xs
xsm
sm
md
lg

มูลนิธิอุทกพัฒน์ อีกหนึ่งน้ำพระทัยจากพระบิดาแห่งการจัดการน้ำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“อุทก” แปลว่า น้ำ “พัฒน์” คือ พัฒนา “ อุทกพัฒน์” จึงมีความหมายตรงตัวว่า “ การพัฒนาเรื่องน้ำ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนทรัพย์ จำนวน 84 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนประเดิมในการก่อตั้งมูลนิธิอุทกพัฒน์ ตามที่ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.)องค์การมหาชน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอพระราชทาน พร้อมทั้งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้มูลนิธิอุทกพัฒน์อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ นอกจากนี้ ยังพระราชทานตราประจำมูลนิธิอุทกพัฒน์ ซึ่งทรงให้ใช้พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นเครื่องหมายประจำมูลนิธิด้วย

นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการ สสนก. เปิดเผยว่า มูลนิธิอุทกพัฒน์จะทำหน้าที่บริหารและจัดการทรัพยากรน้ำในประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่ทำงานด้านน้ำ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำของประเทศเป็นไปในทิศทางถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เนื่องจากบทเรียนจากเหตุการณ์นํ้าท่วมประเทศไทยครั้งใหญ่ เมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ระบบการบริหารจัดการน้ำของประเทศค่อนข้างมีปัญหา ตั้งแต่แม่น้ำสายใหญ่ๆ จนถึงน้ำชุมชน

นอกจากนี้ มูลนิธิจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานวิจัยด้านน้ำรวมทั้งให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยด้านน้ำ เพื่อให้เกิดการพัฒนา เพราะงานวิจัยเกี่ยวกับน้ำของประเทศไทยมีน้อยมาก แทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ งานวิจัยเรื่องน้ำที่มีอยู่ส่วนใหญ่จะเป็นการนำกรณีศึกษา หรือบทเรียนจากเหตุการณ์ต่างๆ มาเป็นงานวิจัย

มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธาน

ในขณะที่ ข่าวคราวเรื่อง มาตรการป้องกันน้ำท่วมจากรัฐบาล เงียบหายไปเลย หลังจากการออกพระราชกำหนดกู้เงิน และโอนหนี้กองทุนฟื้นฟู ไปให่แบงก์ชาติ เพื่อที่รัฐบาลจะได้มีขีดความสามารถในการกู้เงินมาใช้เพื่อป้องกันน้ำท่วม ได้รับการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญว่า ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ

เรื่องพื้นที่รับน้ำ 3 ล้านไร่ ที่รัฐบาลไม่ยอมเปิดผยว่า จะเป็นที่ใดบ้าง โดยอ้างว่า หากเปิดเปผยไป่ก่อน เกรงว่าจะมีปัญหามวลชนในพื้นที่ จนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่มีใครรู้เลยว่า พืนที่ไหนบ้าง จะเป็นที่รับน้ำ ตรงไหนบ้างจะเป็นฟลัดเวย์ ไม่มีใครตอบได้

ในขณะที่โครงการก่อสร้างเขื่อนกันน้ำ รอบนิคมอุตสาหกรรม 6 แห่ง ในจังหวัดอยุธยาและปทุมธานี มีเสียงบ่นจากผู้ประกอบการนิคมฯว่า คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย หรือ กบอ. ที่มีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ซึ่งมีอำนาจในการอนุมัติ งบประมาณช่วยเหลือในการก่อสร้างเขื่อนของรัฐบาลไม่ยอม อนุมัติเสียที ทำให้นิคมฯหลายๆแห่งต้องช่วยเหลือตัวเอง ออกเงินสร้างไปก่อน เพราะถ้ามัวแต่รอเงินจากรัฐบาลที่สัญญาว่า จะให้ เกรงว่า จะสร้างไม่ทัน เพราะไม่รู้ว่า จะให้เงินมาเมื่อไร

นอกจากงบประมาณช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ถูก กั๊กไว้แล้ว ยังมีเงินช่วยเหลือ 5 หมื่นล้านบาท จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่ นหรือ ไจก้า ที่ให้รัฐบาลไทย นำไปจัดสรรให้นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีนักลงทุนญี่ปุ่นตั้งโรงงานอยู่ ใช้ในการสร้างเขื่อนกันน้ำ มาถึงแล้ว แต่ไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ไหน รัฐบาลไม่พูดถึงเลย

ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตริ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พูดถึง การแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนว่า ต้องมีการบูรณาการ การทำงานของหน่วยงานด้านน้ำที่อยู่มากมาย แต่ละหน่วยต่างเป็นเอกเทศ มีสายงานการบังคับบัญชาที่ไม่เชื่อมโยง ขึ้นต่อกัน ต้องมีการบริหารจัดการ ที่มีผู้มีอำนาจตัดสินใจ สั่งการที่ชัดเจนเพียงหนึ่งเดีย วหรือ single command มีระบบข้อมูล สารสนเทศแบบเรียลไทมส์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ แต่ก็ได้แต่พูด เพราะจนถึงบัดนี้ ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า การบุรณาการ และ single command เกิดขึ้นเลย

ถ้าปีนี้ หรือปีต่อๆ ไป มีน้ำท่วมครั้งใหญ่อีก มูลนิธิอุทกพัฒน์ นี่แหละ ที่จะเป็นที่พึ่งของคนไทย ในการบริหารจัดการ ปัญหาอุทกภัยได้




กำลังโหลดความคิดเห็น