ศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากวินิจฉัย พ.ร.บ.ระเบียบ ขรก.ตุลาการศาลยุติธรรม ม.26 (10) มีปัญหาความชอบด้วย รธน.50 หลังทนายโปลิโอร้องสอบ กก.ตุลาการศาลยุติธรรมมีมติไม่รับสมัครบรรจุข้าราชการอ้างสภาพร่างกายไม่เหมาะสม ชี้ กม.กำหนดถ้อยคำจำกัดสิทธิ ขัดต่อหลักการไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคล
วันนี้ (13 มิ.ย.) ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 26 (10) เฉพาะข้อความที่ว่า “...กาย หรือจิตใจไม่เหมาะสม...” มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 30 ทั้งนี้ คำวินิจฉัยดังกล่าวสืบเนื่องมาจากประธานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับคำร้องจากนายศิริมิตร บุญมูล ซึ่งประกอบอาชีพทนายความ แต่มีร่างกายเป็นโปลิโอ ระบุว่า ได้ไปสมัครทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำปี 2552 หลังการสมัครคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ได้พิจารณาคุณสมบัติแล้วมีมติไม่รับสมัครโดยอ้างว่ามีสภาพร่างกายและจิตใจไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตุลาการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543 มาตรา 26 (10) ซึ่งนายศิริมิตรเห็นว่าการถูกตัดสิทธิ เนื่องจากเหตุดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เพราเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสภาพทางกาย หรือความพิการ ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นเรื่อง พร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
สำหรับเนื้อหามาตรา 26 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543 บัญญัติว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(10) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชหารตุลาการหรือเป็นโรคที่ระบุไว้ในระเบียบของ ก.ต....”
ส่วนเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ถ้อยคำ “...กายหรือจิตใจไม่เหมาะสม...” ใน มาตรา 26(10) ของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543 มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าการกำหนดถ้อยคำดังกล่าวถือว่าเป็นการกำหนดเกินความจำเป็นเป็นการจำกัดสิทธิในการบรรจุ เข้ารับราชการตุลาการของผู้พิการโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย หรือจิต ของผู้พิการเพียงอย่างเดียว และเป็นการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครเข้าสอบใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวาง โดยมิได้กำหนดว่า การหรือจิตใจ ลักษณะใดเป็นความไม่เหมาะสมจนไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตุลาการได้ อีกทั้งมิได้คำนึงความรู้ความสามารถอันเป็นภารกิจหลักของตุลาการ หรือผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี บทบัญญัติดังกล่าวจึงขัดต่อหลักการไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความพิการตามรัฐธรรมนูญ และขัดต่อสิทธิของคนพิการในการเข้าทำงานบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการขององค์การสหประชาชาติ
สำหรับการร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยครั้งนี้ของนายศิริมิตรไม่ใช่ครั้งแรก โดยนายศิริมิตรเคยร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ในขณะนั้นยังใช้รัฐธรรมนูญปี 40 ซึ่งในมาตรา 30 นั้นไม่ได้มีการบัญญัติถ้อยคำเรื่องของคนพิการเอาไว้ ทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 16/2554 ออกมาระบุว่า มาตรา 26 (10) ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 40 มาตรา 30 แต่ในรัฐธรรมนูญปี 50 นี้ มาตรา 30 มีการบัญญัติถ้อยคำเพิ่มเติมว่าห้ามนำเรื่องความพิการมาเป็นเหตุแห่งในการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล
วันนี้ (13 มิ.ย.) ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 26 (10) เฉพาะข้อความที่ว่า “...กาย หรือจิตใจไม่เหมาะสม...” มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 30 ทั้งนี้ คำวินิจฉัยดังกล่าวสืบเนื่องมาจากประธานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับคำร้องจากนายศิริมิตร บุญมูล ซึ่งประกอบอาชีพทนายความ แต่มีร่างกายเป็นโปลิโอ ระบุว่า ได้ไปสมัครทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำปี 2552 หลังการสมัครคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ได้พิจารณาคุณสมบัติแล้วมีมติไม่รับสมัครโดยอ้างว่ามีสภาพร่างกายและจิตใจไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตุลาการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543 มาตรา 26 (10) ซึ่งนายศิริมิตรเห็นว่าการถูกตัดสิทธิ เนื่องจากเหตุดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เพราเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสภาพทางกาย หรือความพิการ ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นเรื่อง พร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
สำหรับเนื้อหามาตรา 26 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543 บัญญัติว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(10) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชหารตุลาการหรือเป็นโรคที่ระบุไว้ในระเบียบของ ก.ต....”
ส่วนเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ถ้อยคำ “...กายหรือจิตใจไม่เหมาะสม...” ใน มาตรา 26(10) ของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543 มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าการกำหนดถ้อยคำดังกล่าวถือว่าเป็นการกำหนดเกินความจำเป็นเป็นการจำกัดสิทธิในการบรรจุ เข้ารับราชการตุลาการของผู้พิการโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย หรือจิต ของผู้พิการเพียงอย่างเดียว และเป็นการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครเข้าสอบใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวาง โดยมิได้กำหนดว่า การหรือจิตใจ ลักษณะใดเป็นความไม่เหมาะสมจนไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตุลาการได้ อีกทั้งมิได้คำนึงความรู้ความสามารถอันเป็นภารกิจหลักของตุลาการ หรือผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี บทบัญญัติดังกล่าวจึงขัดต่อหลักการไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความพิการตามรัฐธรรมนูญ และขัดต่อสิทธิของคนพิการในการเข้าทำงานบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการขององค์การสหประชาชาติ
สำหรับการร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยครั้งนี้ของนายศิริมิตรไม่ใช่ครั้งแรก โดยนายศิริมิตรเคยร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ในขณะนั้นยังใช้รัฐธรรมนูญปี 40 ซึ่งในมาตรา 30 นั้นไม่ได้มีการบัญญัติถ้อยคำเรื่องของคนพิการเอาไว้ ทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 16/2554 ออกมาระบุว่า มาตรา 26 (10) ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 40 มาตรา 30 แต่ในรัฐธรรมนูญปี 50 นี้ มาตรา 30 มีการบัญญัติถ้อยคำเพิ่มเติมว่าห้ามนำเรื่องความพิการมาเป็นเหตุแห่งในการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล