xs
xsm
sm
md
lg

“ปู” เรียกถกค่าบาทแข็ง ธปท.รับขึ้นเร็วผิดปกติ สั่งเช็กเข้มนักลงทุนต่างชาติ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“นายกฯ ยิ่งลักษณ์” เรียกหน่วยงานด้านเศรษฐกิจถกค่าบาทแข็ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติรับ ค่าบาทแข็งเร็วผิดปกติ สั่งสถาบันการเงินแจ้งชื่อนักลงทุนมาตรวจสอบด่วนหากผิดปกติพร้อมออกมาตรการควบคุม ขณะเดียวกันเล็งหาทางช่วยเอสเอ็มอีส่งออกที่ได้รับผลกระทบ ด้านปลัดคลังส่งสัญญาณหน่วยงานรัฐลดกู้เงินต่างประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (10 เม.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกผู้เกี่ยวข้องหารือติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยมีการหารือถึงเรื่องสถานการณ์ค่าเงินบาท หลังจากที่ในวันที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าที่สุดในรอบ 16 ปี ขึ้นไปแตะที่ระดับ 28.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ มีกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมทั้งนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านนโยบายเศรษฐกิจ เข้าร่วมหารือ

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าวภายหลังการหารือว่า นายกฯ ได้สอบถามถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทว่าในช่วงระยะที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมีความผิดปกติหรือไม่ และจำเป็นที่จะต้องมีการออกมาตรการในการดูแลค่าเงินบาทเป็นพิเศษหรือไม่ รวมทั้งได้สอบถามด้วยว่าถ้าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นเร็วจนเกินไปจะส่งผลกระทบต่อภาคส่วนใดบ้าง และรัฐบาลจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษหรือไม่อย่างไร

ทั้งนี้ ตนได้รายงานให้นายกฯ ทราบว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมามีการแข็งค่าขึ้นเร็วเกินไป ซึ่งขณะนี้ ธปท.ได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ทำหนังสือไปถึงสถาบันการเงินที่ดูแลหลักทรัพย์การลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ เพื่อขอทราบรายชื่อของผู้ลงทุนว่าเป็นใครบ้างซึ่งจะช่วยให้ ธปท.สามารถติดตามดูความเคลื่อนไหวในส่วนที่มีความจำเป็น และพิจารณาความจำเป็นว่าจะต้องมีการออกมาตรการที่เหมาะสมต่อไปหรือไม่

ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวว่า สำหรับเรื่องของปริมาณเงินทุนไหลเข้า ธปท.จะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดว่าเป็นเงินทุนประเภทใด และมีการซื้อขายในลักษณะอย่างไร รวมทั้งจะต้องติดตามดูว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีความผิดปกติหรือไม่ก่อนที่จะพิจารณาออกมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้นายกฯได้กำชับให้ ธปท.ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ กรณีที่มีการแข็งค่าของเงินบาทในอัตราที่รวดเร็ว จะมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจะนำเข้าสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง ส่วนผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อย (เอสเอ็มอี) ซึ่งก็ได้มีการขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการในการบริหารความเสี่ยงด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งให้คำแนะนำ และให้วงเงินสินเชื่อในการบริหารความเสี่ยง

“นายกฯ ได้แสดงความเป็นห่วงผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ในอุตสาหกรรมที่อาจได้รับผลกระทบซึ่งก็จะมีการพิจารณามาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสมหากมีความจำเป็น”

ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลัง และธปท.จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อติดตามสถานการณ์เงินทุนไหลเข้า สำหรับการดำเนินมาตรการทางการคลังที่เหมาะสมในสถานการณ์เช่นนี้ ได้มีการชี้แจงกับหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจที่จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อดำเนินโครงการที่รับผิดชอบต้องไม่กู้จากเงินต่างประเทศ ส่วนหน่วยงานใดที่มีเงินกู้ต่างประเทศก็ให้ลดจำนวนลงไป ขณะเดียวกัน ยังได้เร่งรัดหน่วยงานต่างๆ เบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว ทั้งนี้จากข้อมูลที่มีอยู่ในปี 2556 พบว่าหน่วยงานทั้งหมดมีสัดส่วนการจ่ายค่าสินค้าที่เป็นเงินตราระหว่างประเทศอยู่ประมาณ 1 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ ด้านการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะการเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ล่าสุดได้หารือกับ ธปท.ถึงการผ่อนคลายเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้นักลงทุนมีความสะดวกมากขึ้น ส่วนเงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาในไทย ส่วนใหญ่จะไหลเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งถือเป็นการเข้ามาลงทุนในระยะยาว จึงไม่น่ามีความกังวล และต่อไปการออกพันธบัตรรัฐบาลจะวางเงื่อนไขให้ประชาชนรายย่อยสามารถเข้ามาซื้อได้ เหมือนกับนักลงทุนรายใหญ่ที่มักเข้ามาลงทุน

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะใช้มาตรการดอกเบี้ยในการสกัดเงินทุนไหลเข้า มีมาตรการอื่นๆ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเลือกใช้เพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้าได้หรือไม่ นายอารีพงศ์กล่าวว่า มีมาตรการอื่นๆ ที่สามารถใช้ในการสกัดเงินทุนไหลเข้าและเคยใช้มาแล้วในอดีต อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการรูปแบบดังกล่าวอาจเป็นการส่งสัญญาณว่าสถานการณ์ไม่ปกติ จนทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นในการ








กำลังโหลดความคิดเห็น