เครือข่ายวิทยุชุมชนฯ ร้อง “สมศักดิ์” เดินหน้าลงมติวาระ 3 ไม่ฟังศาล อ้างไร้อำนาจ ชี้คำวินิจฉัยข่มขู่ฝ่ายนิติบัญญัติ พร้อมถอดถอนตุลาการ
วันนี้ (16 ก.ค.) ที่รัฐสภา เครือข่ายวิทยุชุมชนปกป้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรม นำโดยนายพลท เฉลิมแสน ในฐานะเลขาธิการเครือข่าย เข้ายื่นแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ต่อเจ้าหน้าที่รัฐสภา ผ่านไปยังนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องให้เร่งดำเนินการลงมติรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 ให้เร็วที่สุดเพื่อยุติการสร้างมาตรฐานใหม่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย
นายพลทกล่าวว่า เครือข่ายวิทยุชุมชนฯ ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรณีวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องได้ด้วยตนเองและเปรียบเสมือนใช้อำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ อีกทั้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีข้อแนะนำว่าให้ทำประชามติก่อนหากจะมีการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยไม่ยอมชี้ชัดว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ รวมไปถึงการระบุว่าหากจะลงมติในวาระที่ 3 นั้นสามารถทำได้แต่ประธานรัฐสภาต้องรับผิดชอบนั้น ถือเป็นการวินิจฉัยใช้เทคนิคทางกฎหมายข่มขู่ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นการละเมิดหลักกฎหมายมหาชน ดังนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประมุขนิติบัญญัติจึงต้องยืนยันในหลักการที่ถูกต้องชอบธรรม ด้วยการเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติรับร่างในวาระที่ 3 ทันที
นอกจากนี้ เครือข่ายฯ ยังสนับสนุนการดำเนินคดีต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคณะนี้อย่างถึงที่สุด และจะรณรงค์การถอดถอนตุลาการให้พ้นจากตำแหน่งด้วย
วันนี้ (16 ก.ค.) ที่รัฐสภา เครือข่ายวิทยุชุมชนปกป้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรม นำโดยนายพลท เฉลิมแสน ในฐานะเลขาธิการเครือข่าย เข้ายื่นแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ต่อเจ้าหน้าที่รัฐสภา ผ่านไปยังนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องให้เร่งดำเนินการลงมติรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 ให้เร็วที่สุดเพื่อยุติการสร้างมาตรฐานใหม่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย
นายพลทกล่าวว่า เครือข่ายวิทยุชุมชนฯ ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรณีวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องได้ด้วยตนเองและเปรียบเสมือนใช้อำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ อีกทั้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีข้อแนะนำว่าให้ทำประชามติก่อนหากจะมีการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยไม่ยอมชี้ชัดว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ รวมไปถึงการระบุว่าหากจะลงมติในวาระที่ 3 นั้นสามารถทำได้แต่ประธานรัฐสภาต้องรับผิดชอบนั้น ถือเป็นการวินิจฉัยใช้เทคนิคทางกฎหมายข่มขู่ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นการละเมิดหลักกฎหมายมหาชน ดังนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประมุขนิติบัญญัติจึงต้องยืนยันในหลักการที่ถูกต้องชอบธรรม ด้วยการเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติรับร่างในวาระที่ 3 ทันที
นอกจากนี้ เครือข่ายฯ ยังสนับสนุนการดำเนินคดีต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคณะนี้อย่างถึงที่สุด และจะรณรงค์การถอดถอนตุลาการให้พ้นจากตำแหน่งด้วย