รมว.พลังงาน ย้ำขึ้นแน่แก๊ส LPG 50 สตางค์ 1 กันยายนนี้ อ้างไม่กระทบคนจน ขณะเดียวกันรับสนอง “นายกฯ ปู” หนุนติดแผนโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน คาดเดือนสิงหาคมนี้ชัด
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในรายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” ถึงแนวทางช่วยเหลือผู้มีรายได้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มว่า การปรับขึ้นราคา 1 กันยายนนี้ เป็นกิโลกรัมละ 50 สตางค์ ทุกเดือน สิ่งที่สำคัญที่สุด อยากจะเรียนว่ากลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยไม่ได้ขึ้นราคา ย้ำว่าไม่ได้ขึ้นราคาผู้มีรายได้น้อย ซึ่งทั้งหมด 7.5 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นจำนวนคน ประมาณ 15 ล้านคน ถ้าคิดครัวเรือนละ 2 คน อย่างน้อย 15 ล้านคนไม่ได้ขึ้นราคา ทั้งหมดที่ใช้ก๊าซหุงต้มมีทั้งหมด 18 ล้านครัวเรือน ดังนั้นเราให้ราคาเดิมที่ 7.5 ล้านครัวเรือน ถือว่าครอบคลุมหมดแล้ว ฉะนั้นรายได้น้อยไม่เดือดร้อนแน่นอน คนที่จะกระทบคือคนรวยหรือคนที่มีรายได้สูง
ส่วนกลุ่มคนที่ใช้ก๊าซ ทั้งหมดคือ 18 ล้านครัวเรือน ตรงนี้ครึ่งหนึ่งประมาณ 7.5 ล้านครัวเรือน เป็นรายได้น้อย ก็คือได้รับรับเงินชดเชยซื้อราคาเดิมหรือไม่นั้น นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า ซื้อราคาเดิม วิธีการจะดูว่า 7.5 ล้านครัวเรือนมาจากไหน โดยการสำรวจดูจากการสอบถามทั่วประเทศ สำรวจเสร็จแล้วก็นำตัวเลขที่ไม่มีข้อโต้แย้ง และดูการใช้ไฟฟ้า ภายหลังพบว่าผู้ที่ใช้ไฟฟ้าฟรี 50 หน่วย แต่ 50 หน่วยมีจำนวนน้อย จึงขยับมาที่ 90 หน่วย เมื่อก่อนเคยให้ใช้ไฟฟ้าฟรีถึง 90 หน่วยจึงนำตัวเลขนี้มาคิด ซึ่งหาตัวเลขได้จากการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและผู้ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ร่วมกัน ทั้งหมด 7,617,461 ครัวเรือน
ส่วนผู้ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ถือว่าเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า ต้องได้ซื้อในราคาเดิม ไม่ได้ขึ้นราคา วิธีการคือ คนเหล่านี้เราจะรู้ได้ว่าคนไหนมีรายได้น้อย โดยดูจากใบเสร็จชำระค่าไฟฟ้าและจะมีการแจ้งกลับไปว่าท่านมีสิทธิ์ซื้อแก๊สราคาเดิม
เมื่อถามว่าทำไมต้องขึ้นราคาด้วย ทำไมไม่ให้ซื้อในราคาเดิมได้ทุกคน นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า การอุดหนุนราคาเรื่องแก๊ส LPG รัฐบาลอุดหนุนมาถึงวันนี้ 5-6 ปีแล้วหมดเงินไป 140,000 ล้านบาท เป็นจำนวนมหาศาล นับวันยิ่งจะเพิ่มทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ และมีการลักรอบนำแก๊สหุงต้มที่เราอุดหนุนราคาไปขายเป็นแก๊สรถยนต์ ไปขายเป็นแก๊สอุตสาหกรรมนำส่งออกนอกประเทศ
ส่วนเงิน 140,000 ล้านบาท เป็นเงินใครที่เข้ามาอุดหนุนนั้น นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า เป็นเงินกองทุนน้ำมัน เงินกองทุนน้ำมันเก็บมาจากคนจน คนที่ขี่มอเตอร์ไซค์ ขับรถตุ๊กตุ๊ก รถสองแถว รถเก๋งคนที่ใช้อยู่คนไหนที่ใช้เบนซิน แก๊ส โซล่า เขาเก็บเงินมาหมด กองทุนนี้จะมาอุดหนุนแก๊ส LPG กันหมด ตรงนี้ผมคิดว่าจะกระทบและไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้น้ำมัน คนที่ใช้น้ำมันคิดว่าไม่จำเป็นเขาก็ใช้แก๊สเหมือนกัน อย่างเช่น คนที่ขี่มอเตอร์ไซค์ เขาใช้น้ำมันวันละ 100 บาท แต่เขาซื้อแก๊สวันละ 10 บาท เขาใช้แก๊สหุงต้มวันละ 10 บาท ฉะนั้นเขาถูกเก็บไปไม่คุ้มกับที่อุดหนุน
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวต่อว่า ทุกวันนี้มันอุดหนุนไขว้กัน เอาเงินของคนขี่มอเตอร์ไซค์ เอาเงินของคนที่ใช้น้ำมันเบนซิน เอามาอุดหนุนให้คนใช้ก๊าซ LPG ทั้งคนที่ใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือน ทั้งคนที่ใช้แก๊ส LPG ในภาคการขนส่ง รถยนต์ก็ได้อุดหนุนทั้งหมด คงไม่เป็นธรรม ยังมีคนขโมยเอาแก๊สไปขาย นั้นเงินอุดหนุนก็ถูกขโมยไปขายจับไม่ได้ จับยากมาก เพราะแก๊สก็คือแก๊ส
ต่อข้อถามว่าเมื่อถามว่า ที่บอกว่าเอาไปขาย ขยายความหน่อวว่าขโมยอย่างไร นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า อย่างตัวอย่างที่ไปตรวจชายแดนจะไม่บอกจังหวัดนะครับ ไปตรวจตามชายแดน แก๊สบ้านกิโลกรัมละ 18 บาท 13 สตางค์ เพื่อนบ้านกิโลกรัมละ 45 บาท ขณะทที่ เพื่อนบ้าน อาทิ ลาว พม่า กัมพูชา แถวนี้ กิโลกรัมละ 40 บาท แล้วแต่บางจุด บางจุดที่ใกล้ทะเลจะถูกลง บางจุดที่ไกลทะเลจะแพงขึ้น 45 บาท ราคาต่างกันกว่า 20 บาท ถ้าซื้อถังละ 15 กิโลกรัม 1 ถังเขาหิ้วไปได้กำไร 300 บาท เขาหิ้ว 2 ถัง ได้กำไร 600 บาทต่อวัน เขาเอารถเข็นมาขายของ ตามชายแดนก็ขายได้ของไม่ได้ขายนะครับแต่เข็นเข้าเข็นออกวันหนึ่ง 10 เที่ยว ก็ได้ 20 ถังแล้ว 20 ถัง ถังละ 300 บาทก็ 6,000 บาทแล้ว
เมื่อถามว่าแล้วเงินที่อุดหนุนให้เอาแก๊สเมืองไทยไปขายให้ประเทศเพื่อนบ้าน คือเงินของใคร นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า เป็นเงินของคนที่ขี่มอเตอร์ไซด์ ขับรถยนต์ ฉะนั้นการอุดหนุน เฉพาะคนจน ตามที่ระบุไว้ ทำให้จำกัดวงเงินที่อุดหนุน ฉะนั้นจะมีวงเงินที่อุดหนุนน้อยลง ไม่นั้นจะไปอุดหนุนภาพรวมทั้งหมด อุดหนุน 7.5 ครัวเรือน ใช้ครัวเรือนละ 6 กิโลกรัม เราก็รู้ว่าอุดหนุนแค่ 42 ล้านกิโลกรัมเท่านั้นไม่มีมากกว่านี้ ฉะนั้นคนอื่นๆ ที่จะขโมยขายจะได้ราคาเต็มหมด
ต่อข้อถามว่า พอแก๊สพอขึ้นราคาคนอ้างว่าสินค้าขึ้นราคาด้วย เท่ากับว่า แบบนี้ หาบเร่แผงลอยได้ชดเชยด้วยหรือไม่ หลังจากนั้นจะไปกระทบข้าวแกงริมถนนที่คนทั่วไปต้องกินหรือไม่ นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า หาบเร่แผงลอย เราถือว่าเป็นคนขายอาหารให้แก่ผู้ที่มีรายได้น้อย ฉะนั้นผู้มีรายได้น้อยบางคนไม่ได้ทำกับข้าวที่บ้าน เขาก็มาซื้อหาบเร่แผงลอย นั้นเราจึงอุดหนุนหาบเร่แผงลอยด้วยในราคาเดิม หาบเร่แผงลอยราคาเดิม เท่าที่จดทะเบียนแล้วมี 168,529 ราย และยังมีไม่จดทะเบียนอีกมาก อยากให้ทุกคนไปจดทะเบียน รัฐบาลยินดีช่วยเหลือตอบสนองทุกคน โทรมาที่ Call Center ก็ได้ 02-140-7000 และไปที่จังหวัดจะมีกระทรวงพาณิชย์ พลังงานจังหวัดท่านติดต่อได้เลยเขาจะสอบถามออกเลขสิทธิ์ให้
ส่วนราคาก๊าซหุงต้มครัวเรือนที่จะขยับขึ้นไปเดือนละ 50 สตางค์ ขึ้นไปมากน้อยเท่าใดนั้น นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่าขึ้นไปทั้งหมด 6 บาท 6 บาทคือ 1 ปี 1 ปีคือ 12 เดือน ขึ้นมา 6 บาทก็ทำให้ราคาแก๊สเป็นราคาตามตลาด ราคาที่โรงแยกก๊าซของเรา โดยสูงสุดคือกิโลกรัมละประมาณ 24 บาท 82 สตางค์ ซึ่งจะเป็นราคาที่จะทยอยปรับขึ้นไป ย้ำนะคะว่า สำหรับคนที่มีรายได้น้อยใช้ไฟต่ำกว่า 90 หน่วย ลงมารวมถึงแม่ค้าหาบเร่แผงลอย สามารถใช้ก๊าซหุงต้มในราคาเดิมซื้อในราคาเดิม
เมื่อถามว่าหากบางคนบอกว่าฉันเป็นแม่ค้าแต่ว่ายังไม่ลงทะเบียนจะทำอย่างไร นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า สามารถโทร.ไปลงทะเบียน Call Center ได้และขอแจ้งลงทะเบียน หลังจากนั้นทางเจ้าหน้าที่จะมาสำรวจถ่ายรูป ว่าชื่ออะไร อยู่ที่ไหน ขายอะไร แม้กระทั้งแม่ค้ารายใหม่อีก 2 เดือนข้างหน้าท่านไปเปิดแผงลอยขายในตลาดสดก็สามารถโทรไปได้ โทรไปจดทะเบียนได้ทุกเดือน ไม่ได้จำกัดว่าต้องหมดเขต
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า ที่กล้าขึ้นเพราะผมทำตามข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่และต้องการชี้แจงให้ประชาชนทุกคนเข้าใจว่าเหตุผลในการขึ้นอย่างไรอย่างที่มาชี้แจงวันนี้ เพราะว่าจริงๆแล้วประชาชนไม่ทราบข้อเท็จจริงก่อนว่าเอาเงินจากคนขี่มอเตอร์ไซค์ หรือเอาเงินจากเบนซิน โซล่า มาจ่ายเงิน LPG และจ่ายไปแล้ว ไม่พอยังถูกลักลอบหรือถูกขโมยไปขายไปค้ากำไร ซึ่งคนไม่ให้ขึ้นส่วนใหญ่จะมีส่วนผูกพันอยู่มาก คงไม่อยากกล่าวหาใครแบบไม่มีเหตุผล ก็ต้องมีส่วนร่วมในการทำตรงนี้ สนับสนุนคนเหล่านี้ที่ต่อต้าน ฉะนั้นคนที่ขึ้นราคารัฐบาลขึ้น เราจะขึ้นเฉพาะคนรวยอย่างเดียว ต่อต้านเพื่อใคร คนรวยมีสตางค์ต้นทุนอาหารประมาณ 1% ค่าแก๊สคือ 1 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนอาหาร ฉะนั้นของที่เราซื้อ 30 บาท ต้นทุนคือ 30 สตางค์เท่านั้น 30 สตางค์ต้นทุนค่าอาหาร ถ้าคนรวยกินอาหารจานละ 100 บาท ต้นทุนไม่ถึง 1 บาท เขาขึ้นราคามา 1 บาท ก็ไม่กระทบกระเทือนอะไร แต่มีคนฉวยโอกาสพอบอกว่าขึ้นราคาก็ขึ้นทันที 5 บาท มันไม่ใช่ราคาแท้
ถามย้ำว่ายืนยันได้หรือไม่ว่าราคาข้าวแกงริมถนน อาหารต่างๆ ไม่ควรขึ้นราคา นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลที่จะขึ้นราคาเพราะแก๊ส
ต่อข้อถามว่าได้มีการประสานกับกระทรวงพาณิชย์หรือไม่ว่าถ้าขึ้นราคาไปกระทรวงพลังงานไปทำอะไรได้ ไม่ได้คุมราคาสินค้า นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า ได้แจ้งทางกระทรวงพาณิชย์ไปแล้ว ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์ต้องไปหามาตรการไปกวดขันเอง เพราะว่ายังมีการขายของเกินราคาอยู่ หลายๆ อย่างที่ต้องไปกวดขัน ที่ได้แจ้งไป กระทรวงพาณิชย์ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งได้ชี้แจงให้กับประชาชนทราบด้วยเหมือนกัน
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ผลงานของนักวิจัยของกลุ่ม ปตท. ซึ่งทำวิจัยมานานเพราะมีปัญหาหลายประเทศที่ลองทำใช้แก๊สดีเซลผสมกับแก๊สธรรมชาติแล้วมันไปไม่ค่อยได้เพราะระบบไม่ตอบสนองซึ่งกันละกันแยกระบบกัน ดังนั้น ทางวิจัยของ ปตท. ซึ่งวิจัยได้สำเร็จแล้วว่าแก๊ส CNG ที่เข้าไปผสมกับดีเซลสามารถทำได้เมื่อวานได้มีการเปิดตัวว่าคนที่ใช้ดีเซลพอติดหัวจ่ายเข้าไปแล้ว เขาจะมีระบบควบคุม ECU ซึ่ง ECU กลาง เขาจะบริหารจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จะบริหารจัดการกระจายแก๊สเท่าไร ฉีดเท่าไรให้แรงดันเท่าไร ความร้อนเท่าไร ปรากฏว่าจากการทดสอบประหยัดกว่าการใช้น้ำมันถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งระยะห่างไกล นอกเมืองถ้าในเมืองรถติดอย่างกรุงเทพมหานคร ประหยัดไป 30-50 เปอร์เซ็นต์ตรงนี้จะเป็นประโยชน์มากฉะนั้นรถยนต์ที่เติมดีเซล สามารถติดถังแก๊สได้เพื่อผสมกัน ซึ่งตรงนี้เป็นการพัฒนาเฉพาะรถปิกอัพอยู่และตอนนี่ได้เสร็จแล้วซึ่งผลิตจำหน่าย ซึ่งมีการเร่งรัดให้ ปตท.เร่งออกแบบผลิตสำหรับรถ บขส. รถบรรทุก รถขนส่งขนาดใหญ่ ซึ่งตรงนี้เสร็จแล้วจะบริการให้ลิขสิทธิ์เปิดฟรีให้ประชาชนติดตั้งได้
ส่วนที่ถามว่านี่คือเทคโนโลยีที่เป็นฝีมือคนไทยในการใช้น้ำมันดีเซลควบคู่กับตัว CNG หรือว่า NGVนั่นเอง ซึ่งจะทำให้ประหยัดพลังงานได้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ และต้องบอกกับท่านผู้ชมว่าเป็นรายแรกของโลกที่ประเทศไทยฝีมือคนไทยทำได้ นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า จะทำให้ค่าขนส่งทั้งประเทศประหยัดลง เพราะว่าแก๊สดีเซลมีโอกาสขึ้นราคาภายในอนาคต เพราะราคารัฐบาลได้อั้นเต็มที่ทุกวันนี้ เรายังอุดหนุนอยู่ ดังนั้นถ้าเกิดว่าใช้ผสมกับแก๊สธรรมชาติแล้วก็ทำให้ค่าขนส่งลดลงดีเซลก็จะขึ้นได้ตามปกติ เพราะว่าต้นทุนถูกลงมา ณ วันนี้ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศไทยยังตรึงราคาไว้ที่ราคา 29 บาท 99 สตางค์ คือไม่ให้ชน 30 บาท เพื่อไม่ให้กระทบกับค่าครองชีพนั่นเอง พอพูดถึง NGV บางท่านอาจจะถามว่าแล้วการขยายปั้ม NGV ตรงนี้นโยบายจะขยายมากน้อยได้แค่ไหนทำอย่างไรให้คนเติมได้สะดวกขึ้น
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวถึงการประชุมของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่คณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธานและเรื่องนี้เป็นนโยบายที่ท่านนายกฯ เป็นห่วงมากและอยากให้ใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่ราคาถูก แก๊ส NGV เป็นแก๊สที่ราคาถูกดังนั้นที่ประชุมครั้งก่อนจึงลงมติว่าให้เอกชนสามารถตั้งปั๊มเอง โดย ปตท. สามารถขายแก๊สได้สามารถตั้งตรงนั้นตรงนี้อย่างไร วิธีการตั้งเราจะขายแก๊ส NGV ทีไม่มีคาร์บอนไดออกไซด์ผสมทำให้ออกเทนสูง คงเปิดให้บริการให้ได้เร็วๆ นี้ เพราะคนขอเข้ามาหลายรายแล้ว
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวอีกว่า สำหรับ ปตท.ที่ขายแก๊ส NGV คราวนี้ก็มีการเพิ่มปริมาณในปั้มเดิม เพิ่มปริมาณแก๊สมากขึ้นเพิ่มหัวจ่ายเพิ่มซึ่งขึ้นกำลังเร่งรัดเพราะการทำแต่ละอันต้องใช้เวลาสั่งซื้อในการติดตั้งหลายๆ อย่าง คิดว่าช่วงรถติดตอนนี่ก็เบาบางลงยังไม่ถึงกับว่าหายน่ะครับ คือรอเติมแก๊สยังมีติดอยู่แต่ก็น้อยลงจากเดิมมาก
เมื่อถามถึงเรื่องของพลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ การส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอย่างไรบ้าง นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า นายกฯ ได้เน้นย้ำว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนได้เรียนรู้การประหยัดไฟ ก็อยากจะส่งเสริมให้มีแผงโซลาร์บนหลังคาบ้าน ซึ่งกระทรวงพลังงานก็ได้ตอบสนองเพราะทำเสนอเข้าคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติแล้ว ต่อไปนี้ทุกคนที่มีบ้านอยู่สามารถซื้อแผงโซลาร์มาติดบนบ้านได้ วิธีการทำทางกระทรวงพลังงานคิดง่ายๆ สมมติว่าท่านติดแอร์ที่บ้าน ท่านก็ซื้อแอร์มาติดตั้งเลย ฉะนั้นแผงโซลาร์ เราจะให้ทุกคนสั่งซื้อบริษัทที่มีความเข้าใจในการติดตั้งแผงโซลาร์มาติดตั้งที่บ้านได้เลย ง่ายๆ โดยที่คนที่อยู่บ้านไม่ต้องขออนุญาตไม่ต้องทำการเชื่อมสายผู้รับเหมาคนที่ทำแผงโซล่าทำให้หมดเลย ดังนั้นทุกบ้านสามารถติดแผงโซลาร์หลังคาแล้วก็ขายไฟฟ้าให้กับไฟฟ้าเลย แต่ได้ยูนิตหนึ่งประมาณ 6 บาท 96 สตางค์ ซึ่งเวลาคนใช้ไฟฟ้าในบ้านใช้ประมาณ 3 บาท 75 สตางค์ ก็จะมีกำไร กลางวันเก็บเงินไว้ ตอนเย็นใช้ไฟฟ้าไปเท่าไรเงินที่รับจ่ายก็จะเห็นว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นของแต่ละบ้าน
สำหรับหลังคาบ้านประชาชนมีโอกาสผลิตกระแสไฟฟ้าและขายไฟฟ้าคืนกลับให้รัฐ เวลาขายคืนให้หน่วยละ 6 บาท 96 สตางค์และเราก็มาใช้ไฟที่ราคาถูกกว่าคือไฟฟ้าจากหลวงที่หน่วยละ 3 บาท 75 สตางค์ตรงนั้น นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า เหตุผลที่ทำแบบนี้เพราะว่า 1. เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจเรื่องกระแสไฟฟ้า เรื่องการประหยัดไฟฟ้า ประการที่ 2 ไปลดจำนวนการสร้างโรงไฟฟ้าลงโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพราะเงินที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ค่า FT ต่าง ๆ ประชาชนต้องรับภาระอยู่แล้วถ้าเกิดเพิ่มขึ้น ฉะนั้นประชาชนสร้างเองในตัวละหลังจะทำให้เฉลี่ยกันไปจะทำให้ถูกลงไปอีก
ส่วนหลายๆ ท่าน อาจจะยินดีที่หลังคาบ้านสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ แต่ต้องถามต้นทุนราคาแผงโซลาร์ที่จะมาติดบนหลังคาบ้านเป็นอย่างไรบ้าง นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า จากเดิมบนหลังคาค่าติดตั้งชุดหนึ่ง 300,000-400,000 บาท ราคา จากการที่ออกแบบใหม่เราลดขั้นตอนในการติดตั้งทั้งลดธรรมเนียมลง และทางกระทรวงคลังยังจะลดค่าภาษีให้อีก ซึ่งคิดว่าต้นทุนไม่ถึง 200,000 และสามารถกู้เงินมาติดตั้งได้ใช้เงินรายได้ที่ได้จากการขายไฟฟ้าให้รัฐมาผ่อน 3-4 กู้ได้คืนแล้ว ประการที่ 2 รัฐบาลยังให้ทำไฟฟ้าโซล่าชุมชนที่ 800 เมกะวัตต์ หมายถึงจะให้ชุมชนติดตั้งโซล่า 1 เมกะวัตต์เสร็จแล้วตรงนี้เป็นรายได้เป็นสวัสดิการของหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านจะมีกำไรเข้าไปซ่อมแซมหมู่บ้าน ขึ้นอยู่คณะกรรมการหมู่บ้านในแต่ละแห่ง คงไม่ได้ทุกชุมชน เพราะขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่ที่มีสายส่ง ไฟฟ้าเหมาะสมหรือไม่ ที่ดินแสงแดดเพียงพอหรือไม่ บางแห่งฝนตกมากบางแห่งไม่มีแดด แดดไม่ร้อนพอก็ไม่เหมาะสม เราจะทดลองทำ 800 แห่ง
ส่วนของชุมชนคือ 800 เมกะวัตต์ 800 แห่ง ตอนนี่กลับมาที่บ้านครัวเรือนของทุกคนก่อนตัวแผงโซล่าจะเริ่มจริงๆ ได้เมื่อไรแล้วการที่คิดเป็นระบบว่าจะมีทั้งบริการด้านการเงินด้วย บริการทั้งโซล่าเซลล์ที่มาติดตั้งจะเริ่มอย่างครบวงจรได้เมื่อไร นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า ตอนนี้เอกชนหลายคนเตรียมพร้อมอยู่แล้วและจะจัดประชุมสัมมนาในเดือนหน้าโดยจัดประชุมในเรื่องวิธีการต่างๆ เพื่อให้บริษัทร้านค้าเอาไปขายให้ประชาชนได้ง่ายขึ้น
เมื่อถามว่าสมมุติว่าอยากจะติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา อยากจะผลิตกระแสไฟฟ้าคืนให้หลวงแล้วจะได้ใช้ไฟฟ้าหลวงได้ถูกกว่าทำแบบนี้ต้องติดต่อใครบ้าง นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า ติดต่อบริษัทที่ขายโซล่าที่รับติดตั้งซึ่งมีหลายเจ้า ทางกระทรวงพลังงานกำลังตรวจศูนย์ว่าคนไหนเหมาะสม อาทิ เจ้าดังๆ ใหญ่ๆ ก็เหมาะสม คงจะเริ่มได้เดือนหน้าสามารถทำได้เลยและที่ออกมา 100 เมกะวัตต์ สำหรับบนหลังคาบ้านไม่ได้หมายความว่ามีแค่ 100,000 หลัง หมายถึงมีคนขอ 100,000 หลัง เราก็จะติดตั้งให้ เพราะอย่างต่างประเทศการกำหนดค่า FIT 6 บาท 96 สตางค์ เขาจะผลิตทุกปีเขามีค่าแผงถูกลงค่าไฟฟ้าก็จะถูกลงด้วย