xs
xsm
sm
md
lg

รัฐบาลแจงบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ปลาย พ.ค.รู้ผลด้านเทคนิค

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ธงทอง จันทรางศุ (แฟ้มภาพ)
รัฐบาลส่ง “ธงทอง-อัชพร-สุพจน์” ออกทีวีแจงประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ยันยังไม่เสร็จสัญญาอยู่ในขั้นตอนพิจารณาด้านเทคนิคคาดปลาย พ.ค.รู้ผลด้านเทคนิค ของบริษัทที่ยื่นซองประมูล ยันโปรงใส่



ผู้สื่อข่าวงานว่ารายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน” ช่วงที่ 2 วันนี้ (4 พ.ค.) นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ร่วมกับ นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เลขาธิการคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ชี้แจงถึงโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการเปิดประมูลการทำโครงการ

โดยนายธงทอง กล่าวว่า เมื่อวาน (3พ.ค.)มีการเปิดประมูล คาดว่าไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์จะอ่านข้อมูลโครงการแล้วเสร็จ ไปถึงสัปดาห์สุดท้ายของปลาย พ.ค. ก็มีข้อรายงานจากคณะอนุกรรมการทางเทคนิคมา คิดว่าสัปดาห์สุดท้ายของเดือน พ.ค. ซึ่งมีเงื่อนไขว่าถ้าได้คะแนนทางเทคนิคเกินกว่าร้อยละ 80 ถือว่าผ่าน จากนั้นก็จะนำคนที่ได้คะแนนสูงสุดมาดู ซองราคาก็จะยังไม่เปิดก่อน เมื่อดูว่าผ่านแล้วก็จะเชิญมา และดูในซองราคาเพื่อต่อรอง

ด้านนายสุพจน์ กล่าวว่าโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ว่า เริ่มตั้งแต่หลังน้ำท่วมใหญ่ มีการตั้งคณะ กยอ. เพื่อกำหนดนโยบายเป็นยุทธศาสตร์ จากนั้น กยน.ก็นำยุทธศาสตร์มาทำเป็นแผนแม่บท ในการบริหารจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งของประเทศไทย เอาปี 2554 และปี 2485 มาเป็นตัวอ้างอิงว่าต้องไม่เกิดเช่นนั้นอีก จากนั้นกำหนดกรอบว่ารัฐบาลจะทำอะไรบ้าง คณะกบอ.ก็รับแผนแม่บทมาทำเป็นแผนปฏิบัติการ 2 ส่วน ระยะเร่งด่วน คือ ขุดลอกคูคลองหนอกบึง คันปิดล้อมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ลงเงินไป 3 หมื่นกว่าล้านบาท และระยะยั่งยืน มีการนำแผนแม่บทมาดำเนินการ ใช้เวลา 5 ปีวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ในวงเงินนี้ 1 หมื่นล้านบาท เป็นเรื่องของอนาคตประเทศตัดออกไป ใน 3.5 แสนล้าน ทำ 2 ระดับ คือ

1.เชิญชวนผู้สนใจที่มีความรู้ทั้งในและต่างประเทศมารับเอกสาร ใช้เวลา 3 เดือน ถ้าแต่ละผู้เชี่ยวชาญมาดูอาจมาวิเคราะห์ในการทำเพิ่ม เสนอเป็นกรอบแนวคิดของแต่ละกลุ่มที่เสนอมาดู จากนั้นซึ่งกระบวนการผ่านมา 6 เดือน เอากรอบที่ดีที่สุดมานั่งทำทีโออาร์

ขณะที่นายอัชพร กล่าวว่ากรณีกลุ่มบุคคลร้องต่อศาลปกครองระงับโครงการบริหารจัดการน้ำว่า รัฐบาลทราบดีอยู่แล้วว่ามีเรื่องอะไรที่ต้องทำรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องบ้าง ซึ่งสิ่งที่เดินหน้ามาแต่ต้นจนถึงวันนี้ หลังจากน้ำเริ่มซาลง รัฐบาลก็มาตั้งคิดว่าทำอย่างไรไม่ให้น้ำท่วมปีถัดไปหรือในปีต่อๆไป ก็ไปเชิญผู้เชี่ยวชาญมา มาถึงที่มาการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำที่มีการพูดกันหรือมีการฟ้องกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะเป็นเพียงแผนที่กำหนดเป็นหัวข้อ และมีหน่วยงานที่รับไปทำในรายละเอียด เป็นเพียงแนวทางภายในของภาครัฐว่าควรจะทำงานอย่างไรต่อไป

จากนั้นรัฐบาลตั้ง กบอ.เป็นตัวทำงานในการบริหารจัดการน้ำทั้งหมด ระยะแรก กบอ.ให้ทุกหน่วยงานเสนอโครงการ ก็มีความซ้ำซ้อน และวงเงินรวมแล้วก็เกิน 3.5 แสนล้านบาท กบอ.ก็เลยต้องรื้อใหม่ ต้องระดมความคิดเห็นของคนไทยและต่างประเทศช่วยกันวางวิธีการนำน้ำออกไปว่าจะทำอย่างไร ตอนเสนอก็มีการแจกจ่ายเอกสารไป คนรับไปเป็นพันก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าจะเดินหน้า แต่ก็ยังไม่ได้ทำอะไร ต่อมาก็ถึงขั้นตอนที่จะเลือกคนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และรับได้ของกลุ่มไหน ทุกกระบวนการเป็นแค่แนวความคิด ยังไม่รู้ทำอะไรที่นี่ ต่อเมื่อรู้แน่นอนถึงต้องไปถามคนที่จะได้รับผลกระทบ เช่น ทำอ่างเก็บน้ำ จะทำตรงไหนถึงจะเอาตรงนี้ไปถามเขาได้ในกระบวนการพิจารณาของคดีปกครอง พอยื่นฟ้องมาและขอคุ้มครองชั่วคราวมาด้วย ศาลจะดูเรื่องคุ้มครองชั่วคราวก่อน เนื้อหายังไม่ไต่สวน ก็ให้สองฝ่ายมาชี้แจงศาลก็บอกว่ายังไม่จำเป็นต้องคุ้มครอง

ขณะเดี่ยวนายธงทอง กล่าวเสริมว่า กระบวนการที่เป็นคดีหลักก็ต้องรับฟ้องไว้ก่อน เพราะยังไม่ได้พูดอะไรกันเลย ทั้งผู้ฟ้องคดีและส่วนราชการ ยังไม่ได้พูดอะไรกันเลย ก็ต้องอธิบายกันในภายหน้า เมื่อวันศุกร์ที่ 3พ.ค.ก็มีการเปิดประมูล พวกที่รับการบ้านไปก็มาส่งการบ้านกัน เอกสารฟังดูเยอะแต่ก็ไม่น่าตกใจจนเป็นลม ที่เยอะเพราะเราขอต้นฉบับบวกสำเนาด้วย เพื่อที่เราจะช่วยกันอ่าน ดูความถูกต้องทางกฎหมาย อะไรต่างๆ ชุดหนึ่งก็มากพอสมควร เราไม่ต้องมาสำเนาเอง ไม่เปลือง ค่าถ่ายเอกสารก็เป็นล้าน แต่เราไม่ได้ทำเอง ให้เขาทำมา เมื่อวานก็รับไว้ที่ห้องที่โรงตีแบตเก่าของทำเนียบเก็บไว้ ไม่ให้นำเก็บไปบ้าน ถ้าจะอ่านก็มีเจ้าหน้าที่ไปเบิกมาที่ห้องอ่าน มีกล้องวงจรปิด คาดว่าไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์จะอ่านแล้วเสร็จ ไปถึงสัปดาห์สุดท้ายของปลายพ.ค. ก็มีข้อรายงานจากคณะอนุกรรมการทางเทคนิคมา คิดว่าสัปดาห์ท้ายของเดือนพ.ค. จะรับรายงานทางเทคนิคมาแล้ว เป็นเงื่อนไขแต่ต้นว่าถ้าได้คะแนนทางเทคนิคเกินกว่าร้อยละ 80 ถือว่าผ่าน จากนั้นก็จะนำคนที่ได้คะแนนสูงสุดมาดู ซองราคาก็จะยังไม่เปิดก่อน เมื่อดูว่าผ่านแล้วก็จะเชิญมา และดูในซองราคาเพื่อต่อรอง

“วันนี้มีคนสงสัยว่าทำไมไม่บอกราคากลาง ก็เพราะยังไม่รู้ว่าเขาจะเสนอทำอะไรบ้าง ต้องดูคนที่เสนอว่าเขาจะทำอะไร ราคาเท่าไหร่ ถ้าผมรู้แล้วว่าเขาจะทำอะไร ก็จะบอกราคากลางได้ เมื่อเจรจาก็จะมีการต่อรองกัน ถ้ารายที่หนึ่งตกลงราคากันไม่ได้ ก็เปิดซองรายที่สอง เขาไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องเพราะเขียนไว้อยู่แล้ว หวังว่าการเจรจาปลายพ.ค.อย่างช้าก็ล้นมาต้นมิ.ย. แต่ยังไม่เซ็นสัญญาเลย ต้องรายงานไปยัง กบอ. และครม. จากนั้นก็มาร่างสัญญา ต้องเอาสิ่งที่ตกลงกันได้แล้วมาแปลงเป็นเอกสารในสัญญา มีกระบวนการทำงาน ผมถึงกราบเรียนตุลาการไปว่ายังไม่มีการเซ็นสัญญาอย่างแน่นอน ไม่มีทางเร็วกว่า 2 เดือน ส่วนในระหว่างนี้ก็จะมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในจังหวะเวลาที่เหมาะสมเพื่อความชัดเจน”


กำลังโหลดความคิดเห็น