คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ร่อนแถลงการณ์ค้านใช้ พ.ร.บ.มั่นคงคุมม็อบ ส่อเจตนาละเมิด รธน.-เปิดช่อง จนท.รุนแรง ไม่เอานิรโทษกรรมทำลายนิติรัฐชัด ประณามพวกจ่อสร้างสถานการณ์ ถ้ามีเหตุ “ยิ่งลักษณ์” ต้องรับผิด ชี้ปฏิรูปได้ต้องฟังความเห็นชาวบ้าน ไม่ดันทุรังช่วยพี่ชายพ้นผิด
วันนี้ (3 ส.ค.) นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิคส์ถึงแถลงการณ์คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ต่อท่าทีและข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน โดยระบุว่า ตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกโทรทัศน์แถลงถึงเหตุผลความจำเป็นในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในเขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1-10 สิงหาคม 2556 โดยอ้างว่าเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เนื่องจากจะมีการชุมนุมของประชาชนที่คัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรม พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อปฏิรูปการเมืองนั้น คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอแถลงท่าทีและข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์ดังกล่าวดังต่อไปนี้
1. เราขอคัดค้านการประกาศ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ของรัฐบาลในเขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1-10 สิงหาคมนั้น ทั้งนี้ เพราะการใช้สิทธิชุมนุมของประชาชนตามมาตรา 63 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้น จะต้องไม่ถูกต้องขัดขวางโดยคำสั่งหรืออำนาจที่ไม่ชอบ อีกทั้งขณะนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ใดที่จะกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ทั้งยังไม่มีเหตุการณ์หรือความรุนแรงใดที่มีแนวโน้มว่าจะดำรงอยู่อย่างยืดเยื้อเป็นเวลานานตามเงื่อนไขของกฎหมายฉบับบี้ ประการสำคัญ กฎหมายที่มีอยู่และหน่วยงานที่อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในดูแลการชุมนุมตามกลไกปกติ ก็สามารถแก้ไขปัญหาชุมนุมได้อยู่แล้ว
ดังนั้น การประกาศกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการอ้างเหตุการณ์ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นมาละเมิดการใช้สิทธิการชุมนุมของประชาชน ส่อให้เห็นถึงเจตนาของรัฐบาลในการละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ และเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงกับประชาชนเหมือนที่ผ่านมา ดังนั้น หากมีเหตุการณ์ความรุนแรงใดๆ เกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ
2. เราขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับนายวรชัย เหมะ ส.ส.เพื่อไทย กับคณะเป็นผู้เสนอ ซึ่งจะมีการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ทั้งนี้ เพราะกฎหมายดังกล่าวมีเจตนาที่จะใช้เงื่อนไขการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนที่ผ่านมา ที่อาจเข้าข่ายมีการกระทำผิดกฎหมายมาเป็นเครื่องมือเพื่อหวังนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนักการเมืองบางคนให้พ้นผิด อันเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย บิดเบือนหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม ทำลายกระบวนการยุติธรรม กฎหมายดังกล่าวจึงเป็นไปเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ให้กลับสู่อำนาจโดยไม่ต้องรับโทษเท่านั้น
3. เราสนับสนุนการใช้สิทธิเสรีภาพขององค์กรภาคประชาชน ตามกรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในการชุมนุมเคลื่อนไหวเรียกร้องตรวจสอบการทำหน้าที่ของรัฐบาลและนักการเมือง รวมทั้งการเคลื่อนไหวคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับของนักการเมืองที่จะมีการพิจารณาในสภาอย่างถึงที่สุด ขณะเดียวกัน เราขอประณามการกระทำหรือสร้างสถานการณ์ของฝ่ายใดๆ อันจะสร้างเงื่อนไขที่จะนำเอาการต่อสู้ของประชาชนไปสู่การเรียกร้องที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น เรียกร้องให้ทหารออกมารัฐประหาร ถือได้ว่าเป็นการทำลายและทรยศต่อการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน
4. เราเห็นว่า ข้อเสนอเรื่องการปรองดองเพื่อปฏิรูปการเมือง ตามคำแถลงของนายกรัฐมนตรี จะเป็นจริงได้ ก็ต่อเมื่อรัฐบาลต้องบริหารประเทศเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่ใช่เพื่อพวกพ้องและบริวาร รัฐบาลต้องไม่ยังดันทุรังออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิด รัฐบาลต้องรับฟังความเห็นของประชาชน ปฏิบัติตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างจริงจัง
ท้ายที่สุด เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้ยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในฯ และถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับนายวรชัย เหมะ ออกจากการพิจารณาของสภาผู้แทนโดยทันที ซึ่งหากรัฐบาลยังยืนยันที่จะใช้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว จนอาจมีเหตุการณ์นำไปสู่ความรุนแรงในอนาคต นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นคนรับผิดชอบ
วันนี้ (3 ส.ค.) นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิคส์ถึงแถลงการณ์คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ต่อท่าทีและข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน โดยระบุว่า ตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกโทรทัศน์แถลงถึงเหตุผลความจำเป็นในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในเขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1-10 สิงหาคม 2556 โดยอ้างว่าเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เนื่องจากจะมีการชุมนุมของประชาชนที่คัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรม พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อปฏิรูปการเมืองนั้น คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอแถลงท่าทีและข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์ดังกล่าวดังต่อไปนี้
1. เราขอคัดค้านการประกาศ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ของรัฐบาลในเขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1-10 สิงหาคมนั้น ทั้งนี้ เพราะการใช้สิทธิชุมนุมของประชาชนตามมาตรา 63 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้น จะต้องไม่ถูกต้องขัดขวางโดยคำสั่งหรืออำนาจที่ไม่ชอบ อีกทั้งขณะนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ใดที่จะกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ทั้งยังไม่มีเหตุการณ์หรือความรุนแรงใดที่มีแนวโน้มว่าจะดำรงอยู่อย่างยืดเยื้อเป็นเวลานานตามเงื่อนไขของกฎหมายฉบับบี้ ประการสำคัญ กฎหมายที่มีอยู่และหน่วยงานที่อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในดูแลการชุมนุมตามกลไกปกติ ก็สามารถแก้ไขปัญหาชุมนุมได้อยู่แล้ว
ดังนั้น การประกาศกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการอ้างเหตุการณ์ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นมาละเมิดการใช้สิทธิการชุมนุมของประชาชน ส่อให้เห็นถึงเจตนาของรัฐบาลในการละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ และเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงกับประชาชนเหมือนที่ผ่านมา ดังนั้น หากมีเหตุการณ์ความรุนแรงใดๆ เกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ
2. เราขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับนายวรชัย เหมะ ส.ส.เพื่อไทย กับคณะเป็นผู้เสนอ ซึ่งจะมีการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ทั้งนี้ เพราะกฎหมายดังกล่าวมีเจตนาที่จะใช้เงื่อนไขการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนที่ผ่านมา ที่อาจเข้าข่ายมีการกระทำผิดกฎหมายมาเป็นเครื่องมือเพื่อหวังนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนักการเมืองบางคนให้พ้นผิด อันเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย บิดเบือนหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม ทำลายกระบวนการยุติธรรม กฎหมายดังกล่าวจึงเป็นไปเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ให้กลับสู่อำนาจโดยไม่ต้องรับโทษเท่านั้น
3. เราสนับสนุนการใช้สิทธิเสรีภาพขององค์กรภาคประชาชน ตามกรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในการชุมนุมเคลื่อนไหวเรียกร้องตรวจสอบการทำหน้าที่ของรัฐบาลและนักการเมือง รวมทั้งการเคลื่อนไหวคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับของนักการเมืองที่จะมีการพิจารณาในสภาอย่างถึงที่สุด ขณะเดียวกัน เราขอประณามการกระทำหรือสร้างสถานการณ์ของฝ่ายใดๆ อันจะสร้างเงื่อนไขที่จะนำเอาการต่อสู้ของประชาชนไปสู่การเรียกร้องที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น เรียกร้องให้ทหารออกมารัฐประหาร ถือได้ว่าเป็นการทำลายและทรยศต่อการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน
4. เราเห็นว่า ข้อเสนอเรื่องการปรองดองเพื่อปฏิรูปการเมือง ตามคำแถลงของนายกรัฐมนตรี จะเป็นจริงได้ ก็ต่อเมื่อรัฐบาลต้องบริหารประเทศเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่ใช่เพื่อพวกพ้องและบริวาร รัฐบาลต้องไม่ยังดันทุรังออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิด รัฐบาลต้องรับฟังความเห็นของประชาชน ปฏิบัติตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างจริงจัง
ท้ายที่สุด เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้ยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในฯ และถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับนายวรชัย เหมะ ออกจากการพิจารณาของสภาผู้แทนโดยทันที ซึ่งหากรัฐบาลยังยืนยันที่จะใช้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว จนอาจมีเหตุการณ์นำไปสู่ความรุนแรงในอนาคต นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นคนรับผิดชอบ