xs
xsm
sm
md
lg

“ธีรยุทธ” ชี้ถึงเวลายกเครื่องประเทศ - “อมร” เสนอยกระดับคำวินิจฉัยศาล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์ธรรมศักดิ์ เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย
ผอ.สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ ชี้ประเทศอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน จึงหลีกเลี่ยงเส้นทางวิกฤตรุนแรงไม่ได้ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องยกเครื่องประเทศเสียใหม่ ด้าน “อมร” เสนอยกระดับคำนิจฉัยของศาลปกครองและศาลรธน.

วันนี้ (5 เม.ย.) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการจัดงานวันสัญญา ธรรมศักดิ์ 5 เมษายน 2555 ในหัวข้อ “ประเทศไทยยุคเปลี่ยนผ่าน ประเทศไทยกับระบบศาล” โดยนายธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์ ธรรมศักดิ์ เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย กล่าวว่า อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านเป็นผู้รู้หลายด้าน ทั้งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในภาวะวิกฤต อย่าง 14 ตุลาคม เป็นนักกฎหมาย รวมทั้งครู

สำหรับการจัดงานทางวิชาการในวันนี้ ความเห็นของทุกท่านได้แสดงทัศนะอย่างอิสรเสรี และทางสถาบันคาดหวังว่าจะนำความคิดเห็น ตลอดจนมุมมองทางวิชาการที่หลากหลาย เสนอต่อให้ประชาชนไตร่ตรองในที่สุด พร้อมกันนี้ได้ยกคำพูดของอาจารย์สัญญาที่เคยพูดว่า รู้ว่าทุกข์ของประชาชนมีมากเหลือเกิน โดยเฉพาะตอนที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี โดยนายธีรยุทธระบุว่า ถือเป็นการตระหนักรู้ที่สำคัญมาก โดยเฉพาะในกลุ่มแวดวงนักคิด นักวิชาการ

สำหรับโจทย์การเสวนาประเทศไทยในยุคเปลี่ยนผ่านนั้น หมายความว่า ทุกสถาบัน ทุกองค์กร ต้องเผชิญหน้ากัน โดยจะมี 1 เส้นทางวิกฤตที่รุนแรง คือ ทุกส่วนในสังคมต้องเร่งปฏิรูปปัญหาด้านในให้มาก โดยควรเรียกร้องให้แก้ไขตัวเองก่อนจึงจะดีที่สุด ขณะที่เห็นว่าประเทศไทยอยู่ในโปรแกรมการขับเคลื่อนประเทศไปในทิศทางการพัฒนาประเทศมานานกว่า 50 ปี แต่ก็ยังพบปัญหาความขัดแย้งปะทุขึ้นเป็นระยะ สะท้อนว่าโปรแกรมเดิมที่ใช้คงล้าหลังไปแล้ว โดยเห็นควรต้องยกเครื่องประเทศเสียใหม่ อาทิ วิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งข้อพิพาททางทรัพยากร ซึ่งภาระนี้จะตกอยู่กับศาล และเห็นว่าศาลควรจัดการเสวนาให้กับสาธารณชนมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันประชาชนมองภาพลักษณ์ของศาลเปลี่ยนแปลงไป ขณะที่ยังมีวิกฤตด้านการเมืองที่พยายามจะแก้ปัญหา และพบการยกร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ โดยมองว่ายังมีช่องว่างอีกมาก

ด้าน นายอมร จันทรสมบูรณ์ ปาฐกถาในหัวข้อ “ยุติธรรมกับประเทศไทย ในระยะเปลี่ยนผ่าน” ว่า ระยะเวลาเวลานี้เป็นระยะเวลาที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณาบทบาทของศาลในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง โดยที่ผ่านมาระบบศาลไทยได้เผชิญกับระบบเผด็จการนักการเมืองในระบบรัฐสภา ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลก ที่ถูกตรวจสอบโดยไม่เป็นวิถีทางของประชาธิปไตย นี่จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ

ขณะเดียวกัน ฝากให้ได้ฝากประชาชนคิดต่อว่า ผลงานของศาลรัฐธรรมนูญ กับศาลปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างผลงาน สร้างความศรัทธาไม่พอเพียงหรือไม่ ทั้งนี้ ตั้งข้อสังเกตถึงคำวินิจฉัยของศาลว่าได้อยู่ในสภาวะที่ควรจะเป็นหรือไม่ ซึ่งหากดูในบทบาทของศาลจะมีแนวทางในการทุจริต อยู่ 2 ด้าน คือ 1. ศาสตร์ด้านการตีความ 2. การอุดช่องว่างกรณีแนวทางการแก้ไขเมื่อไม่มีตัวบท (ซึ่งต้องสร้างผลประโยชน์แก่สาธารณะ และคุ้มครองเอกชนให้ได้สัดส่วน) และเมื่อทราบว่าคำวินิจฉัยของศาล เราไม่สามารถสร้างความศรัทธาเท่าที่เราคาดหวัง สิ่งที่ต้องพิจารณากันต่อ คือ ทำอย่างไรที่จะยกระดับคำวินิจฉัยของศาลได้ ทั้งนี้มี 3 ประการ คือ 1. คุณภาพของศาลที่จะคัดเลือกตุลาการ (ที่ผ่านมายังไม่เห็นวิธีการที่ควรจะเป็น) 2. วิธีพิจารณาของศาลที่จะทำให้เกิดคำวินิจฉัยที่ดีได้หรือไม่ (วิธีการพิจารณายังไม่สร้างความศรัทธาแก่ประชาชน ) และ 3. การตรวจสอบคุณภาพของคำวินิจฉัยของศาลว่าดีหรือไม่ดี (กฎหมายมีอยู่แล้ว แต่ยังมีข้อบกพร่อง ซึ่งต้องเป็นบทบาทของประธานศาลให้เสริมระเบียบวิธีพิจารณาเพื่อให้คำวินิจฉัยของศาลดีขึ้น)

อย่างไรก็ตาม เห็นว่าข้อบกพร่องทั้ง 3 ประการไม่มีเขียนในกฎหมาย แต่ท่านที่มีบทบาทเป็นอย่างมาก เช่น ประธานศาล ต้องริเริ่มสร้างระบบและเร่งอุดช่องว่างทั้งสามเหล่านี้เพื่อสร้างความศรัทธาต่อประชาชนต่อไป


นายอมร จันทรสมบูรณ์

กำลังโหลดความคิดเห็น