เลขาฯ กกต.เผย ที่ประชุม กกต.ยกคำร้อง ค้าน “ไพบูลย์-ประสาร” ขัดคุณสมบัติ ส.ว.สรรหา-ยกคำร้อง รักษ์เชียงใหม่ ยื่นสอบ ส.ส.ประชาธิปัตย์ ยึดเก้าอี้ ปาแฟ้มใส่ “ค้อนปลอม” และยกคำร้องกรณี “อภิสิทธิ์-สุเทพ” คว่ำประชามติแก้ รธน.ชี้ยังไม่มีมติ ครม.ให้ทำ
วันนี้ (3 พ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.แถลงว่า ในการประชุม กกต.สัปดาห์ที่ผ่านมา กกต.มีมติยกคำร้องหลายเรื่อง ประกอบด้วย ยกคำร้องกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ยื่นคำร้องคัดค้าน นายไพบูลย์ นิติตะวัน และนายประสาร มฤคพิทักษ์ ว่าขาดคุณสมบัติในการเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.สรรหา เนื่องจากพ้นจากการดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาไม่ถึง 5 ปี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 115(9) โดยที่ประชุมกกต.ที่มีองค์ประชุม 4 คน ยกเว้นนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากการร่วมเป็นกรรมการสรรหา มีมติเห็นตามที่คณะกรรมการไต่สวนของ กกต.เสนอว่าบุคคลทั้ง 2 ที่ถูกกล่าวไม่ได้ขาดคุณสมบัติตามที่มีการร้อง
นอกจากนี้ กกต.ยังมีมติเห็นชอบตามที่นายทะเบียนเสนอให้ยกคำร้องกรณีกลุ่มรักษ์เชียงใหม่ ขอให้ตรวจสอบการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ที่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ด้วยการขว้างปาสิ่งของ ดึงเก้าอี้ และโฆษณาปลุกระดมมวลชนให้มาชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เพื่อขัดขวางไม่ ส.ส.สามารถเข้าไปประชุมสภาได้ ว่าเข้าข่ายขัด พ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 94(3) ที่เป็นเหตุให้ต้องยุบพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ เนื่องจากนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นชอบตามที่คณะกรรมการไต่สวนเสนอให้ยกคำร้อง เนื่องจากยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นเป็นใจให้มวลชนออกมาชุมนุมหรือขัดขวางไม่ให้ ส.ส.เข้าไปประชุมในสภา
รวมถึงยังเห็นชอบตามที่นายทะเบียนเสนอให้ยกคำร้องกรณี นายหนึ่งดิน วิมุตตินันท์ และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.ขอให้ตรวจสอบการกระทำของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยเชิญชวนประชาชนร่วมกันคว่ำประชามติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ทำจดหมายเปิดผนึกผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เชิญชวนประชาชนร่วมกันคว่ำประชามติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงการกล่าวหาใส่ร้ายพรรคเพื่อไทยว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 เพื่อลบล้างความผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเข้าข่ายเป็นการกลั่นแกล้งพรรคเพื่อไทย โดยปราศจากความจริง และมีโทษถึงยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 94 หรือไม่ โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นชอบตามที่คณะกรรมการไต่สวนเสนอให้ยกคำร้องเนื่องจากเห็นว่า การกระทำของนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ นั้นกระทำขณะที่คณะรัฐมนตรียังไม่มีมติประกาศให้มีการออกเสียงประชามติ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด จึงถือว่าการทำดังกล่าวไม่เป็นความผิด ส่วนที่นายอภิสิทธิ์ กล่าวหาว่า พรรคเพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 เพื่อล้างผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น ก็ยังถือไม่เป็นความผิดตามมาตรา 43(3) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 เป็นผลให้ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า สมควรยุบพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่
วันนี้ (3 พ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.แถลงว่า ในการประชุม กกต.สัปดาห์ที่ผ่านมา กกต.มีมติยกคำร้องหลายเรื่อง ประกอบด้วย ยกคำร้องกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ยื่นคำร้องคัดค้าน นายไพบูลย์ นิติตะวัน และนายประสาร มฤคพิทักษ์ ว่าขาดคุณสมบัติในการเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.สรรหา เนื่องจากพ้นจากการดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาไม่ถึง 5 ปี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 115(9) โดยที่ประชุมกกต.ที่มีองค์ประชุม 4 คน ยกเว้นนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากการร่วมเป็นกรรมการสรรหา มีมติเห็นตามที่คณะกรรมการไต่สวนของ กกต.เสนอว่าบุคคลทั้ง 2 ที่ถูกกล่าวไม่ได้ขาดคุณสมบัติตามที่มีการร้อง
นอกจากนี้ กกต.ยังมีมติเห็นชอบตามที่นายทะเบียนเสนอให้ยกคำร้องกรณีกลุ่มรักษ์เชียงใหม่ ขอให้ตรวจสอบการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ที่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ด้วยการขว้างปาสิ่งของ ดึงเก้าอี้ และโฆษณาปลุกระดมมวลชนให้มาชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เพื่อขัดขวางไม่ ส.ส.สามารถเข้าไปประชุมสภาได้ ว่าเข้าข่ายขัด พ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 94(3) ที่เป็นเหตุให้ต้องยุบพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ เนื่องจากนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นชอบตามที่คณะกรรมการไต่สวนเสนอให้ยกคำร้อง เนื่องจากยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นเป็นใจให้มวลชนออกมาชุมนุมหรือขัดขวางไม่ให้ ส.ส.เข้าไปประชุมในสภา
รวมถึงยังเห็นชอบตามที่นายทะเบียนเสนอให้ยกคำร้องกรณี นายหนึ่งดิน วิมุตตินันท์ และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.ขอให้ตรวจสอบการกระทำของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยเชิญชวนประชาชนร่วมกันคว่ำประชามติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ทำจดหมายเปิดผนึกผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เชิญชวนประชาชนร่วมกันคว่ำประชามติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงการกล่าวหาใส่ร้ายพรรคเพื่อไทยว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 เพื่อลบล้างความผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเข้าข่ายเป็นการกลั่นแกล้งพรรคเพื่อไทย โดยปราศจากความจริง และมีโทษถึงยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 94 หรือไม่ โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นชอบตามที่คณะกรรมการไต่สวนเสนอให้ยกคำร้องเนื่องจากเห็นว่า การกระทำของนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ นั้นกระทำขณะที่คณะรัฐมนตรียังไม่มีมติประกาศให้มีการออกเสียงประชามติ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด จึงถือว่าการทำดังกล่าวไม่เป็นความผิด ส่วนที่นายอภิสิทธิ์ กล่าวหาว่า พรรคเพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 เพื่อล้างผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น ก็ยังถือไม่เป็นความผิดตามมาตรา 43(3) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 เป็นผลให้ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า สมควรยุบพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่