุด่วน ด้านตำรวจยันวิสามัญ “เปเล่ดำ” ไม่เกินกว่าเหตุ ผบ.ตร.สั่งจัด 3 หน่วยจู่โจม หวังเพิ่มประสิทธิภาพปิดล้อม-ตรวจค้น สมช.รับยังไม่นัด “บีอาร์เอ็น” ถกสันติภาพรอบ 4
วันนี้ (24 ต.ค.) ที่กระทรวงกลาโหม พล.ต.สุรชาติ จิตต์แจ้ง หัวหน้าส่วนประชาสัมพันธ์ และสารสนเทศ สำนักรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์และแถลงข่าว พร้อมด้วยผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมแถลงข่าวความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย พ.อ.จรูญ อำภา ที่ปรึกษา สมช.กล่าวว่า จากกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตผู้อำนวยศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ (ผอ.ศปก.กปต.) ได้เซ็นคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พ.ย.55 ให้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (ศอร.สมช.) ซึ่งเป็นศูนย์เฉพาะกิจภายใน สมช.เพื่อให้การทำงานมีการบูรณาการร่วมมือทั้งจากพลเรือน ตำรวจ ทหาร ซึ่งขณะนี้คณะทำงานดังกล่าวตั้งมาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว ทาง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขา สมช.ในฐานะ ผอ.ศอร.สมช.จึงได้แต่งตั้งตน และ พ.อ.ปริญญา ฉายดิลก เป็น รองโฆษก ศอร.สมช.เพื่อช่วยงานการชี้แจงทำความเข้าใจกับสื่อมวลชนถึงงานด้านความมั่นคงที่ สมช.เกี่ยวข้อง โดยทีมรองโฆษกจะมีการแถลงข่าวทุกวันที่มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การชุมนุมของกลุ่มต่างๆ ที่กระทบต่อความมั่นคง สถานการณ์ชายแดนเขาพระวิหาร โดยจะมีการชี้แจงที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล
พ.อ.จรูญ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ในภาคใต้ดีขึ้นตามลำดับ ส่วนความคืบหน้าการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ครั้งที่ 4 นั้น ยังไม่ได้มีการกำหนดวันการพูดคุยสันติภาพที่ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ข้อมูลจาก 4 ส่วนงานทั้งส่วนงานด้านพัฒนา ด้านความมั่นคง ด้านยุติธรรม และด้านสิทธิมนุษยชน มีความพร้อมที่จะนำข้อมูลเข้าสู่ที่ประชุม ศปก.กปต.ขณะนี้รอเพียงสัญญาณจาก พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะ ผอ.ศปก.กปต.นัดวันประชุม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตกผลึกออกมาเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับทีมคณะพูดคุยต่อไป
ด้าน พ.อ.ปริญญา ฉายดิลก รองโฆษก ศอร.สมช.กล่าวว่า การเริ่มใช้กลไกของ ศอร.สมช.ในการจัดทีมประชาสัมพันธ์ชี้แจงหลังจากที่มีคำสั่งออกมาแล้ว 1 ปี เพราะสถานการณ์ขณะนี้เปลี่ยนแปลงไปจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับประชาชน เพื่อให้ทันท่วงทีต่อสถานการณ์ เพราะปัจจุบันข่าวสารเกิดขึ้นรวดเร็วมาก อีกทั้งที่ผ่านมา เลขาธิการ สมช.เป็นผู้ชี้แจงเพียงคนเดียว แต่ตอนนี้จะให้รองโฆษก ศอร.สมช.ทั้ง 2 คน ช่วยชี้แจงขยายความในเรื่องภัยคุกคามที่เกี่ยวกับงานด้านความมั่นคง โดย นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ร.ท.หญิง สุนิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะชี้แจงในส่วนของการเมือง โดยจะชี้แจงในประเด็นที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเขาพระวิหาร ภาคใต้ ประเด็นที่พาดพิงส่งผลกระทบต่อความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกับรัฐบาล
“ส่วนหนึ่งคือเรื่องม็อบ หากมีอะไรพาดพิงเรื่องการเมือง ทางฝ่ายการเมืองจะชี้แจง หากเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง เราจะชี้แจง แต่เรื่องการเมืองเกี่ยวโยงกับเรื่องความมั่นคงอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าเราเอา สมช.ไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่ประเด็นเกี่ยวเนื่อง ต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประเมิน อย่างประเด็นการก่อเหตุในภาคใต้ อาจจะมีการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (วีทีซี) กับพ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าจากพื้นที่ ทั้งนี้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี จะเรียกประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะทำงาน โดยเบื้องต้นจะทำเป็นตัววิ่งบนบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ภายในทำเนียบรัฐบาลโดยเร็วเมื่อเกิดเหตุการณ์ เพื่อให้การชี้แจงเป็นไปด้วยความรวดเร็วพอๆ กับการส่งไลน์ จากนั้นจะมีการแถลงชี้แจงเหตุการณ์ต่อสื่อมวลชนต่อไป” พ.อ.ปริญญา กล่าว
พ.ต.อ.อนุชา รมยะนันทน์ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กล่าวถึงกรณีที่มีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเกินกว่าเหตุในการวิสามัญนายอับดุลรอฮิง ดาอีซอ หรือ เปเล่ดำ หัวหน้ากลุ่มอาร์เคเคว่า การดำเนินการดังกล่าวเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำเกินกว่าเหตุ เพราะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย และเป็นความสูญเสียที่สำคัญ ยืนยันว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการปิดล้อมตรวจค้นตามสายข่าวที่ได้แจ้งมา ซึ่งพบว่ามีผู้ก่อความไม่สงบอยู่จริง จนเกิดการปะทะกัน ทำให้ผู้ก่อความไม่สงบและเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นายเสียชีวิต อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวสามารถทำให้เจ้าหน้าที่สามารถออกหมายจับผู้ก่อความไม่สงบเพิ่มอีก 3 คน นอกจากนี้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งการไปยังสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดหน่วยจู่โจมขนาดเล็ก 3 ชุดปฏิบัติการต่อ 1 สถานีตำรวจ และให้ลดกำลังตำรวจธุรการ และงานประจำลง เพื่อให้มีความคล่องตัวในการปิดล้อมตรวจค้น
พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวต่อว่า การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกครั้งจะถูกตรวจสอบทั้งในและนอกประเทศ ถึงแม้จะไม่มีเหตุการณ์นี้ เจ้าหน้าที่ก็ถูกกล่าวหาตลอดเวลาอยู่แล้ว เพราะผู้ก่อความไม่สงบมักจะแต่งกายเลียนแบบเจ้าหน้าที่เพื่อไปก่อเหตุ ทั้งนี้ในพื้นที่เรายังมีการเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องนโยบายและแนวทางในการแก้ปัญหาของรัฐบาล โดยเคารพหลักสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการบังคับใช้กฎหมายภายใต้ความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ อีกทั้งยังมีการเสริมสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่และนอกพื้นที่ในเรื่องต่างๆ ที่ผู้ก่อเหตุนำมาเป็นเงื่อนไขในการก่อเหตุรุนแรง สร้างมวลชน ซึ่งที่ผ่านมาเรายอมรับความเห็นต่างในการเปิดพื้นที่เพื่อพูดคัยสันติภาพกับบุคคลที่เห็นต่างจากรัฐ
วันนี้ (24 ต.ค.) ที่กระทรวงกลาโหม พล.ต.สุรชาติ จิตต์แจ้ง หัวหน้าส่วนประชาสัมพันธ์ และสารสนเทศ สำนักรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์และแถลงข่าว พร้อมด้วยผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมแถลงข่าวความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย พ.อ.จรูญ อำภา ที่ปรึกษา สมช.กล่าวว่า จากกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตผู้อำนวยศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ (ผอ.ศปก.กปต.) ได้เซ็นคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พ.ย.55 ให้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (ศอร.สมช.) ซึ่งเป็นศูนย์เฉพาะกิจภายใน สมช.เพื่อให้การทำงานมีการบูรณาการร่วมมือทั้งจากพลเรือน ตำรวจ ทหาร ซึ่งขณะนี้คณะทำงานดังกล่าวตั้งมาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว ทาง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขา สมช.ในฐานะ ผอ.ศอร.สมช.จึงได้แต่งตั้งตน และ พ.อ.ปริญญา ฉายดิลก เป็น รองโฆษก ศอร.สมช.เพื่อช่วยงานการชี้แจงทำความเข้าใจกับสื่อมวลชนถึงงานด้านความมั่นคงที่ สมช.เกี่ยวข้อง โดยทีมรองโฆษกจะมีการแถลงข่าวทุกวันที่มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การชุมนุมของกลุ่มต่างๆ ที่กระทบต่อความมั่นคง สถานการณ์ชายแดนเขาพระวิหาร โดยจะมีการชี้แจงที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล
พ.อ.จรูญ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ในภาคใต้ดีขึ้นตามลำดับ ส่วนความคืบหน้าการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ครั้งที่ 4 นั้น ยังไม่ได้มีการกำหนดวันการพูดคุยสันติภาพที่ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ข้อมูลจาก 4 ส่วนงานทั้งส่วนงานด้านพัฒนา ด้านความมั่นคง ด้านยุติธรรม และด้านสิทธิมนุษยชน มีความพร้อมที่จะนำข้อมูลเข้าสู่ที่ประชุม ศปก.กปต.ขณะนี้รอเพียงสัญญาณจาก พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะ ผอ.ศปก.กปต.นัดวันประชุม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตกผลึกออกมาเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับทีมคณะพูดคุยต่อไป
ด้าน พ.อ.ปริญญา ฉายดิลก รองโฆษก ศอร.สมช.กล่าวว่า การเริ่มใช้กลไกของ ศอร.สมช.ในการจัดทีมประชาสัมพันธ์ชี้แจงหลังจากที่มีคำสั่งออกมาแล้ว 1 ปี เพราะสถานการณ์ขณะนี้เปลี่ยนแปลงไปจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับประชาชน เพื่อให้ทันท่วงทีต่อสถานการณ์ เพราะปัจจุบันข่าวสารเกิดขึ้นรวดเร็วมาก อีกทั้งที่ผ่านมา เลขาธิการ สมช.เป็นผู้ชี้แจงเพียงคนเดียว แต่ตอนนี้จะให้รองโฆษก ศอร.สมช.ทั้ง 2 คน ช่วยชี้แจงขยายความในเรื่องภัยคุกคามที่เกี่ยวกับงานด้านความมั่นคง โดย นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ร.ท.หญิง สุนิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะชี้แจงในส่วนของการเมือง โดยจะชี้แจงในประเด็นที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเขาพระวิหาร ภาคใต้ ประเด็นที่พาดพิงส่งผลกระทบต่อความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกับรัฐบาล
“ส่วนหนึ่งคือเรื่องม็อบ หากมีอะไรพาดพิงเรื่องการเมือง ทางฝ่ายการเมืองจะชี้แจง หากเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง เราจะชี้แจง แต่เรื่องการเมืองเกี่ยวโยงกับเรื่องความมั่นคงอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าเราเอา สมช.ไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่ประเด็นเกี่ยวเนื่อง ต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประเมิน อย่างประเด็นการก่อเหตุในภาคใต้ อาจจะมีการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (วีทีซี) กับพ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าจากพื้นที่ ทั้งนี้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี จะเรียกประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะทำงาน โดยเบื้องต้นจะทำเป็นตัววิ่งบนบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ภายในทำเนียบรัฐบาลโดยเร็วเมื่อเกิดเหตุการณ์ เพื่อให้การชี้แจงเป็นไปด้วยความรวดเร็วพอๆ กับการส่งไลน์ จากนั้นจะมีการแถลงชี้แจงเหตุการณ์ต่อสื่อมวลชนต่อไป” พ.อ.ปริญญา กล่าว
พ.ต.อ.อนุชา รมยะนันทน์ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กล่าวถึงกรณีที่มีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเกินกว่าเหตุในการวิสามัญนายอับดุลรอฮิง ดาอีซอ หรือ เปเล่ดำ หัวหน้ากลุ่มอาร์เคเคว่า การดำเนินการดังกล่าวเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำเกินกว่าเหตุ เพราะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย และเป็นความสูญเสียที่สำคัญ ยืนยันว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการปิดล้อมตรวจค้นตามสายข่าวที่ได้แจ้งมา ซึ่งพบว่ามีผู้ก่อความไม่สงบอยู่จริง จนเกิดการปะทะกัน ทำให้ผู้ก่อความไม่สงบและเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นายเสียชีวิต อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวสามารถทำให้เจ้าหน้าที่สามารถออกหมายจับผู้ก่อความไม่สงบเพิ่มอีก 3 คน นอกจากนี้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งการไปยังสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดหน่วยจู่โจมขนาดเล็ก 3 ชุดปฏิบัติการต่อ 1 สถานีตำรวจ และให้ลดกำลังตำรวจธุรการ และงานประจำลง เพื่อให้มีความคล่องตัวในการปิดล้อมตรวจค้น
พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวต่อว่า การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกครั้งจะถูกตรวจสอบทั้งในและนอกประเทศ ถึงแม้จะไม่มีเหตุการณ์นี้ เจ้าหน้าที่ก็ถูกกล่าวหาตลอดเวลาอยู่แล้ว เพราะผู้ก่อความไม่สงบมักจะแต่งกายเลียนแบบเจ้าหน้าที่เพื่อไปก่อเหตุ ทั้งนี้ในพื้นที่เรายังมีการเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องนโยบายและแนวทางในการแก้ปัญหาของรัฐบาล โดยเคารพหลักสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการบังคับใช้กฎหมายภายใต้ความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ อีกทั้งยังมีการเสริมสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่และนอกพื้นที่ในเรื่องต่างๆ ที่ผู้ก่อเหตุนำมาเป็นเงื่อนไขในการก่อเหตุรุนแรง สร้างมวลชน ซึ่งที่ผ่านมาเรายอมรับความเห็นต่างในการเปิดพื้นที่เพื่อพูดคัยสันติภาพกับบุคคลที่เห็นต่างจากรัฐ