ASTVผู้จัดการออนไลน์ - แฉซ้ำสำนักเทคโนฯ กปภ.ส่อฮั้วประมูลจัดซื้อครุภัณฑ์คอมพ์ 8.8 ล้าน แก้กฎเปิดช่องไม่ต้องมีผลงานก็ส่งซองได้ พบพิรุธบริษัทยามโผล่ประมูลแข่งเอื้อบิ๊กเนมชนะใสๆ เชื่อมีคนชักใยแน่ โวยสุดหยามเกียรติชาวไอที งงผู้ใหญ่ทำเฉยไม่ตั้ง กก.สอบตั้งแต่งวดร้องโกงประมูลระบบจีไอเอส
มีรายงานจากแหล่งข่าวในการประปาส่วนภูมิภาค ร้องเรียนถึงโครงการที่ส่อว่าจะมีการทุจริตในสำนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ที่มีลักษณะฮั้วประมูลการจัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (GIS) ปีงบประมาณ 2556 มูลค่า 8.8 ล้านบาท โดยใช้วิธีการกำหนดให้บริษัทที่สามารถเข้าประมูลงานได้ไม่ต้องมีคุณสมบัติด้านผลงานของบริษัท ซึ่งแตกต่างจากปีงบประมาณ 2555 ในโครงการเช่นเดียวกันนี้ ที่ตั้งงบประมาณไว้ 5.5 ล้านบาท ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้าร่วมประมูลงานว่าจะต้องมีผลงานโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ มูลค่าไม่ต่ำกว่า 30% ของมูลค่าโครงการ
ซึ่งในครั้งนี้ได้มีบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งได้เข้าร่วมการประมูลร่วมกับอีกบริษัทหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ทำธุรกิจด้านซื้อขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แต่เป็นบริษัทซึ่งทำธุรกิจด้านรักษาความปลอดภัยเท่านั้น และก็เป็นบริษัทใหญ่ที่ชนะการประมูลดังกล่าว โดยแหล่งข่าวเชื่อว่าบริษัทดังกล่าวไม่ได้ตั้งใจมาเป็นผู้ชนะการประมูล เพราะไม่มีความสามารถในการทำงานได้จริง แต่เพียงเข้าร่วมเพื่อให้การฮั้วประมูลครบองค์ประกอบ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า บริษัทคู่เทียบ เพราะในความเป็นจริงแล้ว คงไม่มีบริษัทที่ทำธุรกิจด้านรักษาความปลอดภัยบริษัทใด กล้าที่จะมาซื้อซองประมูลงานซึ่งต้องมีการค้ำประกันซองประมูลงานเป็นมูลค่าสูงถึง 4.4 แสนบาท และในการจัดซื้ออุปกรณ์ด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งหลาย จะต้องมีเจ้าหน้าที่ด้านตรวจสอบสเปก จัดหาอุปกรณ์ จัดทำเอกสารตามคุณสมบัติของอุปกรณ์ การคิดคำนวณต้นทุน ฯลฯ ซึ่งต้องอาศัยพนักงานที่มีประสบการณ์ด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสูงๆ มาเป็นผู้ทำงาน จึงเชื่อว่าการเข้าร่วมประมูลของบริษัทดังกล่าว จะต้องมีผู้ที่อยู่เบื้องหลังอย่างแน่นอน
ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงของการประปาส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ระดับรองผู้ว่าการ จนถึงผู้ว่าการ กลับไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของการทุจริต ว่ากลุ่มทุจริตดังกล่าวได้การกระทำทุจริตจริงหรือไม่ ไม่มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อค้นหาความเป็นจริง ตั้งแต่ที่มีการทุจริตในโครงการสำรวจข้อมูลระบบ GIS จึงกลายเป็นปัจจัยสนับสนุนให้กลุ่มทุจริตเกิดความฮึกเหิมที่จะกระทำการต่อไป จึงเห็นว่าวิธีการนี้เป็นการดูถูกผู้บริหารระดับสูง และบุคลากรวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์และไอที ด้วยการนำบริษัทรักษาความปลอดภัย มาเป็นคู่เทียบให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอที เพื่อให้ได้งานไปอย่างง่ายดาย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มีการเปิดเผยถึงโครงการทุจริตภายในสำนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ การประปาส่วนภูมิภาคมาแล้วครั้งหนึ่ง ในการประมูลงานสำรวจเพื่อปรับปรุงระบบข้อมูล GIS มูลค่ากว่า 42 ล้านบาท ที่ให้บริษัทขายอุปกรณ์ด้านการประปาได้รับงาน จนนำไปสู่การร้องเรียนต่อกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐในเวลาต่อมา
มีรายงานจากแหล่งข่าวในการประปาส่วนภูมิภาค ร้องเรียนถึงโครงการที่ส่อว่าจะมีการทุจริตในสำนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ที่มีลักษณะฮั้วประมูลการจัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (GIS) ปีงบประมาณ 2556 มูลค่า 8.8 ล้านบาท โดยใช้วิธีการกำหนดให้บริษัทที่สามารถเข้าประมูลงานได้ไม่ต้องมีคุณสมบัติด้านผลงานของบริษัท ซึ่งแตกต่างจากปีงบประมาณ 2555 ในโครงการเช่นเดียวกันนี้ ที่ตั้งงบประมาณไว้ 5.5 ล้านบาท ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้าร่วมประมูลงานว่าจะต้องมีผลงานโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ มูลค่าไม่ต่ำกว่า 30% ของมูลค่าโครงการ
ซึ่งในครั้งนี้ได้มีบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งได้เข้าร่วมการประมูลร่วมกับอีกบริษัทหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ทำธุรกิจด้านซื้อขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แต่เป็นบริษัทซึ่งทำธุรกิจด้านรักษาความปลอดภัยเท่านั้น และก็เป็นบริษัทใหญ่ที่ชนะการประมูลดังกล่าว โดยแหล่งข่าวเชื่อว่าบริษัทดังกล่าวไม่ได้ตั้งใจมาเป็นผู้ชนะการประมูล เพราะไม่มีความสามารถในการทำงานได้จริง แต่เพียงเข้าร่วมเพื่อให้การฮั้วประมูลครบองค์ประกอบ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า บริษัทคู่เทียบ เพราะในความเป็นจริงแล้ว คงไม่มีบริษัทที่ทำธุรกิจด้านรักษาความปลอดภัยบริษัทใด กล้าที่จะมาซื้อซองประมูลงานซึ่งต้องมีการค้ำประกันซองประมูลงานเป็นมูลค่าสูงถึง 4.4 แสนบาท และในการจัดซื้ออุปกรณ์ด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งหลาย จะต้องมีเจ้าหน้าที่ด้านตรวจสอบสเปก จัดหาอุปกรณ์ จัดทำเอกสารตามคุณสมบัติของอุปกรณ์ การคิดคำนวณต้นทุน ฯลฯ ซึ่งต้องอาศัยพนักงานที่มีประสบการณ์ด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสูงๆ มาเป็นผู้ทำงาน จึงเชื่อว่าการเข้าร่วมประมูลของบริษัทดังกล่าว จะต้องมีผู้ที่อยู่เบื้องหลังอย่างแน่นอน
ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงของการประปาส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ระดับรองผู้ว่าการ จนถึงผู้ว่าการ กลับไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของการทุจริต ว่ากลุ่มทุจริตดังกล่าวได้การกระทำทุจริตจริงหรือไม่ ไม่มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อค้นหาความเป็นจริง ตั้งแต่ที่มีการทุจริตในโครงการสำรวจข้อมูลระบบ GIS จึงกลายเป็นปัจจัยสนับสนุนให้กลุ่มทุจริตเกิดความฮึกเหิมที่จะกระทำการต่อไป จึงเห็นว่าวิธีการนี้เป็นการดูถูกผู้บริหารระดับสูง และบุคลากรวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์และไอที ด้วยการนำบริษัทรักษาความปลอดภัย มาเป็นคู่เทียบให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอที เพื่อให้ได้งานไปอย่างง่ายดาย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มีการเปิดเผยถึงโครงการทุจริตภายในสำนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ การประปาส่วนภูมิภาคมาแล้วครั้งหนึ่ง ในการประมูลงานสำรวจเพื่อปรับปรุงระบบข้อมูล GIS มูลค่ากว่า 42 ล้านบาท ที่ให้บริษัทขายอุปกรณ์ด้านการประปาได้รับงาน จนนำไปสู่การร้องเรียนต่อกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐในเวลาต่อมา