ศาล รธน.เผยเอกสารประชุมตุลาการ ถก 6 คำร้องให้วินิจฉัยแก้ รธน.มาตรา 68 และ 237 เข้าข่ายล้มการปกครอง ที่ประชุมพึ่งอำนาจมาตรา 213 ให้ กมธ.แก้ รธน. ส่งเอกสารที่เป็นประโยชน์เพิ่ม พร้อมมีมติเอกฉันท์ยกคำร้องบรรดา ส.ส.พท. ชี้อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลาออกลงสมัครนายก อบจ.ยโยสร ไม่ขัด รธน.
วันนี้ (4 ก.ย.) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าวระบุว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ประชุมได้มีการพิจาณณา 6 คำร้องของ ส.ส., ส.ว. และภาคประชาชน ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และมาตรา 237 เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ โดยที่ประชุมเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาคดี ศาลรัฐธรรมนูญจึงอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 วรรคหนึ่งให้คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 และมาตรา 237 ส่งเอกสารหรือหลักฐานประกอบด้วย รายงานของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237 และสรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237 ทุกครั้ง รวมถึงเอกสารอื่นๆ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดี ต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกคำร้องที่นายสฤษดิ์ ประดับศรี และสมาชิกพรรคเพื่อไทย รวม 108 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มติพรรคเพื่อไทยที่อนุญาตให้นายสถิรพร นาคสุข ลาออกจากการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 82 หลังประกาศผลการเลือกตั้งส.ส.เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 54 เพื่อไปลงสมัครเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 65 วรรคสาม มาตรา 102 (9) มาตรา 103 มาตรา 109 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 265 หรือไม่ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 103 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่กำหนดว่าหากพรรคการเมืองส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในเขตใดแล้วผู้สมัครไม่สามารถขอถอนตัวได้ เป็นหลักเกณฑ์สำหรับกรณีการลงสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต มิได้มุ่งหมายใช้บังคับกับผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อแต่อย่างใด อีกทั้งการขอลาออกจากการเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อของนายสถิรพรนั้นเป็นการลาออกหลังประกาศรับรองผลเสร็จสิ้นไปแล้ว และนายสฤษดิ์ไม่สามารถนำหลักฐานที่อ้างว่าพรรคเพื่อไทยไม่ได้มีมติอนุญาตให้นายสถิรพรลาออกมาแสดงได้ การลาออกจาก ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ของนายสถิรพรจึงไม่ขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. หรือหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาตรา 65 วรรคสาม
วันนี้ (4 ก.ย.) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าวระบุว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ประชุมได้มีการพิจาณณา 6 คำร้องของ ส.ส., ส.ว. และภาคประชาชน ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และมาตรา 237 เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ โดยที่ประชุมเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาคดี ศาลรัฐธรรมนูญจึงอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 วรรคหนึ่งให้คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 และมาตรา 237 ส่งเอกสารหรือหลักฐานประกอบด้วย รายงานของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237 และสรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237 ทุกครั้ง รวมถึงเอกสารอื่นๆ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดี ต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกคำร้องที่นายสฤษดิ์ ประดับศรี และสมาชิกพรรคเพื่อไทย รวม 108 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มติพรรคเพื่อไทยที่อนุญาตให้นายสถิรพร นาคสุข ลาออกจากการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 82 หลังประกาศผลการเลือกตั้งส.ส.เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 54 เพื่อไปลงสมัครเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 65 วรรคสาม มาตรา 102 (9) มาตรา 103 มาตรา 109 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 265 หรือไม่ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 103 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่กำหนดว่าหากพรรคการเมืองส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในเขตใดแล้วผู้สมัครไม่สามารถขอถอนตัวได้ เป็นหลักเกณฑ์สำหรับกรณีการลงสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต มิได้มุ่งหมายใช้บังคับกับผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อแต่อย่างใด อีกทั้งการขอลาออกจากการเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อของนายสถิรพรนั้นเป็นการลาออกหลังประกาศรับรองผลเสร็จสิ้นไปแล้ว และนายสฤษดิ์ไม่สามารถนำหลักฐานที่อ้างว่าพรรคเพื่อไทยไม่ได้มีมติอนุญาตให้นายสถิรพรลาออกมาแสดงได้ การลาออกจาก ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ของนายสถิรพรจึงไม่ขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. หรือหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาตรา 65 วรรคสาม