วานนี้ ( 4 ก.ย.) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่เอกสารข่าวระบุว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ประชุมได้มีการพิจารณา 6 คำร้องของ ส.ส.- ส.ว. และภาคประชาชน ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และ มาตรา 237 เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ โดยที่ประชุมเห็นว่า เพื่อประโยชน์ แห่งการพิจารณาคดี ศาลรัฐธรรมนูญจึงอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 วรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมาธิการพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 และมาตรา 237 ส่งเอกสาร หรือหลักฐานประกอบด้วย รายงานของคณะกรรมาธิการพิจารณา ร่าง รัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 และ มาตรา 237 และสรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 และ มาตรา 237 ทุกครั้ง รวมถังเอกสารอื่นๆ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดี ต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกคำร้องที่ นายสฤษดิ์ ประดับศรี และสมาชิกพรรคเพื่อไทย รวม 108 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มติพรรคเพื่อไทย ที่อนุญาตให้ นายสถิรพร นาคสุข ลาออกจากการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 82 หลังประกาศผลการเลือกตั้งส.ส. เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 54 เพื่อไปลงสมัครเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 65 วรรคสาม มาตรา 102 (9) มาตรา 103 มาตรา 109 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 265 หรือไม่ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 103 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ที่กำหนดว่า หากพรรคการเมืองส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในเขตใด แล้วผู้สมัครไม่สามารถขอถอนตัวได้ เป็นหลักเกณฑ์สำหรับกรณีการลงสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต มิได้มุ่งหมายใช้บังคับกับผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ แต่อย่างใด อีกทั้งการขอลาออกจากการเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อของ นายสถิรพรนั้น เป็นการลาออกหลังประกาศรับรองผลเสร็จสิ้นไปแล้ว และนายสฤษดิ์ ไม่สามารถนำหลักฐาที่อ้างว่า พรรคเพื่อไทยไม่ได้มีมติอนุญาตให้นายสถิรพรลาออกมาแสดงได้ การลาออกจากส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ของนายสถิรพร จึงไม่ขัดต่อสถานะ และการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. หรือหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มาตรา 65 วรรคสาม
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกคำร้องที่ นายสฤษดิ์ ประดับศรี และสมาชิกพรรคเพื่อไทย รวม 108 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มติพรรคเพื่อไทย ที่อนุญาตให้ นายสถิรพร นาคสุข ลาออกจากการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 82 หลังประกาศผลการเลือกตั้งส.ส. เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 54 เพื่อไปลงสมัครเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 65 วรรคสาม มาตรา 102 (9) มาตรา 103 มาตรา 109 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 265 หรือไม่ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 103 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ที่กำหนดว่า หากพรรคการเมืองส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในเขตใด แล้วผู้สมัครไม่สามารถขอถอนตัวได้ เป็นหลักเกณฑ์สำหรับกรณีการลงสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต มิได้มุ่งหมายใช้บังคับกับผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ แต่อย่างใด อีกทั้งการขอลาออกจากการเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อของ นายสถิรพรนั้น เป็นการลาออกหลังประกาศรับรองผลเสร็จสิ้นไปแล้ว และนายสฤษดิ์ ไม่สามารถนำหลักฐาที่อ้างว่า พรรคเพื่อไทยไม่ได้มีมติอนุญาตให้นายสถิรพรลาออกมาแสดงได้ การลาออกจากส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ของนายสถิรพร จึงไม่ขัดต่อสถานะ และการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. หรือหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มาตรา 65 วรรคสาม