รัฐแถลงแม่วงก์ไร้เงาฝ่ายต้าน ยันศึกษาครอบคลุม “สื่อเสื้อแดง” โผล่อ้างคนพื้นที่ ยันเสียหายแค่ป่าเชิงเขา อ้างตรรกะถ้ามีน้ำอยู่บนเขาจะดีขึ้นไหม แถเดินป่าหลายสิบปีไม่เคยเจอเสือ ถามสนใจประชาชนอย่างตนบ้างไหม ซัดสื่อออกแต่ข่าว “ศศิน” เตือนระวังแค่คนลวงโลก
วันนี้ (17 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) นำโดยนายสุพจน์ โตวิจักษ์ชัยกุล เลขาธิการ สบอช.นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประธาน และเครือข่ายองค์กรปกครองท้องถิ่น สนับสนุนการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ร่วมแถลงชี้แจงการสร้างเขื่อนแม่วงก์
โดย นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ กล่าวว่าแนวคิดการสร้างเขื่อนแม่วงก์ มีความเกี่ยวเนื่องกับโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นความต่อเนื่องกัน โดยกรมชลประทานมีหน้าที่บริหารน้ำเพื่อบรรเทาอุทกภัย และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในพื้นที่ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2554 เกิดอุทกภัยที่ไม่คาดคิด บริหารจัดการน้ำอย่างไรก็เสียหาย ซึ่งในครั้งนั้นตัวเลขความเสียหายเป็นมูลค่า 1.4 ล้านบาท รัฐบาลจึงคิดรวบรวมโครงการต่างๆ ที่กระจัดกระจายเพื่อแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด เพราะไม่รู้ว่าจะเสียหายอีกเมื่อไหร่ โดยดำเนินการศึกษาเพื่อกำหนดจุด พบว่าลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง และแม่วงก์ ต้องมีเขื่อนไว้ป้องกันภัยแล้ว
โดยตามแผนงานโครงการ 3.5 แสนล้าน ระบุให้สร้างเขื่อนและแก้มลิงในพื้นที่กลางน้ำ เพื่อชะลอน้ำจากพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งน้ำจากลุ่มน้ำแม่วงก์จะไหลลงสู่แม่น้ำสะแกกรัง และต่อเนื่องลงเจ้าพระยา โดยการสร้างเขื่อนจะสามารถตัดยอดน้ำก่อนลงสู่ เจ้าพระยาได้ประมาณ 1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่เป็นการแก้ปัญหาฤดูน้ำเสีย ที่น้ำจะลงเพื่มในเจ้าพระยา 60 เปอร์เซ็นต์จนอาจควบคุมไม่ได้
ทั้งนี้ เมื่อหารือแล้วใช่ว่ารัฐบาลจะลงมือสร้างเลย แต่ดำเนินการแบบสร้างไปออกแบบและศึกษาไป หรือดีไซน์ แอนด์ บิวก์ และหากชาวชาวบ้านในพื้นที่ เห็นว่าเป็นเรื่องที่เสียมากกว่าดี รัฐบาลก็จะไม่ทำ เพราะรัฐบาลต้องทำให้ดีมากกว่าเสีย และคำถามที่ว่าทำไมต้องสร้างนั้น รัฐบาลมองปัญหาในพื้นที่ ซึ่งมี 3 ประการที่ชัดเจนคือ น้ำท่วม ภัยแล้ง และคุณภาพชีวิตในด้านเศรษฐกิจ โดยพบว่าในพื้นที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าในภูมิภาคอื่น ซึ่งมาจากปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ที่ส่งผลไม่สามารถผลิตและขายพืชผลการเกษตรได้ โดยขั้นตอนดำเนินการรัฐบาลไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงดำเนินการศึกษาในทุกด้าน ทั้งของเดิมที่ชาวบ้านเคยใช้ทั้งการสร้างฝาย ขุดสระน้ำกักเก็บ รวมถึงการพัฒนาระบบน้ำบาดาล ซึ่งเราเริ่มตั้งแต่ผลกระทบน้อยที่สุดจนถึงตัวเขื่อน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบในทุกทางเลือกแล้ว การสร้างเขื่อนจะสามารถกักเก็บน้ำได้มากที่สุดรวมถึงการลงทุนที่คุ้มค่ากว่า หากคิดกันเป็นบาทละลูกบาศก์เมตร อีกทั้งเขื่อนที่สูงเกิน 30 เมตร ก็จะสามารถผลิตกรกระแสไฟฟ้าพลังน้ำได้ ตรงนี้ก็จะเป็นผลพลอยได้ไป และเขื่อนก็สามารถบรรเทาภัยแล้ง และกักเก็บน้ำได้ในคราวเดียว
นายสังเวียน คงดี ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายปลอดประสพ สุรัสวดี กล่าวว่า หากมามองในส่วนของข้อเสียนั้น จากที่ภาคประชาขน และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเรียกร้องหลักๆก็จะเป็นเรื่องของการตัดป่า ที่ระบุว่าจะเกิดผลกระทบเป็นโดมิโน่ต่อผืนป่าตะวันตก ซึ่งจากข้อสังเกตในการสร้างเขื่อนหลานครั้งที่ผ่านมา ทั้งเขื่อนภูมิพล หรือเขื่อนสิริกิติ์ ก็ไม่เห็นจะเป็นเช่นนั้น แต่กลับส่งผลดีขึ้น อีกทั้งเมื่อสร้างเสร็จก็จะมีหน่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดูแล เชื่อว่าไม่มีผลกระทบและระบบนิเวศก็จะดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ทีโออาร์โครงการ 3.5 แสนล้านบาท ระบุไว้ว่า หากมีการตัดป่า ต้องปลูกชดเชย 3 เท่าในพื้นที่ใกล้เคียงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ส่วนเรื่องสัตว์ป่า โดยเฉพาะเสือโคร่งที่นักอนุรักษ์ ระบุว่า การสร้างเขื่อนอาจทำให้สูญพันธุ์ได้นั้น ตนชี้แจงว่า จากกล้องติดตั้งที่จับภาพได้จำนวนมากนั้น ตามข้อมูลแล้วมีจำนวน 12 ตัว คือ 10 ตัวเป็นพ่อ แม่ และอีก 2 เป็นลูก และที่เห็นเดินเพ่นพ่านกันนั้นเพราะต้องการหาอาหาร ซึ่งถ้าสร้างเขื่อนแล้วก็จะมีน้ำก็สามารถหาอาหารได้ เชื่อว่าไม่มีผลกระทบ
ด้าน นายจุติพงษ์ พุ่มมูล สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล สนับสนุนสร้างเขื่อนแม่วงก์ อ้างว่ากล่าวในฐานะคนในพื้นที่ ระบุว่า ในส่วนของเรื่องป่าไม้ ที่นักอนุรักษ์อ้างว่า จะเสียหายประมาณ 1.6 หมื่นไร่นั้น จริงๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีร่องน้ำอยู่ประมาณ 40 ไร่ป่า และยังมีป่าไผ่ ป่าพง อีกประมาณ 3,000 ไร่ ซึ่งป่าที่จะเสียหายจริงๆ เป็นป่าเชิงเขา ที่มีความสมบูรณ์อยู่ประมาณ 3,000 ไร่ และส่วนหนึ่งก็ถูกสัมปทานแล้ว โดยทางมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร พยายามให้สังคมมองภาพผ่านสื่อว่า อุทยานแม่วงก์นั้นสมบูรณ์เหมือนทุ่งใหญ่นเรศวร ถ้าหากสร้างเขื่อนแล้วจะเสียหายมหาศาล ตนถามว่า ถ้ามีน้ำอยู่บนเขาจะดีขึ้นไหม เพราะทุกวันนี้ก็ต้องมีการโยงสายกัน สัตว์ป่าจะไปหากินก็ถูกนายพรานลอบยิง
“ผมพูดในฐานะคนพื้นที่ ซึ่งต่อสู้มา 40 ปีแล้ว ช่วงนั้นก็มีเรื่องอีไอเอ และต่อมาก็มีอีเอชไอเอ แล้วก็มีต่อเนื่องลากยาวมาเรื่อย สุดท้ายอีเอชไอเอก็จบ เขาทำตรงนี้กันมันเหนื่อยมั้ย สุดท้ายเมื่อกระบวนการมันจบ เขาบอกเขาไม่ยอมรับ แล้วถามว่าระบบมันจะมีไว้ทำไม ที่มาประชุมวันนี้ก็เหมือนกัน ผมออกจากพื้นที่ตั้งแต่ตีห้า มาถึงก็อยากคุยกับมูลนิธิสืบฯ ซะหน่อย ว่าที่คุณออกสื่อกันว่าทำคุ้มไม่คุ้ม ทำเกือบหมื่นสองพันล้านบอกไม่คุ้ม ก็ได้ตั้งสองตำบล โกหกคนทั้งประเทศ” นายจุติพงษ์ กล่าว
นายจุติพงษ์ กล่าวต่อว่า เรื่องเสีอโคร่งก็เช่นกัน ตนคนพื้นที่เดินป่ามาหลายสิบปี ไม่เคยเจอเสือ และไม่เคยมีข่าวว่าคนถูกเสือกัดกิน ซึ่งข้อมูลที่ตนมี อยากจะคุยกับมูลนิธิสืบฯ จริงๆ ว่าสนใจประชาชนตนบ้างหรือไม่ ที่ต้องน้ำท่วมทุกปี ผลผลิตการเกษตรก็ถูกลดราคา เขาเคยเห็นใจบ้างไหม สื่อไม่เคยออกข้อมูลของฝ่ายเรา ออกแต่ของมูลนิธิสืบฯ จนสังคมหลงใหลไปแล้ว
“การดำเนินงานเขาไม่ใช่ออกจากห้องประชุมแล้วทำกันเลย แต่เขาลงพื้นที่ศึกษากันสี่ห้าปี พอถึงวันนี้เขาอนุมัติแล้วคุณบอกไม่เห็นด้วย ผมอยู่ในพื้นที่ผมก็ไม่พอใจ” นายจุติพงษ์ กล่าว และว่า สื่อนำเสนอข้อมูลฝ่ายนั้นมากเกินไป จนกลายเป็นพระเอก แต่วันหนึ่งจะกลายเป็นคนลวงโลก เพราะคนพื้นที่เสนอข้อมูลจริง อยากให้รัฐบาลปรับปรุงพื้นที่ของเราตรงนี้ให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามการชี้แจงครั้งนี้ มีเพียงฝ่ายรัฐบาล และภาคประชาชนที่สนับสนุนเท่านั้น โดยไม่มีฝ่ายที่คัดค้านมาร่วมชี้แจงแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจุติพงษ์ มีตำแหน่งเป็นเลขาธิการสำนักนานกรัฐมนตรี และเลขาธิการชมรมสื่อมวลชนเพื่อประชาธิปไตย รวมทั่งเคยเป็นแกนนำคนเสื้อแดง เคยบุกสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เพื่อถามความคืบหน้ากรณี ชัย ราชวัตร จากการตรวจสอบข้อมูลชมรมสื่อมวลชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มี นายจุติพงษ์ พุ่มมูล เป็นเลขาธิการนั้น เพิ่งจะก่อตั้งขึ้นมาปี 2554 และพบว่าได้เคลื่อนไหวตามแนวทางของคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด
วันนี้ (17 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) นำโดยนายสุพจน์ โตวิจักษ์ชัยกุล เลขาธิการ สบอช.นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประธาน และเครือข่ายองค์กรปกครองท้องถิ่น สนับสนุนการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ร่วมแถลงชี้แจงการสร้างเขื่อนแม่วงก์
โดย นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ กล่าวว่าแนวคิดการสร้างเขื่อนแม่วงก์ มีความเกี่ยวเนื่องกับโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นความต่อเนื่องกัน โดยกรมชลประทานมีหน้าที่บริหารน้ำเพื่อบรรเทาอุทกภัย และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในพื้นที่ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2554 เกิดอุทกภัยที่ไม่คาดคิด บริหารจัดการน้ำอย่างไรก็เสียหาย ซึ่งในครั้งนั้นตัวเลขความเสียหายเป็นมูลค่า 1.4 ล้านบาท รัฐบาลจึงคิดรวบรวมโครงการต่างๆ ที่กระจัดกระจายเพื่อแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด เพราะไม่รู้ว่าจะเสียหายอีกเมื่อไหร่ โดยดำเนินการศึกษาเพื่อกำหนดจุด พบว่าลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง และแม่วงก์ ต้องมีเขื่อนไว้ป้องกันภัยแล้ว
โดยตามแผนงานโครงการ 3.5 แสนล้าน ระบุให้สร้างเขื่อนและแก้มลิงในพื้นที่กลางน้ำ เพื่อชะลอน้ำจากพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งน้ำจากลุ่มน้ำแม่วงก์จะไหลลงสู่แม่น้ำสะแกกรัง และต่อเนื่องลงเจ้าพระยา โดยการสร้างเขื่อนจะสามารถตัดยอดน้ำก่อนลงสู่ เจ้าพระยาได้ประมาณ 1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่เป็นการแก้ปัญหาฤดูน้ำเสีย ที่น้ำจะลงเพื่มในเจ้าพระยา 60 เปอร์เซ็นต์จนอาจควบคุมไม่ได้
ทั้งนี้ เมื่อหารือแล้วใช่ว่ารัฐบาลจะลงมือสร้างเลย แต่ดำเนินการแบบสร้างไปออกแบบและศึกษาไป หรือดีไซน์ แอนด์ บิวก์ และหากชาวชาวบ้านในพื้นที่ เห็นว่าเป็นเรื่องที่เสียมากกว่าดี รัฐบาลก็จะไม่ทำ เพราะรัฐบาลต้องทำให้ดีมากกว่าเสีย และคำถามที่ว่าทำไมต้องสร้างนั้น รัฐบาลมองปัญหาในพื้นที่ ซึ่งมี 3 ประการที่ชัดเจนคือ น้ำท่วม ภัยแล้ง และคุณภาพชีวิตในด้านเศรษฐกิจ โดยพบว่าในพื้นที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าในภูมิภาคอื่น ซึ่งมาจากปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ที่ส่งผลไม่สามารถผลิตและขายพืชผลการเกษตรได้ โดยขั้นตอนดำเนินการรัฐบาลไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงดำเนินการศึกษาในทุกด้าน ทั้งของเดิมที่ชาวบ้านเคยใช้ทั้งการสร้างฝาย ขุดสระน้ำกักเก็บ รวมถึงการพัฒนาระบบน้ำบาดาล ซึ่งเราเริ่มตั้งแต่ผลกระทบน้อยที่สุดจนถึงตัวเขื่อน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบในทุกทางเลือกแล้ว การสร้างเขื่อนจะสามารถกักเก็บน้ำได้มากที่สุดรวมถึงการลงทุนที่คุ้มค่ากว่า หากคิดกันเป็นบาทละลูกบาศก์เมตร อีกทั้งเขื่อนที่สูงเกิน 30 เมตร ก็จะสามารถผลิตกรกระแสไฟฟ้าพลังน้ำได้ ตรงนี้ก็จะเป็นผลพลอยได้ไป และเขื่อนก็สามารถบรรเทาภัยแล้ง และกักเก็บน้ำได้ในคราวเดียว
นายสังเวียน คงดี ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายปลอดประสพ สุรัสวดี กล่าวว่า หากมามองในส่วนของข้อเสียนั้น จากที่ภาคประชาขน และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเรียกร้องหลักๆก็จะเป็นเรื่องของการตัดป่า ที่ระบุว่าจะเกิดผลกระทบเป็นโดมิโน่ต่อผืนป่าตะวันตก ซึ่งจากข้อสังเกตในการสร้างเขื่อนหลานครั้งที่ผ่านมา ทั้งเขื่อนภูมิพล หรือเขื่อนสิริกิติ์ ก็ไม่เห็นจะเป็นเช่นนั้น แต่กลับส่งผลดีขึ้น อีกทั้งเมื่อสร้างเสร็จก็จะมีหน่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดูแล เชื่อว่าไม่มีผลกระทบและระบบนิเวศก็จะดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ทีโออาร์โครงการ 3.5 แสนล้านบาท ระบุไว้ว่า หากมีการตัดป่า ต้องปลูกชดเชย 3 เท่าในพื้นที่ใกล้เคียงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ส่วนเรื่องสัตว์ป่า โดยเฉพาะเสือโคร่งที่นักอนุรักษ์ ระบุว่า การสร้างเขื่อนอาจทำให้สูญพันธุ์ได้นั้น ตนชี้แจงว่า จากกล้องติดตั้งที่จับภาพได้จำนวนมากนั้น ตามข้อมูลแล้วมีจำนวน 12 ตัว คือ 10 ตัวเป็นพ่อ แม่ และอีก 2 เป็นลูก และที่เห็นเดินเพ่นพ่านกันนั้นเพราะต้องการหาอาหาร ซึ่งถ้าสร้างเขื่อนแล้วก็จะมีน้ำก็สามารถหาอาหารได้ เชื่อว่าไม่มีผลกระทบ
ด้าน นายจุติพงษ์ พุ่มมูล สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล สนับสนุนสร้างเขื่อนแม่วงก์ อ้างว่ากล่าวในฐานะคนในพื้นที่ ระบุว่า ในส่วนของเรื่องป่าไม้ ที่นักอนุรักษ์อ้างว่า จะเสียหายประมาณ 1.6 หมื่นไร่นั้น จริงๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีร่องน้ำอยู่ประมาณ 40 ไร่ป่า และยังมีป่าไผ่ ป่าพง อีกประมาณ 3,000 ไร่ ซึ่งป่าที่จะเสียหายจริงๆ เป็นป่าเชิงเขา ที่มีความสมบูรณ์อยู่ประมาณ 3,000 ไร่ และส่วนหนึ่งก็ถูกสัมปทานแล้ว โดยทางมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร พยายามให้สังคมมองภาพผ่านสื่อว่า อุทยานแม่วงก์นั้นสมบูรณ์เหมือนทุ่งใหญ่นเรศวร ถ้าหากสร้างเขื่อนแล้วจะเสียหายมหาศาล ตนถามว่า ถ้ามีน้ำอยู่บนเขาจะดีขึ้นไหม เพราะทุกวันนี้ก็ต้องมีการโยงสายกัน สัตว์ป่าจะไปหากินก็ถูกนายพรานลอบยิง
“ผมพูดในฐานะคนพื้นที่ ซึ่งต่อสู้มา 40 ปีแล้ว ช่วงนั้นก็มีเรื่องอีไอเอ และต่อมาก็มีอีเอชไอเอ แล้วก็มีต่อเนื่องลากยาวมาเรื่อย สุดท้ายอีเอชไอเอก็จบ เขาทำตรงนี้กันมันเหนื่อยมั้ย สุดท้ายเมื่อกระบวนการมันจบ เขาบอกเขาไม่ยอมรับ แล้วถามว่าระบบมันจะมีไว้ทำไม ที่มาประชุมวันนี้ก็เหมือนกัน ผมออกจากพื้นที่ตั้งแต่ตีห้า มาถึงก็อยากคุยกับมูลนิธิสืบฯ ซะหน่อย ว่าที่คุณออกสื่อกันว่าทำคุ้มไม่คุ้ม ทำเกือบหมื่นสองพันล้านบอกไม่คุ้ม ก็ได้ตั้งสองตำบล โกหกคนทั้งประเทศ” นายจุติพงษ์ กล่าว
นายจุติพงษ์ กล่าวต่อว่า เรื่องเสีอโคร่งก็เช่นกัน ตนคนพื้นที่เดินป่ามาหลายสิบปี ไม่เคยเจอเสือ และไม่เคยมีข่าวว่าคนถูกเสือกัดกิน ซึ่งข้อมูลที่ตนมี อยากจะคุยกับมูลนิธิสืบฯ จริงๆ ว่าสนใจประชาชนตนบ้างหรือไม่ ที่ต้องน้ำท่วมทุกปี ผลผลิตการเกษตรก็ถูกลดราคา เขาเคยเห็นใจบ้างไหม สื่อไม่เคยออกข้อมูลของฝ่ายเรา ออกแต่ของมูลนิธิสืบฯ จนสังคมหลงใหลไปแล้ว
“การดำเนินงานเขาไม่ใช่ออกจากห้องประชุมแล้วทำกันเลย แต่เขาลงพื้นที่ศึกษากันสี่ห้าปี พอถึงวันนี้เขาอนุมัติแล้วคุณบอกไม่เห็นด้วย ผมอยู่ในพื้นที่ผมก็ไม่พอใจ” นายจุติพงษ์ กล่าว และว่า สื่อนำเสนอข้อมูลฝ่ายนั้นมากเกินไป จนกลายเป็นพระเอก แต่วันหนึ่งจะกลายเป็นคนลวงโลก เพราะคนพื้นที่เสนอข้อมูลจริง อยากให้รัฐบาลปรับปรุงพื้นที่ของเราตรงนี้ให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามการชี้แจงครั้งนี้ มีเพียงฝ่ายรัฐบาล และภาคประชาชนที่สนับสนุนเท่านั้น โดยไม่มีฝ่ายที่คัดค้านมาร่วมชี้แจงแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจุติพงษ์ มีตำแหน่งเป็นเลขาธิการสำนักนานกรัฐมนตรี และเลขาธิการชมรมสื่อมวลชนเพื่อประชาธิปไตย รวมทั่งเคยเป็นแกนนำคนเสื้อแดง เคยบุกสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เพื่อถามความคืบหน้ากรณี ชัย ราชวัตร จากการตรวจสอบข้อมูลชมรมสื่อมวลชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มี นายจุติพงษ์ พุ่มมูล เป็นเลขาธิการนั้น เพิ่งจะก่อตั้งขึ้นมาปี 2554 และพบว่าได้เคลื่อนไหวตามแนวทางของคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด