xs
xsm
sm
md
lg

พื้นที่ 4.6 ตร.กม. แถลงการณ์ไทย-กัมพูชา 2551 ชนวนศึกปราสาทพระวิหาร 2556

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วีรชัย พลาศรัย
ระหว่างการแถลงด้วยวาจาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในคดีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505 ของตัวแทนฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา กรณีการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา โดยพ่วงเอาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรของไทยเข้าไปด้วย ถูกพูดถึงบ่อยครั้งจากตัวแทนฝ่ายไทยว่าเป็นมูลเหตุจูงใจที่ทำให้กัมพูชานำคดีขึ้นสู่ศาลโลก เพราะต้องการเอาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนี้ไปเป็นของตน

ทั้งๆ ที่ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ศาลโลกมีคำพิพกาษาเมื่อปี 2505 ให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา กัมพูชาก็ยอมรับมาโดยตลอด ไม่มีปัญหาต้องตีความว่าพื้นที่บริเวณใกล้เคียงปราสาทคือตรงไหน เพิ่งจะมาเปลียนท่าทีไม่ยอมรับเมื่อต้องการนำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียวในปี 2551 โดยเอาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรของไทยไปด้ว ย แต่ไม่สำเร็จ เพราะประชาชนไทยนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชิปไตยคัดค้าน และรัฐบาลไทยยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็คัดค้านในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในปี 2553 จนทำให้แผนการของกัมพูชาค้างเติ่งมาจนถึงปัจจุบัน

นายวีชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตประจำกรุงเฮก ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทยในการสู้คดี กล่าวถึงเรืองนี้ว่า

เป็นเวลา 50 ปี จนถึงก่อนหน้าปี 2000 กัมพูชาไม่เคยประท้วง ต้นปี 2000 กัมพูชาเริ่มรุกเข้ามาในแผ่นดินไทย ทำให้เกิดปัญหาด้านเสถียรภาพ จุดประสงค์ที่แท้จริงของกัมพูชาในการรุกรานไทย ก็คือ การต้องการดินแดนเพื่อนำไปใช้ขึ้นทะเบียนโครงการมรดกโลก

อลินา มิรอง ทนายหญิงชาวโรมาเนีย ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมทนายฝ่ายไทย พิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า แผนที่ที่กัมพูชายื่นต่อศาลโลกครั้งนี้ที่อ้างว่าเป็น annex 1 ในคำพิพากษาศาลโลกปี 2505 เป็นของปลอม เป็นแผนที่ที่กัมพูชาทำขึ้นเอง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร รอบๆปราสาทพระวิหาร

เอกสารของกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นการสรุปสาระสำคัญของคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรของฝ่ายไทยและกัมพูชา ในข้อที่ 2 เรื่องข้อสังเกตเป็นลายลักษณ์ อักษรของไทย ข้อ 2.1.4 ระบุว่า

การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ( เอ็มโอยู) ปี 2543 ซึ่งไม่มีการอ้างถึงคำพิพากษาปี 2505 จึงเป็นการบ่งชี้ที่ชัดเจนว่า คำพิพากษาไม่มีความเกี่ยวข้องกับการกำหนดเขตแดน แต่ต่อมากัมพูชาได้ละทิ้งท่าทีดังกล่าว รวมทั้งท่าทีที่กัมพูชายึดถือมาตั้งแต่ปี 2505 ว่า ไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาปี 2505 แล้ว เนื่องจากกัมพูชาต้องการพื้นที่เพิ่มเติมสำหรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวของกัมพูชา

นี่ขนาดเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทย มีรัฐมนตรีต่างประเทศที่เป็นขี้ข้าทักษิณแต่ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ไม่อาจหลีกเลี่ยงปกปิดข้อเท็จจริงที่ว่า แรงจูงใจของกัมพุชาในการลากไทยขึ้นสู่ศาลโลกรอบนี้ คือ ต้องการพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรของไทยนั่นเอง

เรื่องพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวของกัมพูชานี้ เป็นหนามยอกอก เป็นแค้นฝังใจของฮุนเซนที่มีต่อคนไทย เพราะอ้อยเข้าปากช้างไปแล้วแต่ต้องคายออกมาอย่างน่าเสียดาย

คงจำกันได้ว่า รัฐบาลพรรคพลังประชาชนที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี มีนายนพดล ปัทมะ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ได้ยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารฝ่ายเดียว โดยยกพื้นที่รอบๆ 4.6 ตารางกิโลเมตรให้ไปด้วย ตามแถลงการณ์ไทย-กัมพูชาที่ลงนามโดยนายนพดล กับนายซกอาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551

กัมพูชาได้อ้างแถลงการณ์ฉบับนี้ว่าไทยไม่คัดค้าน จนได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารฝ่ายเดียวได้

ทั้งๆ ที่ ต้นปี 2551 สภากลาโหมมีมติคัดค้านการขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียว เพราะทำให้ไทยเสียดินแดน แต่รัฐบาลหุ่นเชิดของทักษิณในขณะนั้นก็ไม่ฟัง และหลังจากนายนพดลลงนามในแถลงการณ์แล้ว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ชุมชุนมคักดค้านเรียกร้องให้นายนพดลลาออก พร้อมทั้งยื่นเรื่องให้ศาลปกครองวินิจฉัยว่า แถลงการณ์นี้ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ ซึ่งศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้ระงับแถลงการณ์นี้ไว้ก่อน

ในขณะที่กลุ่มสมาชิกวุฒิสภา 77 คน ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งในวันที่ 8 ก.ค.2551 วันเดียวกับที่คณะกรรมการมรดกโลกให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลงมติด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 1 ว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 190 วรรคสอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แถลงการณ์นี้จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ เป็นโมฆะ และต่อมานายนพดลต้องลาออกจากตำแหน่ง

ฝ่ายกัมพูชา เมื่อไม่ได้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่นายนพดลยกให้ ก็หันไปใช้วิธีสร้างสถานการณ์ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหาร มีการยิงจรวดเข้าใส่หมู่บ้านไทยหลายครั้ง ในช่วงต้นปี 2554 สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นเหตุให้คนไทยเสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เพราะฮุนเซนต้องการสร้างสถานการณ์ เพื่อนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลก ซึ่งต่อมากัมพูชาก็ยื่นเรื่องให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 2505 ใหม่

การต่อสู้คดีในศาลโลกระหว่างไทยกับกัมพูชา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงมี ต้นเรื่องมาจากการที่นายนพดล ไปยกแผ่นดินไทย 4.6 ตร.กม.ให้กัมพูชาเมื่อปี 2551 นั่นเอง แต่ไม่สำเร็จ เพราะคนไทยไม่ยอม ฮุนเซนจึงต้องใช้ศาลโลกเป็นช่องทางในการที่จะเอาพื้นที่ 4.6 ตร. กม. ของไทยไปครอบครอง


นพดล ปัทมะ
กำลังโหลดความคิดเห็น