คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภาฯ 35 ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืน ชื่นชม “อานันท์” ถอนตัวพยานคดีแก้รัฐธรรมนูญ ร้องประธานรัฐสภาชะลอ พ.ร.บ.ปรองดองเพื่อลดความขัดแย้ง ให้กลุ่มการเมืองทุกฝ่ายใช้สติและเปิดโอกาสประชาชนมีส่วนร่วม หวั่นถูกใช้สร้างสถานการณ์แย่งชิงอำนาจ และต้องยึดโยงฉบับปี 40 และปัจจุบัน
วันนี้ (5 ก.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ร้านอาหารอี-เมียร์ ถนนเศรษฐศิริ เขตพญาไท นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภาฯ 35 ได้ออกแถลงการณ์ โดยระบุว่า ตามปรากฏสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมือง อันเกิดจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพลังต่างๆ ทางสังคมต่อการทำหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ทั้งคณะรัฐมนตรี พรรคการเมือง สภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญและอื่นๆ ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งแตกหักการปะทะกันระหว่างประชาชน อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียทางสังคมได้ คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 จึงขอแถลงท่าทีและข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
1. ขอชื่นชมนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องจากทุกฝ่ายให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีผลพวงมาจากเหตุการณ์พฤษภา 35 และเป็นประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อติดตามผู้สูญหายและช่วยเหลือผู้เสียหายจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 35 ที่ได้ถอนตัวจากการเป็นพยานในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่
2. ขณะที่สถานการณ์การเมืองที่วุ่นวายมากในขณะนี้ ทั้งจากกรณีเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองในปี 53 ดังนั้น แนวทางที่ดีที่สุด ขอให้ประธานรัฐสภาชะลอการพิจารณาพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปรองดองแห่งชาติออกไปก่อน เพื่อลดเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมืองลง รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและทุกฝ่ายให้มีส่วนร่วมโดยแท้จริง
3. ขอให้กลุ่มการเมืองทุกฝ่าย ใช้สติในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 ซึ่งเราเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 50 สามารถกระทำได้ ทั้งโดยหลักพื้นฐานการพัฒนาประเทศให้เป็นประชาธิปไตย โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ และหลักการแก้ไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
“นักการเมือง คณะรัฐมนตรี พรรคการเมือง สภาผู้แทนราษฎร และรัฐสภา จะต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนอย่างชัดแจ้ง ตรงไปตรงมา ว่าบทบัญญัติมาตราไหนส่วนไหนของรัฐธรรมนูญที่เป็นปัญหา เพราะเหตุใด และจะแก้ให้เป็นประชาธิปไตยอย่างไร โดยจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งการแสดงความเห็น และลงประชามิติในประเด็นต่างๆ ที่ต้องการแก้ไข ไม่ใช่หมกเม็ดไม่ให้ประชาชนรับรู้ หรือใช้เป็นเงื่อนไขไปสู่สถานการณ์การแย่งชิงอำนาจ โดยเอาประชาชนแต่ละฝ่ายมาปะทะห้ำหั่นกัน” แถลงการณ์ระบุ
ทั้งนี้ การทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในกรณีดังกล่าวก็ต้องยึดโยงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับปี 40 และฉบับปัจจุบัน ดำรงไว้ซึ่งการสร้างความเชื่อถือศรัทธาในการทำหน้าที่ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรมต่อประชาชน เพื่อให้ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลตามหลักการแยกอำนาจเป็นที่พึงของประชาชนได้
ท้ายที่สุด คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภาฯ 35 ใคร่ขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายคำถึงประโยชน์ของประเทศ และความผาสุกปกติของประชาชนในชาติ หยุดสร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่ความรุนแรงและความบอบช้ำให้กับสังคมไทย ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องสรุปบทเรียนความผิดพลาดและบาดแผลความเจ็บปวดจากการสูญเสียทางเมืองในทุกเหตุการณ์ที่ผ่านมา เพื่อสร้างหลักประกันที่สำคัญมั่นคงว่าเราจะไม่เดินซ้ำรอยประวัติศาสตร์ที่รังจะก่อให้เกิดความแตกแยกเกลียดชัง อันไม่เป็นความพึงประสงค์ของทุกฝ่ายในบ้านเมือง
วันนี้ (5 ก.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ร้านอาหารอี-เมียร์ ถนนเศรษฐศิริ เขตพญาไท นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภาฯ 35 ได้ออกแถลงการณ์ โดยระบุว่า ตามปรากฏสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมือง อันเกิดจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพลังต่างๆ ทางสังคมต่อการทำหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ทั้งคณะรัฐมนตรี พรรคการเมือง สภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญและอื่นๆ ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งแตกหักการปะทะกันระหว่างประชาชน อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียทางสังคมได้ คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 จึงขอแถลงท่าทีและข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
1. ขอชื่นชมนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องจากทุกฝ่ายให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีผลพวงมาจากเหตุการณ์พฤษภา 35 และเป็นประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อติดตามผู้สูญหายและช่วยเหลือผู้เสียหายจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 35 ที่ได้ถอนตัวจากการเป็นพยานในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่
2. ขณะที่สถานการณ์การเมืองที่วุ่นวายมากในขณะนี้ ทั้งจากกรณีเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองในปี 53 ดังนั้น แนวทางที่ดีที่สุด ขอให้ประธานรัฐสภาชะลอการพิจารณาพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปรองดองแห่งชาติออกไปก่อน เพื่อลดเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมืองลง รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและทุกฝ่ายให้มีส่วนร่วมโดยแท้จริง
3. ขอให้กลุ่มการเมืองทุกฝ่าย ใช้สติในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 ซึ่งเราเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 50 สามารถกระทำได้ ทั้งโดยหลักพื้นฐานการพัฒนาประเทศให้เป็นประชาธิปไตย โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ และหลักการแก้ไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
“นักการเมือง คณะรัฐมนตรี พรรคการเมือง สภาผู้แทนราษฎร และรัฐสภา จะต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนอย่างชัดแจ้ง ตรงไปตรงมา ว่าบทบัญญัติมาตราไหนส่วนไหนของรัฐธรรมนูญที่เป็นปัญหา เพราะเหตุใด และจะแก้ให้เป็นประชาธิปไตยอย่างไร โดยจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งการแสดงความเห็น และลงประชามิติในประเด็นต่างๆ ที่ต้องการแก้ไข ไม่ใช่หมกเม็ดไม่ให้ประชาชนรับรู้ หรือใช้เป็นเงื่อนไขไปสู่สถานการณ์การแย่งชิงอำนาจ โดยเอาประชาชนแต่ละฝ่ายมาปะทะห้ำหั่นกัน” แถลงการณ์ระบุ
ทั้งนี้ การทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในกรณีดังกล่าวก็ต้องยึดโยงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับปี 40 และฉบับปัจจุบัน ดำรงไว้ซึ่งการสร้างความเชื่อถือศรัทธาในการทำหน้าที่ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรมต่อประชาชน เพื่อให้ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลตามหลักการแยกอำนาจเป็นที่พึงของประชาชนได้
ท้ายที่สุด คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภาฯ 35 ใคร่ขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายคำถึงประโยชน์ของประเทศ และความผาสุกปกติของประชาชนในชาติ หยุดสร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่ความรุนแรงและความบอบช้ำให้กับสังคมไทย ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องสรุปบทเรียนความผิดพลาดและบาดแผลความเจ็บปวดจากการสูญเสียทางเมืองในทุกเหตุการณ์ที่ผ่านมา เพื่อสร้างหลักประกันที่สำคัญมั่นคงว่าเราจะไม่เดินซ้ำรอยประวัติศาสตร์ที่รังจะก่อให้เกิดความแตกแยกเกลียดชัง อันไม่เป็นความพึงประสงค์ของทุกฝ่ายในบ้านเมือง