รายงานการเมือง
ภายในสัปดาห์นี้น่าจะมีความชัดเจนถึงท่าทีของ “กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ต่อการที่สภาผู้แทนราษฎรจะมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯฉบับวรชัย เหมะและพวกในช่วงการประชุมสภาฯ สัปดาห์หน้า 7-8 สิงหาคม 56
หลังหลายฝ่ายเฝ้าจับตามองว่า พันธมิตรฯ จะมีท่าทีในเรื่องนี้อย่างไร จะออกมาประกาศนัดรวมพลอะไรกันอีกหรือไม่ ที่หน้ารัฐสภา เหมือนกับที่เคยออกมาเคลื่อนไหวช่วงสภาฯ จะรวบรัดเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯเมื่อปี 2555
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นแกนนำพันธมิตรฯ บางคนก็แสดงความเห็นส่วนตัวไว้แล้วว่า แม้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯฉบับดังกล่าวจะทำให้ฝ่ายพันธมิตรฯ หลายคน จะได้รับอานิสงส์ไปด้วยกับการที่จะรอดพ้นความผิดจากหลายคดี ทั้งที่ยื่นฟ้องต่อศาลและอยู่ในชั้นอัยการ-ตำรวจ โดยเฉพาะบุคคลที่ถูกตำรวจยัดข้อหาอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ได้เป็นแกนนำหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจในการชุมนุม แต่แค่ไปร่วมชุมนุมด้วย
เช่น พวกดารานักแสดง อย่างจอย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค และพิธีกรบนเวที-ผู้ประกาศข่าว-ผู้ประสานงานการชุมนุม-หัวหน้าการ์ด หรือนักวิชาการที่แค่ไปขึ้นเวทีให้ความรู้กับประชาชนในช่วงพันธมิตรฯ ชุมนุมปี 51 ก็โดนเอาผิดถูกยัดเยียดข้อหาจากตำรวจ
แน่นอนว่า ความผิดเหล่านี้ของคนที่ร่วมอุดมการณ์กับพันธมิตรฯ จะถูกเป่าทิ้งหายวับไปทันทีหากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯมีผลบังคับใช้
แต่จุดยืนของฝ่ายพันธมิตรฯ ชัดเจนมาตลอด และไม่เปลี่ยนแปลง คือ ไม่ต้องการได้อานิสงส์ดังกล่าว โดยเฉพาะระดับแกนนำพันธมิตรฯ ที่อาจรอดคดีต่างๆ จำนวนมาก หากยอมเออออไปด้วยกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เพราะทุกคนแสดงจุดยืนชัดเจนว่าต้องการต่อสู้คดีในกระบวนการยุติธรรมจนถึงที่สุด เพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้ทำผิดอย่างที่ถูกตั้งข้อหา
โดยเฉพาะข้อกล่าวหาไร้ความเป็นธรรมอย่างคดีก่อการร้าย ที่โทษถึงขั้นประหารชีวิต ทั้งที่พันธมิตรฯชุมนุมอย่างสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่มีกองกำลังติดอาวุธ ไม่เคยยุยงคนให้ออกมาเผาศาลากลางจังหวัด เผาบ้านเผาเมืองทั้งของรัฐและเอกชน
ความเห็นส่วนตัวที่แกนนำพันธมิตรฯบางส่วนให้ความเห็นไว้ก่อนหน้านี้คือแม้อยากออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เต็มที่ แต่ทว่าติดล็อกเงื่อนไขสำคัญคือ เวลานี้มีการยื่นฟ้องคดีก่อการร้ายต่อศาลอาญาไปแล้ว แกนนำเกือบทั้งหมดหลายสิบคนตกอยู่ในฐานะ “จำเลย” ที่ได้รับการประกันตัว
ที่มีเงื่อนไขของศาล คือ ห้ามกระทำการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรือกระทำการในลักษณะปลุกระดมหรือสร้างความปั่นป่วน เช่นเดียวกับที่พวกแกนนำ นปช.ก็มีคำสั่งของศาลห้ามเอาไว้ ไม่เช่นนั้นหากผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวก็จะนำไปสู่การเพิกถอนการประกันตัวได้
ยิ่งฝ่ายพันธมิตรฯ เกือบทั้งหมดไม่ได้เป็นนักการเมือง ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองใดๆ เหมือนพวกส.ส.เสื้อแดง หลายคนมีพันธกิจในหน้าที่ทั้งชีวิตการงานและครอบครัวและหลายคนก็อายุมากแล้วบางคนเกือบจะ 80 แล้ว หากโดนถอนประกัน มีสิทธิ์ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำหลักสี่ยาวเลย
ด้วยเหตุนี้ ประชาชนก็ต้องเข้าใจแกนนำพันธมิตรฯ ด้วยว่า หากสุดท้ายแกนนำพันธมิตรฯ ไม่มีการนัดชุมนุมใหญ่หน้ารัฐสภาช่วงสภาฯ พิจารณา พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เป็นเพราะอะไร มีเหตุผลความจำเป็นอย่างไร
ตรงนี้ก็ต้องรอดูท่าทีอย่างเป็นทางการจากฝ่ายพันธมิตรฯอีกครั้งหนึ่งว่าจะเอาอย่างไร จะนัดชุมนุมหรือไม่ชุมนุม ก็ต้องติดตามกันต่อไป เพราะก็อาจมีข้อเสนอให้มีการเคลื่อนไหวในรูปแบบอื่นๆ ก็เป็นไปได้ ต้องรอติดตาม
เมื่อเป็นเช่นนี้ การคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ก็คงต้องจับตากลุ่มที่จะออกมาเคลื่อนไหวกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม ก็พบว่าบรรดาบุคคลที่เปิดตัวออกมากับกลุ่มเคลื่อนไหวการเมืองนอกสภาฯ เวลานี้ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม-กลุ่มเสื้อหลากสี-คณะเสนาธิการร่วม กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ-แนวร่วมคนไทยรักชาติ รักษาแผ่นดิน ก็พบว่าหลายคนล้วนแล้วแต่โดนฟ้องคดีหนักๆ ทั้งสิ้น อาทิ ก่อการร้าย-คดีปิดล้อมสนามบิน-คดีบุกรุกรัฐสภาและทำเนียบรัฐบาล ที่ตำรวจ-อัยการยื่นฟ้องเอาผิดคดีเหล่านี้ไปร่วม 90 คนอย่างกลุ่มคณะเสนาธิการร่วมฯที่นัดชุมนุม 4 ส.ค. 56 เอง ตัวพิเชฐ พัฒนโชติ และไทกร พลสุวรรณ ก็อยู่ในกลุ่มที่โดนเอาผิดคดีพวกนี้ด้วย
อาจเพราะด้วยเหตุนี้ที่พวกรัฐบาล-พรรคเพื่อไทยรู้ดีว่าบรรดาแกนนำฝ่ายต่อต้าน แม้จะเคลื่อนไหวได้แต่ก็ขยับได้ไม่เต็มที่ เพราะสุ่มเสี่ยงอาจโดนย้อนเกล็ด ยื่นเรื่องให้ศาลถอนประกัน พวกเพื่อไทยเลยได้ใจ หากมาตั้งม็อบหน้ารัฐสภา จนทำให้ ส.ส.เข้ารัฐสภาไปประชุมสภาฯไม่ได้ หรืออ้างว่าเคลื่อนไหวการเมืองทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย มีการปลุกปั่นประชาชน ก็อาจใช้วิธีนี้ ดัดหลังเสียเลย
อย่างล่าสุด ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ซึ่งถูกฟ้องคดีปิดล้อมสนามบิน ที่ได้นำประชาชนไปล้อมหน้ากระทรวงกลาโหมเมื่อวันที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางเข้ากระทรวงกลาโหมวันแรกเมื่อ 11 ก.ค. 56 แล้วเกิดมีการกระทบกระทั่งกันเล็กน้อยระหว่างประชาชนกับตำรวจ ทางศาลอาญาก็จะมีการไต่สวนสอบถามข้อเท็จจริงกับนายไชยวัฒน์ ในวันจันทร์นี้ 29 ก.ค. 56 อันเป็นวันเดียวกับที่ศาลอาญานัดสืบพยานคดีปิดล้อมสนามบินฯ โดยศาลจะมีการพิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหมดถึงการกระทำของนายไชยวัฒน์ ว่าผิดเงื่อนไขประกันตัวหรือไม่
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงไม่แปลกที่ทำไม เพื่อไทย-ทักษิณ ชินวัตร จึงลุยเต็มที่เดินหน้าพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ หลังวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของฝ่ายตรงข้ามมาดีแล้วว่าแม้จะคัดค้านได้แต่ก็ต่อต้านได้ไม่เต็มที่ และหากรอบนี้ฉลุย ฝ่ายต่อต้านขยับไม่ได้ ก็เชื่อว่ามันได้ใจ รอบสองมันเอาแน่ พ.ร.บ.สุดซอย ของเฉลิม อยู่บำรุง ล้างผิดทักษิณกลับบ้านแบบเท่ๆ!
เหลียวมองไปรอบๆ หลายคนก็เลยบอกว่า น้ำหนักคงต้องเทไปที่ “พรรคประชาธิปัตย์” เป็นหลักแล้ว หากว่าจะเอาจริงกับการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ
รูปแบบการคัดค้านนั้น แน่นอนว่าในสภาฯ ปชป.ก็ต้องต้านเต็มที่ทั้งในการพิจารณาทั้งวาระแรก จนถึงวาระสาม วันพิจารณาชั้นรับหลักการ 7-8 ส.ค. 56 เชื่อว่า ปชป.คงวางแผนมาอย่างดีในการพยายามใช้เวทีสภาฯ ทำให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ประชาชนได้ดูได้ฟังแล้วเห็นด้วยว่าเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ยอมให้ผ่านออกมาไม่ได้ เรียกได้ว่ามีเท่าไหร่ใส่ไม่ยั้ง แต่จะถึงขั้นส่งส.ส.ขึ้นไปลากเก้าอี้ประธานสภาฯ หรือเขวี้ยงแฟ้มใส่ประธานสภาฯ แบบปีที่แล้วหรือไม่ ดูแล้วก็ไม่ต้องถึงขั้นนั้นก็ได้
อย่างไรก็ตาม ต่อให้คัดค้านอย่างหนักทุกกระบวนท่า แต่ ปชป.ก็ต้องแพ้อยู่ดี ด้วยจำนวนเสียงที่น้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นวาระแรกหรือในชั้นกรรมาธิการจนถึงวาระ 2 และ 3 พูดให้เห็นภาพคือยกทั้งมือทั้งตีน ก็ยังแพ้ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาล
จุดสำคัญจึงอยู่ที่การค้านนอกสภาฯแล้วว่า ปชป.จะกล้าพอไหมที่จะปลุกแนวร่วมของตัวเองให้ออกมาแสดงพลังให้ ส.ส.รัฐบาลได้แลเห็น
หลังแกนนำพรรคจำนวนมากอย่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ-สุเทพ เทือกสุบรรณ-สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประกาศว่ายอมไม่ได้ที่จะให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านไปได้
ท่าทีตรงนี้ดูแล้วน่าจะชัดในเวทีผ่าความจริงที่พรรคประชาธิปัตย์ระดมเปิดเวทีอย่างหนักในช่วงสัปดาห์นี้ไปจนถึงสัปดาห์หน้า
หลังมีเสียงเรียกร้องจาก ส.ส.ในพรรคอย่างนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต รมว.วัฒนธรรม และ ส.ส.พัทลุง ที่มีบทบาทสูงในสภาฯ มาตลอด ปราศรัยบนเวทีผ่าความจริงฯ ที่สวนเบญจสิริเมื่อ 27 ก.ค.ว่า
“อย่าถามว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเอายังไงยังไง พรรคต้องค้านแน่นอน เพราะรู้ว่าสู้ตามระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภาไม่มีทางชนะ
วันนี้ผมรอสัญญาณว่าพรรคจะเป่านกหวีดเมื่อไหร่ และถ้าเป่าผมจะออกไปสู้กับประชาชน ฝากถามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ว่าจะปล่อยให้ ส.ส.ของพรรคเป็นอิสระเพื่อไปขึ้นเวทีเพื่อต่อสู้ร่วมกับประชาชนได้หรือไม่ เพราะหากสู้เพียงในสภาก็ไม่มีทางชนะ”
การค้านกฏหมายล้างผิด นับจากนี้ เมื่อดูจากปัจจัยทั้งหมดข้างต้น ที่ฝ่ายต่อต้านจำนวนมากติดล็อกจากคดีความ น้ำหนักจึงเทไปที่ประชาธิปัตย์เป็นหลักแล้วในวันนี้
ภายในสัปดาห์นี้น่าจะมีความชัดเจนถึงท่าทีของ “กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ต่อการที่สภาผู้แทนราษฎรจะมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯฉบับวรชัย เหมะและพวกในช่วงการประชุมสภาฯ สัปดาห์หน้า 7-8 สิงหาคม 56
หลังหลายฝ่ายเฝ้าจับตามองว่า พันธมิตรฯ จะมีท่าทีในเรื่องนี้อย่างไร จะออกมาประกาศนัดรวมพลอะไรกันอีกหรือไม่ ที่หน้ารัฐสภา เหมือนกับที่เคยออกมาเคลื่อนไหวช่วงสภาฯ จะรวบรัดเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯเมื่อปี 2555
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นแกนนำพันธมิตรฯ บางคนก็แสดงความเห็นส่วนตัวไว้แล้วว่า แม้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯฉบับดังกล่าวจะทำให้ฝ่ายพันธมิตรฯ หลายคน จะได้รับอานิสงส์ไปด้วยกับการที่จะรอดพ้นความผิดจากหลายคดี ทั้งที่ยื่นฟ้องต่อศาลและอยู่ในชั้นอัยการ-ตำรวจ โดยเฉพาะบุคคลที่ถูกตำรวจยัดข้อหาอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ได้เป็นแกนนำหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจในการชุมนุม แต่แค่ไปร่วมชุมนุมด้วย
เช่น พวกดารานักแสดง อย่างจอย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค และพิธีกรบนเวที-ผู้ประกาศข่าว-ผู้ประสานงานการชุมนุม-หัวหน้าการ์ด หรือนักวิชาการที่แค่ไปขึ้นเวทีให้ความรู้กับประชาชนในช่วงพันธมิตรฯ ชุมนุมปี 51 ก็โดนเอาผิดถูกยัดเยียดข้อหาจากตำรวจ
แน่นอนว่า ความผิดเหล่านี้ของคนที่ร่วมอุดมการณ์กับพันธมิตรฯ จะถูกเป่าทิ้งหายวับไปทันทีหากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯมีผลบังคับใช้
แต่จุดยืนของฝ่ายพันธมิตรฯ ชัดเจนมาตลอด และไม่เปลี่ยนแปลง คือ ไม่ต้องการได้อานิสงส์ดังกล่าว โดยเฉพาะระดับแกนนำพันธมิตรฯ ที่อาจรอดคดีต่างๆ จำนวนมาก หากยอมเออออไปด้วยกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เพราะทุกคนแสดงจุดยืนชัดเจนว่าต้องการต่อสู้คดีในกระบวนการยุติธรรมจนถึงที่สุด เพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้ทำผิดอย่างที่ถูกตั้งข้อหา
โดยเฉพาะข้อกล่าวหาไร้ความเป็นธรรมอย่างคดีก่อการร้าย ที่โทษถึงขั้นประหารชีวิต ทั้งที่พันธมิตรฯชุมนุมอย่างสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่มีกองกำลังติดอาวุธ ไม่เคยยุยงคนให้ออกมาเผาศาลากลางจังหวัด เผาบ้านเผาเมืองทั้งของรัฐและเอกชน
ความเห็นส่วนตัวที่แกนนำพันธมิตรฯบางส่วนให้ความเห็นไว้ก่อนหน้านี้คือแม้อยากออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เต็มที่ แต่ทว่าติดล็อกเงื่อนไขสำคัญคือ เวลานี้มีการยื่นฟ้องคดีก่อการร้ายต่อศาลอาญาไปแล้ว แกนนำเกือบทั้งหมดหลายสิบคนตกอยู่ในฐานะ “จำเลย” ที่ได้รับการประกันตัว
ที่มีเงื่อนไขของศาล คือ ห้ามกระทำการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรือกระทำการในลักษณะปลุกระดมหรือสร้างความปั่นป่วน เช่นเดียวกับที่พวกแกนนำ นปช.ก็มีคำสั่งของศาลห้ามเอาไว้ ไม่เช่นนั้นหากผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวก็จะนำไปสู่การเพิกถอนการประกันตัวได้
ยิ่งฝ่ายพันธมิตรฯ เกือบทั้งหมดไม่ได้เป็นนักการเมือง ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองใดๆ เหมือนพวกส.ส.เสื้อแดง หลายคนมีพันธกิจในหน้าที่ทั้งชีวิตการงานและครอบครัวและหลายคนก็อายุมากแล้วบางคนเกือบจะ 80 แล้ว หากโดนถอนประกัน มีสิทธิ์ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำหลักสี่ยาวเลย
ด้วยเหตุนี้ ประชาชนก็ต้องเข้าใจแกนนำพันธมิตรฯ ด้วยว่า หากสุดท้ายแกนนำพันธมิตรฯ ไม่มีการนัดชุมนุมใหญ่หน้ารัฐสภาช่วงสภาฯ พิจารณา พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เป็นเพราะอะไร มีเหตุผลความจำเป็นอย่างไร
ตรงนี้ก็ต้องรอดูท่าทีอย่างเป็นทางการจากฝ่ายพันธมิตรฯอีกครั้งหนึ่งว่าจะเอาอย่างไร จะนัดชุมนุมหรือไม่ชุมนุม ก็ต้องติดตามกันต่อไป เพราะก็อาจมีข้อเสนอให้มีการเคลื่อนไหวในรูปแบบอื่นๆ ก็เป็นไปได้ ต้องรอติดตาม
เมื่อเป็นเช่นนี้ การคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ก็คงต้องจับตากลุ่มที่จะออกมาเคลื่อนไหวกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม ก็พบว่าบรรดาบุคคลที่เปิดตัวออกมากับกลุ่มเคลื่อนไหวการเมืองนอกสภาฯ เวลานี้ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม-กลุ่มเสื้อหลากสี-คณะเสนาธิการร่วม กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ-แนวร่วมคนไทยรักชาติ รักษาแผ่นดิน ก็พบว่าหลายคนล้วนแล้วแต่โดนฟ้องคดีหนักๆ ทั้งสิ้น อาทิ ก่อการร้าย-คดีปิดล้อมสนามบิน-คดีบุกรุกรัฐสภาและทำเนียบรัฐบาล ที่ตำรวจ-อัยการยื่นฟ้องเอาผิดคดีเหล่านี้ไปร่วม 90 คนอย่างกลุ่มคณะเสนาธิการร่วมฯที่นัดชุมนุม 4 ส.ค. 56 เอง ตัวพิเชฐ พัฒนโชติ และไทกร พลสุวรรณ ก็อยู่ในกลุ่มที่โดนเอาผิดคดีพวกนี้ด้วย
อาจเพราะด้วยเหตุนี้ที่พวกรัฐบาล-พรรคเพื่อไทยรู้ดีว่าบรรดาแกนนำฝ่ายต่อต้าน แม้จะเคลื่อนไหวได้แต่ก็ขยับได้ไม่เต็มที่ เพราะสุ่มเสี่ยงอาจโดนย้อนเกล็ด ยื่นเรื่องให้ศาลถอนประกัน พวกเพื่อไทยเลยได้ใจ หากมาตั้งม็อบหน้ารัฐสภา จนทำให้ ส.ส.เข้ารัฐสภาไปประชุมสภาฯไม่ได้ หรืออ้างว่าเคลื่อนไหวการเมืองทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย มีการปลุกปั่นประชาชน ก็อาจใช้วิธีนี้ ดัดหลังเสียเลย
อย่างล่าสุด ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ซึ่งถูกฟ้องคดีปิดล้อมสนามบิน ที่ได้นำประชาชนไปล้อมหน้ากระทรวงกลาโหมเมื่อวันที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางเข้ากระทรวงกลาโหมวันแรกเมื่อ 11 ก.ค. 56 แล้วเกิดมีการกระทบกระทั่งกันเล็กน้อยระหว่างประชาชนกับตำรวจ ทางศาลอาญาก็จะมีการไต่สวนสอบถามข้อเท็จจริงกับนายไชยวัฒน์ ในวันจันทร์นี้ 29 ก.ค. 56 อันเป็นวันเดียวกับที่ศาลอาญานัดสืบพยานคดีปิดล้อมสนามบินฯ โดยศาลจะมีการพิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหมดถึงการกระทำของนายไชยวัฒน์ ว่าผิดเงื่อนไขประกันตัวหรือไม่
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงไม่แปลกที่ทำไม เพื่อไทย-ทักษิณ ชินวัตร จึงลุยเต็มที่เดินหน้าพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ หลังวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของฝ่ายตรงข้ามมาดีแล้วว่าแม้จะคัดค้านได้แต่ก็ต่อต้านได้ไม่เต็มที่ และหากรอบนี้ฉลุย ฝ่ายต่อต้านขยับไม่ได้ ก็เชื่อว่ามันได้ใจ รอบสองมันเอาแน่ พ.ร.บ.สุดซอย ของเฉลิม อยู่บำรุง ล้างผิดทักษิณกลับบ้านแบบเท่ๆ!
เหลียวมองไปรอบๆ หลายคนก็เลยบอกว่า น้ำหนักคงต้องเทไปที่ “พรรคประชาธิปัตย์” เป็นหลักแล้ว หากว่าจะเอาจริงกับการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ
รูปแบบการคัดค้านนั้น แน่นอนว่าในสภาฯ ปชป.ก็ต้องต้านเต็มที่ทั้งในการพิจารณาทั้งวาระแรก จนถึงวาระสาม วันพิจารณาชั้นรับหลักการ 7-8 ส.ค. 56 เชื่อว่า ปชป.คงวางแผนมาอย่างดีในการพยายามใช้เวทีสภาฯ ทำให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ประชาชนได้ดูได้ฟังแล้วเห็นด้วยว่าเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ยอมให้ผ่านออกมาไม่ได้ เรียกได้ว่ามีเท่าไหร่ใส่ไม่ยั้ง แต่จะถึงขั้นส่งส.ส.ขึ้นไปลากเก้าอี้ประธานสภาฯ หรือเขวี้ยงแฟ้มใส่ประธานสภาฯ แบบปีที่แล้วหรือไม่ ดูแล้วก็ไม่ต้องถึงขั้นนั้นก็ได้
อย่างไรก็ตาม ต่อให้คัดค้านอย่างหนักทุกกระบวนท่า แต่ ปชป.ก็ต้องแพ้อยู่ดี ด้วยจำนวนเสียงที่น้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นวาระแรกหรือในชั้นกรรมาธิการจนถึงวาระ 2 และ 3 พูดให้เห็นภาพคือยกทั้งมือทั้งตีน ก็ยังแพ้ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาล
จุดสำคัญจึงอยู่ที่การค้านนอกสภาฯแล้วว่า ปชป.จะกล้าพอไหมที่จะปลุกแนวร่วมของตัวเองให้ออกมาแสดงพลังให้ ส.ส.รัฐบาลได้แลเห็น
หลังแกนนำพรรคจำนวนมากอย่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ-สุเทพ เทือกสุบรรณ-สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประกาศว่ายอมไม่ได้ที่จะให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านไปได้
ท่าทีตรงนี้ดูแล้วน่าจะชัดในเวทีผ่าความจริงที่พรรคประชาธิปัตย์ระดมเปิดเวทีอย่างหนักในช่วงสัปดาห์นี้ไปจนถึงสัปดาห์หน้า
หลังมีเสียงเรียกร้องจาก ส.ส.ในพรรคอย่างนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต รมว.วัฒนธรรม และ ส.ส.พัทลุง ที่มีบทบาทสูงในสภาฯ มาตลอด ปราศรัยบนเวทีผ่าความจริงฯ ที่สวนเบญจสิริเมื่อ 27 ก.ค.ว่า
“อย่าถามว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเอายังไงยังไง พรรคต้องค้านแน่นอน เพราะรู้ว่าสู้ตามระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภาไม่มีทางชนะ
วันนี้ผมรอสัญญาณว่าพรรคจะเป่านกหวีดเมื่อไหร่ และถ้าเป่าผมจะออกไปสู้กับประชาชน ฝากถามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ว่าจะปล่อยให้ ส.ส.ของพรรคเป็นอิสระเพื่อไปขึ้นเวทีเพื่อต่อสู้ร่วมกับประชาชนได้หรือไม่ เพราะหากสู้เพียงในสภาก็ไม่มีทางชนะ”
การค้านกฏหมายล้างผิด นับจากนี้ เมื่อดูจากปัจจัยทั้งหมดข้างต้น ที่ฝ่ายต่อต้านจำนวนมากติดล็อกจากคดีความ น้ำหนักจึงเทไปที่ประชาธิปัตย์เป็นหลักแล้วในวันนี้