xs
xsm
sm
md
lg

ถอดรหัส 2 ภารกิจสำคัญกรมพัฒนาที่ดิน เดินหน้าเพิ่มศักยภาพในภาคเกษตรไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภารกิจสำคัญประการหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการภาคการเกษตรของไทย เพื่อให้เกิดศักยภาพในการใช้ทรัพยากร และเกิดประโยชน์ต่อผลผลิตสูงสุด คือการบริหารจัดการที่ดิน และพัฒนาที่ดิน โดยกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มียุทธศาสตร์หลัก คือการ "พัฒนาที่ดินให้สมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิต ในทิศทางการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม" โดยจะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของฐานข้อมูล และการวิจัยพัฒนา ในการดำเนินการนั้น ทางกรมพัฒนาที่ดินได้จัดทำรวบรวมข้อมูล Meta Data ด้านภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียมและแฟ้มข้อมูลแผนที่ทุกประเภท สำหรับบริการหน่วยงานต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ปรับปรุงฐานข้อมูลสารสนเทศด้านภูมิศาสตร์ให้เป็นปัจจุบัน เพื่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายกลาง
นอกจากนี้ จัดหาและพัฒนาเทคโนโลยีและโปรแกรมการใช้งานทางด้านระบบภูมิสารสนเทศ และการให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ในรูปของโปรแกรมบนเครือข่ายระบบ Online ทั้งในระบบ Internet และ Intranet ตลอดจน ประสาน ดำเนินการ วิเคราะห์จัดทำข้อมูล กรณีเร่งด่วนด้านการบริหารสินทรัพย์ ด้านการเตือนภัย การติดตามประเมินผล การใช้ประโยชน์ที่ดินให้ผู้บริหารทางด้านภูมิสารสนเทศ
โดยกรมพัฒนาที่ดิน ได้มีการร่วมมือกับหน่วยงานสำคัญๆ อาทิเช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้วยระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ เพื่อประเมินศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่ ในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ 12 ชนิด ที่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ประกอบด้วย ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง อ้อย ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง สับปะรด ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กาแฟ ทุเรียน และลำไย ซึ่งจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไป
ขณะที่ภารกิจหลักด้าน การส่งเสริมและพัฒนาเพิ่มศักยภาพให้กับเกษตรกร ก็เป็นอีกหนึ่งในภารกิจสำคัญที่ทางกรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดการสร้างฐานองค์ความรู้ที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร โครงการ “เปิดศูนย์การเรียนรู้ส่งเสริมความรู้สู่เกษตรกร (Smart Farmer)” เป็นนโยบายสำคัญที่ทางกรมพัฒนาที่ดินได้ดําเนินการโครงการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ ปี 2550 – 2554 รวมจำนวน 2,400 แห่ง (ศูนย์เรียนรู้ใหม่จำนวน 800 แห่งและศูนย์เรียนรู้ต่อยอดจำนวน 1,600 แห่ง) ซึ่งเป็นโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน ประกอบด้วยงานด้านสาธิต ฟื้นฟูพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรดิน มุ่งเน้นนําภูมิปัญญาชาวบ้านมาผนวก กับเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินได้เหมาะสมกับพื้นที่
ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดิน ได้ให้สถานีพัฒนาที่ดินตั้งศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินฯกระจายตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่างให้เกษตรกร โดยมีเกษตรกรเข้ามาศึกษาแนวทางการเกษตรแบบผสมผสานที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรดิน พืช น้ำอย่างเหมาะสม วิธีการดำเนินงานให้คัดเลือกพื้นที่ดําเนินการ จากแปลงสาธิตจุดเรียนรู้การพัฒนาที่ดินประจำตำบลของหมอดินอาสา ที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เช่นแปลงสาธิตระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การผลิตและใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรฯลฯ จัดทำศาลาศูนย์เรียนรู้เพื่อเป็นแหล่งให้บริการทางวิชาการ ซึ่งภายในศาลาศูนย์ เรียนรู้ได้จัดให้มี บอร์ดองค์ความรู้ทางวิชาการ การจัดทำฐานเรียนรู้และแปลงสาธิตต่างๆ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาดินที่คลอบคลุมภายในพื้นที่ ซึ่งในปัจจุบัน ได้ดำเนินการครอบคลุมแล้วในเกือบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และทั้งสองภารกิจนี้ จะเป็นแนวทางสู่การพัฒนาการใช้ที่ดินและการเสริมสร้างศักยภาพทางด้านการเกษตรของประเทศ รวมถึงความสามารถในด้านแข่งขันของประเทศ สอด
รับกับการเข้ามาของการเกษตรและโลกแห่งค้ายุคใหม่ในอนาคต
กำลังโหลดความคิดเห็น