xs
xsm
sm
md
lg

รัฐบาล “ถังแตก” หมดหน้าตัก ชาวสวน-ชาวนารอวันตาย!?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยุคล ลิ้มแหลมทอง
ผ่าประเด็นร้อน

การชุมนุมของชาวสวนยางพาราและชาวสวนปาล์มน้ำมันที่กำลังชุมนุมด้วยการปิดถนนสายเอเซีย 41 ที่บริเวณแยกควนหนองหงส์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และจะมีการชุมนุมใหญ่ที่เรียกว่า “ปิดประเทศ” ในวันที่ 3 กันยายน จะมี “การเมือง”เข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ ไม่รู้ รู้แต่ว่าเวลานี้ราคายางพาราตกต่ำ จนชาวสวนได้รับความเดือดร้อนไปทั่วประเทศ และอยู่ในอาการ “ทนไม่ไหว” อีกต่อไปแล้ว

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับราคายางพาราและปาล์มน้ำมันในเวลานี้ถือว่าตกต่ำอย่างหนัก จากเดิมที่เคยอยู่ในระดับ 100 กว่าบาทต่อกิโลกรัมในเวลานี้ ลดลงมาเหลือไม่ถึงกิโลกรัมละ 70 บาท เรียกว่าลงมาตลอดไม่มีขึ้นเลย แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลโดยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ยังเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯเคยประกาศจะทำให้ราคายางขึ้นไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท มีการใช้เงินแทรกแซงนับหมื่นล้านบาท พร้อมทั้งคุยโม้ว่าจะหาทางตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง มาเลเซีย เวียดนาม รวมทั้งประเทศที่ปลูกยางรวมกลุ่มเพื่อกำหนดราคายางร่วมกัน ฝันว่าจะดึงราคาให้สูงขึ้น ขณะเดียวกันก็บอกว่าจะมีการเพิ่มมูลค่าแปรรูปยางพาราเพิ่มมูลค่าด้วยการใช้เป็นส่วนผสมในการทำงถนนคอนกรีตผสมยางพารา และมีการนำร่องไปแล้ว นี่ยังไม่นับกลยุทธ์ที่บอกว่าจะให้ “โค่นต้นยางทิ้ง”เพื่อลดพื้นที่แล้วจะทำให้ราคายางสูงขึ้น แต่จนบัดนั้นจนถึงบัดนี้ ณัฐวุฒิก็สะบัดก้นไป “โชว์ห่วย” เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์แล้ว ทุกอย่างก็เงียบหายไป ราคายางก็ดิ่งลงเรื่อยมา จนราคารูดลงมาเท่าที่เห็น

ขาดทุนเดือดร้อนจนแสนสาหัสแบบนี้จะไม่ให้ออกมาประท้วงได้อย่างไร เพราะนี่คือผลงาน “ห่วยๆ” ของรัฐบาล ยิ่งลักษณ ชินวัตร ภายใต้การอุปถัมภ์ค้ำชู ของ ทักษิณ ชินวัตร ที่เคยไปส่งเสริมให้ปลูกยางพารากันทั่วประเทศ จนทำให้หลายคนร่ำรวยจากการขายกล้ายาง และที่ผ่านมาชาวสวนเหล่านี้เคยออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือบรรเทา ทำกันทุกทางทั้งการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และมีการปิดถนนกดดัน จนมีการรับปากรับคำช่วยเหลือ จนมีการรับปากว่าจะช่วยอย่างนั้นอย่างนี้ให้ใจอ่อน ยอมกลับไปฟังผลที่บ้าน แต่กลายเป็นไม่มีอะไรดีขึ้น ทุกอย่างยังเงียบ เหมือนเดิม จนล่าสุดต้องออกมาเคลื่อนไหวอีกรอบหลังจากรู้สึกว่าถูกรัฐบาลลอยแพ ต้องออกมาปิดถนนในที่สุดพร้อมทั้งเตรียมยกระดับการชุมนุมกดดันพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 3 กันยายน

ที่น่ารังเกียจก็คือ รัฐบาลนอกจากไม่แสดงความจริงใจในกสรชวยเหลือแล้ว ยังพยายามลดความชอบธรรมของพี่น้องเกษตรกรเหล่านี้ กล่าวหาว่าเป็น “ม็อบการเมือง” มีพรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง มีการระบุอักษรย่ออีกว่า “ส.” อยู่เบื้องหลัง แม้ไม่ระบุชื่อออกมาก็จงใจให้รู้ว่าฝ่ายตรงข้ามคือพรรคประชาธิปัตย์นั่นแหละอยู่เบื้องหลัง รวมไปถึง ส.ดังกล่าวถ้าไม่ปัญญาอ่อนก็รู้ว่าเจตนาจงใจกล่าวหาว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ อยู่เบื้องหลัง ซึ่งนาทีนี้ถ้าจะพูดกันแบบตรงไปตรงมาก็พอจะประมวลอารมณ์ความรู้สึกของชาวบ้านได้ในทำนองว่าการเมืองหรือเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่า “พวกกูเดือดร้อนจนทนไม่ไหว” หากรัฐบาลไม่อยากให้การเมืองเข้ามาเกี่ยวอย่างที่เข้าใจก็มาช่วยเหลือ มาพยุงราคาหรือทำอะไรก็ได้ให้ราคาสูงขึ้นตามที่กำหนด หรือให้พออยู่ได้ แต่ที่ผ่านมานอกจากไม่ช่วยเหลือดูดำดูดีแล้ว ยังหาทางทำลาย หรือสั่งให้ตำรวจสลายการชุมนุม จนได้รับบาดเจ็บกันหลายรายทั้งเจ้าหน้าที่และชาวบ้าน

อย่างไรก็ดี จากการประเมินรัฐบาลจากคำพูดของรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยุคล ลิ้มแหลมทอง ที่บอกปัดปฏิเสธอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นมือว่าไม่อาจทำตามข้อเรียกร้องที่จะให้ราคายางขายได้ในราคากิโลกรัมละ 120 บาท เพราะราคาในตลาดเหลือแค่ 70 กว่าบาทเท่านั้น อ้างว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามกลไกตลาด แต่ที่สำคญก็คือรัฐบาลไม่มีเงินที่จะไปรับซื้อในราคาตามที่เกษตรกรเรียกร้องได้ เพราะที่ผ่านมาได้รับซื้อยางมาเก็บไว้ในสต๊อกแล้วกว่า 2 แสนตันก็ยังระบายออกไปไม่ได้ และระบายในช่วงนี้ก็จะยิงทำให้ราคายางตกลงไปอีก ส่งนราคาปาล์มก็มีแนวโน้มไม่แตกต่างกัน ทั้งที่น่าแปลกใจว่ากรณีของปาล์มถึงได้ราคาตกไปด้วย ทั้งที่เป็นพืชพลังงาน ที่ผ่านมาสามารถนำไปเป็นส่วนผสมในน้ำมันดีเซล “บี5” แต่ที่ผ่านมาก็มีการยกเลิกในที่สุด

นั่นเป็นปัญหาเฉพาะเรื่อวราคายางพาราและปาล์มน้ำมันที่สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกรทั่วประเทศ ยังมีสินค้าเกษตรหลักๆ อีกหลายอย่างที่มีปัญหาด้านราคา แม้กระทังกรณีของข้าวที่รัฐบาลยงดัรทุรังอุ้มอยู่ในเวลานี้ แต่ก็ไม่เหมือนเดิม เนื่องจากมีเงื่อนไขยุบยับมากขึ้นทัั้งด้านราคาที่ลดลงและจำกัดโควตาในวงเงินต่อครอบครัวที่น้อยลง ซึงประเด็นดังกล่าวล้วนเกิดขึ้นมาจากความล้มเหลวของรัฐบาล จากนโยบายประชานิยม ที่เห็นชัด คือ เรื่องข้าวที่ไปตั้งราคาไว้สูงกว่าตลาดทำให้ขายออกไม่ได้ ทำให้กลไกการตลาดป่นปี้ ทำให้รัฐขาดทุนต่อเนื่องกัน 3 ฤดูกาลขาดทุนไปแล้วร่วม 3 แสนล้านบาท กลายเป็นว่า เวลานี้รัฐบาลเริ่ม “ขาดสภาพคล่อง” หมดหน้าตัก ขณะที่การส่งออกก็หดตัว ส่วนสำคัญยังมีวิกฤตเศรษฐกิจจากต่างประเทศทั้งในยุโรป สหรัฐ หรือแม้แต่จีนก็ชะลอ ทำให้ประเทศเหล่านี้ซื้อสินค้าเราน้อยลง

ดังนั้น ถ้าบอกว่าเวลานี้ไม่ใช่มีปัญหาราคาตกต่ำเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมันเท่านั้น ยังมีราคาข้าวที่รัฐบาลก็ไม่อาจเข้าไปอุ้มได้เต็มราคาหมือนก่อน และไม่รู้ว่าเมื่อถึงเวลาจริงจะทำได้ตามที่ประกาศราคาใหม่หรือเปล่า นอกจากนี้ยังข้าวโพดที่เพิ่งประท้วงะกำลังขีดเส้นรอคำตอบภายใน 15 วัน มันสำปะหลัง สินค้าทุกตัวมีปัญหาหมด ขณะที่ค่าครองชีพพุ่งสวนทาง ซึ่งนาทีนี้เมื่อพิจารณาจากความเป็นจริงก็ต้องบอกว่ารัฐบาลกำลัง “ถังแตก” หมดหน้าตัก ไม่อาจนำเงินไปช่วยชาวบ้านได้อีกแล้ว ชาวสวนและชาวนาได้แต่ลุ้นรอวันตายเท่านั้นหรือเปล่า

และแม้ว่าจะมีการเจรจา โดยฝ่ายรัฐบาลส่ง รองเลขาธิการนายกฯฝ่ายการเมือง(ฝ่ายรับมือม็อบ) สุภรณ์ อัตถาวงศ์ ลงไปเจรจากับชวสวนยางพาราและชาวสวนปาล์มที่กำลังชุมนุมอยู่แยกคลองสวนหงส์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ก็เชื่อว่าเป็นเพียงการรับข้อเสนอ รับปากแก้ปัญหาเอาไว้ก่อน เพื่อซื้อเวลาสกัดการชุมนุมใหญ่วันที่ 3 กันยายนนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้วคำพูดของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ยุคล ลิ้มแหลมทอง ที่เปิดเผยเรื่องเงินรับซื้อสต๊อกยางที่เก็บไว้ระบายไม่ออกจำนวนมหาศาลนั่นแหละของจริง และสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลหมดปัญญาช่วยเหลือเกษตรกร เพราะไม่มีเงินแล้ว!!
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
กำลังโหลดความคิดเห็น