สะเก็ดไฟ
ถนนไปสู่การปรองดอง ด้วยการจะให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองหลัง 19 กันยายน 2549 ควบขนานไปสองสายถูกจับตามองกันว่า ถนนเส้นไหนจะแล่นฉลุยกว่ากัน
ระหว่างเลนแรก ที่เจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย เชิญตัวแทนจากพรรคการเมือง-กลุ่มการเมืองหลายกลุ่มรวมแล้วเกือบๆ 10 กลุ่ม เช่น ตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย-นปช.-พรรคการเมืองต่างๆ อาทิ พรรคเพื่อไทย-พรรคประชาธิปัตย์-พรรคภูมิใจไทย-กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การชุมนุมคนเสื้อแดงอย่างนางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภริยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม เข้าร่วมการหารือการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ที่รัฐสภา ที่นัดหารือกันรอบแรกในวันนี้ (11 มีนาคม)
เลนที่สอง คือ การประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย ในวันเดียวกัน ที่มีข่าวว่าเรื่องหนึ่งที่จะมีการหารือกันก็คือเรื่องท่าทีของพรรคเพื่อไทยต่อเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรม
หลังจากกลุ่ม 42 ส.ส.เพื่อไทย ได้ร่วมกันลงชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ.... ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2556
เหตุที่ทั้งสองเรื่อง หลายคนไม่แน่ใจว่าเรื่องไหนจะสัมฤทธิ์ผลก่อนกัน ก็เพราะมองดูแล้ว แม้ถนนทั้งสองเส้นดูจะโล่ง แต่เส้นทางที่จะวิ่งไปถึงเป้าหมายนั้นขรุขระเสียเหลือ
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะผู้รับหน้าที่โชเฟอร์อย่างเจริญ จรรย์โกมล และกลุ่ม ส.ส.เพื่อไทย ที่ร่วมกันยื่นร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เคลื่อนไหวดำเนินการแบบสังคมมีความเคลือบแคลงในพฤติการณ์ผนวกกับช่วงจังหวะเวลาเห็นได้ชัดว่าสถานการณ์ยังไม่สุกงอมพอที่จะทำเรื่องนี้
ด้วยเหตุนี้ การจะได้รับความร่วมมือจากบางฝ่ายจึงเชื่อว่าเกิดขึ้นได้ยาก
เห็นได้จากการนัดหมายของนายเจริญ พบว่าหลายคนปฏิเสธคำเชิญไปแล้ว เช่น นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ที่ร่อนเอกสารปฏิเสธการร่วมหารือดังกล่าวทันที หลังได้รับหนังสือเชิญในวันเดียวกัน โดยให้เหตุผลว่าพร้อมสนับสนุนการเปิดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยบรรยากาศการปรองดองที่เอื้ออำนวยมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และเป็นกระบวนการที่อาจต้องใช้เวลาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างยั่งยืน
ส่วนเรื่องการนิรโทษกรรม นางนิชาระบุว่า ขอสนับสนุนแนวทางตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ที่เคยเสนอไว้ว่ารัฐไม่ควรเร่งรัดให้เกิดการนิรโทษกรรม แต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมทั้งในแง่ของเวลาสถานการณ์
การที่นางนิชาปฏิเสธไม่ขอเข้าร่วมหารือดังกล่าว จะพบว่าเป็นท่าทีอันปลอดจากเรื่องการเมืองอย่างแท้จริง และแตกต่างจากท่าทีของฝ่ายการเมืองอื่นๆ อย่างเช่น พรรคประชาธิปัตย์ ที่ก็ประกาศไม่ส่งตัวแทนไปร่วมหารือด้วย
แต่ท่าทีของประชาธิปัตย์นั้น เป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ ของประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยและคนเสื้อแดง
ขณะที่ฝ่ายพันธมิตรฯ นั้น มวลชนพันธมิตรฯ ทั้งหลายก็ขอให้สบายใจได้ ไม่มีวันอยู่แล้วที่พันธมิตรฯ จะไปจับมือหรือจูบปากกับพวกนักการเมืองที่คิดจะใช้เวทีการพูดคุยกันดังกล่าวไปเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้กับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมกับพวกเผาบ้านเผาเมือง
โดยเฉพาะพวกแกนนำหรือนักการเมืองที่คิดจะฉวยโอกาสนี้เอากฎหมายล้างผิดให้กับตัวเองโดยพ่วงให้เนื้อหากฎหมายครอบคลุมมาถึงแกนนำหรือนักการเมืองที่อยู่เบื้องหลังและสั่งการให้มีการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรงได้ประโยชน์ รอดพ้นจากการพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรมได้
เพียงแต่การที่พันธมิตรฯ จะส่งตัวแทนคือปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ ไปร่วมหารือด้วยนั้นก็จะในโอกาสนี้ไปย้ำจุดยืนของพันธมิตรฯ ดังคำยืนยันจาก “ปานเทพ” ที่ให้สัมภาษณ์ล่าสุดเมื่อ 8 มี.ค.นี้ว่า การจะไปร่วมคุยกันครั้งนี้ทางพันธมิตรฯ จะไปเพื่อบอกจุดยืนของกลุ่มพันธมิตรฯในเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมเช่น ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมให้กับผู้ทำผิดคดีอาญาที่เป็นคดีอุจฉกรรจ์อย่างคดีเผาสถานที่ราชการหรือการนิรโทษกรรมให้กับแกนนำหรือผู้สั่งการ
และที่ไปร่วมหารือด้วยก็เพื่อไม่ให้กลุ่มพันธมิตรฯ ถูกนำไปเป็นเงื่อนไขว่าไม่ให้ความร่วมมือในการร่วมกันหาหนทางสร้างความปรองดองให้กับประเทศ และหากการพูดคุยพบว่าเป็นไปเพื่อนำไปเป็นข้ออ้างในการออกกฎหมายนิรโทษกรรมโดยไม่ถูกต้อง ขัดกับจุดยืนของพันธมิตรฯ ล่าสุดเมื่อวานนี้ทางตัวแทนพันธมิตรฯก็ประกาศแล้วว่าจะไม่ร่วมหารือไปแล้ว
เมื่อดูจากปัจจัยข้างต้นก็จะเห็นได้ว่า แม้จุดริเริ่มของการพยายามจะนัดแต่ละฝ่ายมาหารือเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมของ “ตี๋เล็ก-เจริญ จรรย์โกมล” อาจมีความตั้งใจดี แต่เมื่อกระบวนการหลายอย่างมีข้อน่าสงสัยให้ถูกตั้งคำถาม
ก็ทำให้มีแนวโน้มว่าคงยากจะได้ข้อยุติบนโต๊ะการพูดคุยดังกล่าว เว้นแต่พวกนักการเมืองบางกลุ่มที่จะไปร่วมพูดคุยจะใช้วิธีการรวบรัดตัดตอนแล้วอ้างผลการหารือมาเป็นข้อสรุป ถ้าแบบนี้จะยิ่งทำให้ความชอบธรรมในการออกกฎหมายนิรโทษกรรมยิ่งมีปัญหามากขึ้นไปอีกแน่นอน โอกาสจะโดนแรงต่อต้านจะยิ่งสูงมากขึ้นไปอีก
ขณะเดียวกันก็ต้องจับตาการประชุม ส.ส.เพื่อไทยในวันที่ 11 มี.ค.นี้ ว่าเพื่อไทยจะเอาอย่างไร หลังมีความพยายามของ ส.ส.เพื่อไทยบางคนเสนอว่า สภาฯ ควรรีบพิจารณาออกกฎหมายนิรโทษกรรมดังกล่าวของ 42 ส.ส.เพื่อไทยให้ทันภายในการประชุมสภาฯ สมัยนี้ ถึงขั้นจะเสนอให้วิปรัฐบาลมีมติให้มีการลัดคิวเอากฎหมายนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อนกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่ค้างอยู่ก่อนหน้านี้ ที่คาดว่าจะมีพวก ส.ส.เพื่อไทยที่อยู่ใน 42 ส.ส.ที่ร่วมกันลงชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุม ส.ส.เพื่อไทย 11 มี.ค.นี้
หากพรรคเพื่อไทยหรือวิปรัฐบาลเอาด้วย โดยที่คนในสังคมยังคงมีความเห็นหลากหลายและแตกต่างกันมากในเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุมทางการเมือง ก็คงทำให้กลายเป็นเรื่องร้อนการเมืองในช่วงก่อนปิดสภาฯแน่นอน
กระนั้นพบว่า คนในพรรคเพื่อไทยหลายส่วนวิเคราะห์กันว่าแกนนำพรรคเพื่อไทยคงจะไม่ผลีผลามเรื่องนี้ถึงขั้นสั่งให้ใช้เสียงข้างมากในสภาฯ เร่งดันกฎหมายนิรโทษกรรมดังกล่าว เพราะหากทำในจังหวะที่ยังไม่พร้อมอาจส่งผลต่อเสถียรภาพรัฐบาลได้
คงรอให้ทางสะดวกกว่านี้ก่อนค่อยมาว่ากันอีกที แต่ก็อาจไม่ถึงกับปิดประตูเรื่องความเป็นไปได้ในการทำให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านสภาฯวาระแรกในสมัยประชุมนี้หากว่าทุกอย่างพร้อม เนื่องจากเหลือเวลาอีกเป็นเดือนกว่าสภาฯจะปิด
การเดินหน้าเรื่อง นิรโทษกรรมที่พวก ส.ส.เพื่อไทย-แกนนำ นปช. และเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ กำลังทำกันอยู่ตอนนี้ จะเสร็จทันก่อนสภาฯ ปิดหรือไม่ คงต้องรอดูก่อนว่าการนัดหารือที่เจริญรับเป็นเจ้าภาพจะมีอะไรคืบหน้าหรือไม่ รวมถึงผลการประชุม ส.ส.เพื่อไทยในวันเดียวกันนี้
หากทั้งสองจุดดังกล่าวไม่มีอะไรออกมาเป็นรูปธรรม ก็น่าเชื่อว่าเรื่องนี้คงไม่น่าจะเห็นผลในช่วงเปิดสภาฯ รอบนี้แน่นอน
ถนนไปสู่การปรองดอง ด้วยการจะให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองหลัง 19 กันยายน 2549 ควบขนานไปสองสายถูกจับตามองกันว่า ถนนเส้นไหนจะแล่นฉลุยกว่ากัน
ระหว่างเลนแรก ที่เจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย เชิญตัวแทนจากพรรคการเมือง-กลุ่มการเมืองหลายกลุ่มรวมแล้วเกือบๆ 10 กลุ่ม เช่น ตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย-นปช.-พรรคการเมืองต่างๆ อาทิ พรรคเพื่อไทย-พรรคประชาธิปัตย์-พรรคภูมิใจไทย-กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การชุมนุมคนเสื้อแดงอย่างนางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภริยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม เข้าร่วมการหารือการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ที่รัฐสภา ที่นัดหารือกันรอบแรกในวันนี้ (11 มีนาคม)
เลนที่สอง คือ การประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย ในวันเดียวกัน ที่มีข่าวว่าเรื่องหนึ่งที่จะมีการหารือกันก็คือเรื่องท่าทีของพรรคเพื่อไทยต่อเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรม
หลังจากกลุ่ม 42 ส.ส.เพื่อไทย ได้ร่วมกันลงชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ.... ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2556
เหตุที่ทั้งสองเรื่อง หลายคนไม่แน่ใจว่าเรื่องไหนจะสัมฤทธิ์ผลก่อนกัน ก็เพราะมองดูแล้ว แม้ถนนทั้งสองเส้นดูจะโล่ง แต่เส้นทางที่จะวิ่งไปถึงเป้าหมายนั้นขรุขระเสียเหลือ
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะผู้รับหน้าที่โชเฟอร์อย่างเจริญ จรรย์โกมล และกลุ่ม ส.ส.เพื่อไทย ที่ร่วมกันยื่นร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เคลื่อนไหวดำเนินการแบบสังคมมีความเคลือบแคลงในพฤติการณ์ผนวกกับช่วงจังหวะเวลาเห็นได้ชัดว่าสถานการณ์ยังไม่สุกงอมพอที่จะทำเรื่องนี้
ด้วยเหตุนี้ การจะได้รับความร่วมมือจากบางฝ่ายจึงเชื่อว่าเกิดขึ้นได้ยาก
เห็นได้จากการนัดหมายของนายเจริญ พบว่าหลายคนปฏิเสธคำเชิญไปแล้ว เช่น นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ที่ร่อนเอกสารปฏิเสธการร่วมหารือดังกล่าวทันที หลังได้รับหนังสือเชิญในวันเดียวกัน โดยให้เหตุผลว่าพร้อมสนับสนุนการเปิดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยบรรยากาศการปรองดองที่เอื้ออำนวยมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และเป็นกระบวนการที่อาจต้องใช้เวลาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างยั่งยืน
ส่วนเรื่องการนิรโทษกรรม นางนิชาระบุว่า ขอสนับสนุนแนวทางตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ที่เคยเสนอไว้ว่ารัฐไม่ควรเร่งรัดให้เกิดการนิรโทษกรรม แต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมทั้งในแง่ของเวลาสถานการณ์
การที่นางนิชาปฏิเสธไม่ขอเข้าร่วมหารือดังกล่าว จะพบว่าเป็นท่าทีอันปลอดจากเรื่องการเมืองอย่างแท้จริง และแตกต่างจากท่าทีของฝ่ายการเมืองอื่นๆ อย่างเช่น พรรคประชาธิปัตย์ ที่ก็ประกาศไม่ส่งตัวแทนไปร่วมหารือด้วย
แต่ท่าทีของประชาธิปัตย์นั้น เป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ ของประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยและคนเสื้อแดง
ขณะที่ฝ่ายพันธมิตรฯ นั้น มวลชนพันธมิตรฯ ทั้งหลายก็ขอให้สบายใจได้ ไม่มีวันอยู่แล้วที่พันธมิตรฯ จะไปจับมือหรือจูบปากกับพวกนักการเมืองที่คิดจะใช้เวทีการพูดคุยกันดังกล่าวไปเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้กับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมกับพวกเผาบ้านเผาเมือง
โดยเฉพาะพวกแกนนำหรือนักการเมืองที่คิดจะฉวยโอกาสนี้เอากฎหมายล้างผิดให้กับตัวเองโดยพ่วงให้เนื้อหากฎหมายครอบคลุมมาถึงแกนนำหรือนักการเมืองที่อยู่เบื้องหลังและสั่งการให้มีการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรงได้ประโยชน์ รอดพ้นจากการพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรมได้
เพียงแต่การที่พันธมิตรฯ จะส่งตัวแทนคือปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ ไปร่วมหารือด้วยนั้นก็จะในโอกาสนี้ไปย้ำจุดยืนของพันธมิตรฯ ดังคำยืนยันจาก “ปานเทพ” ที่ให้สัมภาษณ์ล่าสุดเมื่อ 8 มี.ค.นี้ว่า การจะไปร่วมคุยกันครั้งนี้ทางพันธมิตรฯ จะไปเพื่อบอกจุดยืนของกลุ่มพันธมิตรฯในเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมเช่น ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมให้กับผู้ทำผิดคดีอาญาที่เป็นคดีอุจฉกรรจ์อย่างคดีเผาสถานที่ราชการหรือการนิรโทษกรรมให้กับแกนนำหรือผู้สั่งการ
และที่ไปร่วมหารือด้วยก็เพื่อไม่ให้กลุ่มพันธมิตรฯ ถูกนำไปเป็นเงื่อนไขว่าไม่ให้ความร่วมมือในการร่วมกันหาหนทางสร้างความปรองดองให้กับประเทศ และหากการพูดคุยพบว่าเป็นไปเพื่อนำไปเป็นข้ออ้างในการออกกฎหมายนิรโทษกรรมโดยไม่ถูกต้อง ขัดกับจุดยืนของพันธมิตรฯ ล่าสุดเมื่อวานนี้ทางตัวแทนพันธมิตรฯก็ประกาศแล้วว่าจะไม่ร่วมหารือไปแล้ว
เมื่อดูจากปัจจัยข้างต้นก็จะเห็นได้ว่า แม้จุดริเริ่มของการพยายามจะนัดแต่ละฝ่ายมาหารือเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมของ “ตี๋เล็ก-เจริญ จรรย์โกมล” อาจมีความตั้งใจดี แต่เมื่อกระบวนการหลายอย่างมีข้อน่าสงสัยให้ถูกตั้งคำถาม
ก็ทำให้มีแนวโน้มว่าคงยากจะได้ข้อยุติบนโต๊ะการพูดคุยดังกล่าว เว้นแต่พวกนักการเมืองบางกลุ่มที่จะไปร่วมพูดคุยจะใช้วิธีการรวบรัดตัดตอนแล้วอ้างผลการหารือมาเป็นข้อสรุป ถ้าแบบนี้จะยิ่งทำให้ความชอบธรรมในการออกกฎหมายนิรโทษกรรมยิ่งมีปัญหามากขึ้นไปอีกแน่นอน โอกาสจะโดนแรงต่อต้านจะยิ่งสูงมากขึ้นไปอีก
ขณะเดียวกันก็ต้องจับตาการประชุม ส.ส.เพื่อไทยในวันที่ 11 มี.ค.นี้ ว่าเพื่อไทยจะเอาอย่างไร หลังมีความพยายามของ ส.ส.เพื่อไทยบางคนเสนอว่า สภาฯ ควรรีบพิจารณาออกกฎหมายนิรโทษกรรมดังกล่าวของ 42 ส.ส.เพื่อไทยให้ทันภายในการประชุมสภาฯ สมัยนี้ ถึงขั้นจะเสนอให้วิปรัฐบาลมีมติให้มีการลัดคิวเอากฎหมายนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อนกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่ค้างอยู่ก่อนหน้านี้ ที่คาดว่าจะมีพวก ส.ส.เพื่อไทยที่อยู่ใน 42 ส.ส.ที่ร่วมกันลงชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุม ส.ส.เพื่อไทย 11 มี.ค.นี้
หากพรรคเพื่อไทยหรือวิปรัฐบาลเอาด้วย โดยที่คนในสังคมยังคงมีความเห็นหลากหลายและแตกต่างกันมากในเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุมทางการเมือง ก็คงทำให้กลายเป็นเรื่องร้อนการเมืองในช่วงก่อนปิดสภาฯแน่นอน
กระนั้นพบว่า คนในพรรคเพื่อไทยหลายส่วนวิเคราะห์กันว่าแกนนำพรรคเพื่อไทยคงจะไม่ผลีผลามเรื่องนี้ถึงขั้นสั่งให้ใช้เสียงข้างมากในสภาฯ เร่งดันกฎหมายนิรโทษกรรมดังกล่าว เพราะหากทำในจังหวะที่ยังไม่พร้อมอาจส่งผลต่อเสถียรภาพรัฐบาลได้
คงรอให้ทางสะดวกกว่านี้ก่อนค่อยมาว่ากันอีกที แต่ก็อาจไม่ถึงกับปิดประตูเรื่องความเป็นไปได้ในการทำให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านสภาฯวาระแรกในสมัยประชุมนี้หากว่าทุกอย่างพร้อม เนื่องจากเหลือเวลาอีกเป็นเดือนกว่าสภาฯจะปิด
การเดินหน้าเรื่อง นิรโทษกรรมที่พวก ส.ส.เพื่อไทย-แกนนำ นปช. และเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ กำลังทำกันอยู่ตอนนี้ จะเสร็จทันก่อนสภาฯ ปิดหรือไม่ คงต้องรอดูก่อนว่าการนัดหารือที่เจริญรับเป็นเจ้าภาพจะมีอะไรคืบหน้าหรือไม่ รวมถึงผลการประชุม ส.ส.เพื่อไทยในวันเดียวกันนี้
หากทั้งสองจุดดังกล่าวไม่มีอะไรออกมาเป็นรูปธรรม ก็น่าเชื่อว่าเรื่องนี้คงไม่น่าจะเห็นผลในช่วงเปิดสภาฯ รอบนี้แน่นอน