นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การก้าวเข้าสู่ประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในภายในปี 2558 ย่อมส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ที่ประกอบอาชีพเพาะพันธ์สัตว์ถึง 592,000 ราย ดังนั้นกรมประมงที่ต้องให้ความรู้แก่เกษตรกร เพื่อปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลง จึงได้จัดงานให้ความรู้แก่เกษตรกร ในหัวข้อ “ประมงไทย รับรู้ สู้ภัยพิบัติ ยืนหยัดสู่อาเซียน” ทั่วประเทศ 4 ภาค โดยภาคกลาง ระหว่างวันที่ 9 - 10 พฤษภาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา, ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 14 - 15 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 21 - 22 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมพูลแมน ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น และภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่
ทั้งนี้ นิทรรศการจะมีการแสดงพันธุ์ปลาท้องถิ่นหายาก หรือสัตว์น้ำเศรษฐกิจประจำถิ่น อาทิ จังหวัดขอนแก่น มีการจัดแสดงปลาสวายและปลาพรมหัวเหม็น, จังหวัดเชียงใหม่ จัดแสดง ปลาเทร้า และปลาสเตอร์เจี้ยน, จังหวัด ฉะเชิงเทราและสุราษฎร์ธานี มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการแสดงสัตว์น้ำมีชีวิต (Touch Pool) และการจัดแสดงสัตว์น้ำชายฝั่งสวยงามมีชีวิต อาทิ ปลิงทะเล ปลาการ์ตูน และหอยมือเสือ พร้อมเสริมสร้างความรู้ให้เกษตรกรในด้านการป้องกันและรักษาโรคสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น โรคตายด่วน (EMS) ในกุ้งทะเลเพื่อให้เกษตรกรได้เตรียมความพร้อมในการป้องกันให้เลี้ยงกุ้งทะเลปลอดจากโรคระบาดหรือเกิดความเสียหายจากโรคระบาดได้
“จะมีการรับสมัครประมงอาสา 14,000 คนเป็นพี่เลี้ยงที่มีความรู้ด้านการประมง เพื่อสร้างแกนนำและผู้ประสานงานในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและข่าวสารด้านการประมงให้กับเกษตรกรในชุมชน และระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่ประมง”
นอกจากนี้จะมีการประชุมสัมมนาและการบรรยายให้ความรู้ด้วย เช่น เรื่อง “ระเบียบการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย” “บทบาทของประมงอาสา” “การเตรียมตัวสู่การเป็น Smart Farmer ของเกษตรกรประมง” การเสวนา “พัฒนาเกษตรกรประมงไทยสู้ภัยพิบัติในอนาคต” และ การเสวนา “เกษตรกรไทยได้อะไรจากการเข้าสู่ AEC” พร้อมการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน กิจกรรมเล่นเกมชิงของรางวัล และการจำหน่ายสินค้า OTOP ของดีของเด่นจากผลิตภัณฑ์ด้านการประมง 4 ภูมิภาค
“ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่กรมประมงจะต้องให้ความสำคัญกับเกษตรกรกว่า 600,000 รายให้เป็น Smart farmers และเจ้าหน้าที่ของกรมประมงเป็น Smart officer เพื่อปรับตัวรับรู้สิ่งใหม่ตามกระแสสังคมที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงของโลก (Change)” นายศิริวัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ นิทรรศการจะมีการแสดงพันธุ์ปลาท้องถิ่นหายาก หรือสัตว์น้ำเศรษฐกิจประจำถิ่น อาทิ จังหวัดขอนแก่น มีการจัดแสดงปลาสวายและปลาพรมหัวเหม็น, จังหวัดเชียงใหม่ จัดแสดง ปลาเทร้า และปลาสเตอร์เจี้ยน, จังหวัด ฉะเชิงเทราและสุราษฎร์ธานี มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการแสดงสัตว์น้ำมีชีวิต (Touch Pool) และการจัดแสดงสัตว์น้ำชายฝั่งสวยงามมีชีวิต อาทิ ปลิงทะเล ปลาการ์ตูน และหอยมือเสือ พร้อมเสริมสร้างความรู้ให้เกษตรกรในด้านการป้องกันและรักษาโรคสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น โรคตายด่วน (EMS) ในกุ้งทะเลเพื่อให้เกษตรกรได้เตรียมความพร้อมในการป้องกันให้เลี้ยงกุ้งทะเลปลอดจากโรคระบาดหรือเกิดความเสียหายจากโรคระบาดได้
“จะมีการรับสมัครประมงอาสา 14,000 คนเป็นพี่เลี้ยงที่มีความรู้ด้านการประมง เพื่อสร้างแกนนำและผู้ประสานงานในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและข่าวสารด้านการประมงให้กับเกษตรกรในชุมชน และระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่ประมง”
นอกจากนี้จะมีการประชุมสัมมนาและการบรรยายให้ความรู้ด้วย เช่น เรื่อง “ระเบียบการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย” “บทบาทของประมงอาสา” “การเตรียมตัวสู่การเป็น Smart Farmer ของเกษตรกรประมง” การเสวนา “พัฒนาเกษตรกรประมงไทยสู้ภัยพิบัติในอนาคต” และ การเสวนา “เกษตรกรไทยได้อะไรจากการเข้าสู่ AEC” พร้อมการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน กิจกรรมเล่นเกมชิงของรางวัล และการจำหน่ายสินค้า OTOP ของดีของเด่นจากผลิตภัณฑ์ด้านการประมง 4 ภูมิภาค
“ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่กรมประมงจะต้องให้ความสำคัญกับเกษตรกรกว่า 600,000 รายให้เป็น Smart farmers และเจ้าหน้าที่ของกรมประมงเป็น Smart officer เพื่อปรับตัวรับรู้สิ่งใหม่ตามกระแสสังคมที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงของโลก (Change)” นายศิริวัฒน์ กล่าว