xs
xsm
sm
md
lg

“ภรรยาร่มเกล้า” เชื่อผลวิจัยแค่สนองพวกหนีผิด ลั่นฝืนให้อภัยไม่ใช่ปรองดองยั่งยืน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวเปิดการสัมมนา
“ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า” แฉทีมวิจัย ส.พระปกเกล้า ไม่ไปซักญาติทหารเหยื่อเผาเมืองเลย ยันจะให้ยอมรับคงยาก เชื่อตอบโจทย์พวกหนีผิดเท่านั้น สวด “บิ๊กบัง” ถามชาวบ้านอยากปรองดองตั้งแต่เมื่อไหร่ สับรายงานขัดแย้งกันชัด จี้ค้นหาข้อเท็จจริงสู่กระบวนการยุติธรรมก่อนนิรโทษ ฉะ ฝืนให้อภัยเท่ากับไฟที่รอการปะทุ หวังอดีต ผบ.ทบ.เข้าใจทหาร

วันนี้ (21 มี.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยาของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม กล่าวภายหลังการเข้าร่วมรับฟังการเปิดเวทีสาธารณะของคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร (กมธ.ปรองดอง) ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นประธาน ว่า ตนตั้งใจมาร่วมฟังทั้งที่ไม่ได้รับเชิญและอยากแสดงความเห็นเพราะ 47 ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะผู้ทำวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าไปสัมภาษณ์ ไม่มีกลุ่มญาติของผู้เสียชีวิตในส่วนที่เป็นเจ้าหน้าที่ทหารเลย ซึ่งคิดว่าเป็นตัวแสดงหนึ่งที่ในรายงานกล่าวถึงตลอดเวลา ว่า ที่คณะผู้วิจัยออกมาพยายามบอกว่าต้องให้อภัย หมายถึงกลุ่มญาติของทหารที่เสียชีวิตด้วยหรือไม่ ซึ่งผู้วิจัยน่าจะฟังความเห็น ความรู้สึกของคนกลุ่มนี้บ้างแต่ก็ไม่มีในกลุ่ม 47 คน ที่ผ่านมา ตนได้อ่านรายงานของคณะผู้วิจัยหลายครั้ง พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเราเหมือนกับคณะผู้วิจัยบอกว่าได้ตั้งธงว่าเป็นรายงานที่จะนำไปสู่ความปรองดองและไม่ต้องการให้เกิดการเสียชีวิตขึ้นมาอีก หรือต้องการความรุนแรงอีกเป็นรายงานที่เกิดจากความรู้สึกของคนที่สูญเสีย แต่เราเข้าใจรายงานฉบับนี้แล้ว ยอมรับได้ยาก แต่ถ้าเป็นคนอ่านที่เป็นคนที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้พ้นจากความผิด รายงานฉบับนี้ตอบโจทย์ มีหลายประเด็นที่ขัดแย้งกันเอง ในเรื่องตรรกะหรือความจริง

นางนิชา กล่าวต่อว่า การที่พล.อ.สนธิ เปิดการประชุมว่า การปรองดองประชาชนทุกฝ่ายเห็นด้วย ยกเว้นฝ่ายการเมืองที่ไม่เห็นด้วย จึงอยากถามว่า ประชาชนทุกฝ่าย มีการไปถามความเห็นของเขาตั้งแต่เมื่อไหร่ และมีประชาชนได้แสดงความคิดเห็นผ่านเวทีไหนบ้าง เพราะวันนี้ ไม่มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น ฉะนั้น จะบอกว่า ตรงนี้คือความเห็นของทุกฝ่ายแล้ว ส่วนตัวคิดว่าเป็นคนหนึ่งที่ไม่มีโอกาสแสดงความเห็นตรงนี้ และที่ผ่านมา ได้สอบถามคณะผู้วิจัย ว่า ขั้นตอนการวิจัยเสนอกันอย่างไร คณะผู้วิจัยให้ตนได้ดูในเอกสารรายงานซึ่งคือ 1.การค้นหาข้อเท็จจริง ซึ่งอีก 6 เดือนที่จะเสร็จอาจมีการไปทบทวนข้อเท็จจริงก็ได้ และอย่าเปิดเผยผู้กระทำความผิด แต่ในรายงานนั้นเอง กลับบอกว่า การปรองดองผู้กระทำความผิดต้องออกมายอมรับการทำความผิดอย่างจริงใจ บริสุทธิ์ใจ มันก็ขัดแย้งกันเองแล้ว

นางนิชา กล่าวต่อว่า 2.การนิรโทษกรรมและการให้อภัย และ 3.กระบวนการยุติธรรมซึ่งตรงนี้ไม่สำคัญคงไม่ได้ เพราะมันคือ ความจริง หลักการและเหตุผลของสังคมที่จะอธิบายเหตุผลในการนิรโทษกรรมและให้อภัย แต่ถ้าข้ามผ่านกระบวนการยุติธรรมตามรายงานฉบับนี้ ก็อธิบายไม่ได้ว่าจะนิรโทษกรรมเพราะอะไร ให้อภัยเพราะอะไร และในส่วนของการนิรโทษกรรมทางเลือกที่ 1 จากที่ทราบในรายงานข่าวว่า กมธ.ปรองดองว่า เห็นด้วยกับทางเลือกที่ 1 ว่า นิรโทษทั้งคดีฝ่าฝืนคำสั่งใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินและคดีอาญา แต่ผู้วิจัยมีความเห็นในข้อสังเกตว่า วิธีการนี้ทำให้คนผิด ไม่ยอมรับผิด แต่ปรัชญาของผู้วิจัย ระบุว่า ผู้เกี่ยวข้องต้องรับผิดต่อการกระทำของตนเองอย่างจริงใจ ฉะนั้น ทางเลือกนี้ก็ขัดกับแนวคิดของผู้วิจัยเอง แล้วจะกลายเป็นทางเลือกได้อย่างไร ซึ่งมันไม่ควรจะเป็นทางเลือก เหมือนท่างเลือกที่เกี่ยวกับ คตส.ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ ที่พูดไปแล้ว ดังนั้น หากจะใช้เวลาก็ยังมีรายละเอียดที่จะพูดคุยในอีกหลายประเด็น ซึ่งผู้วิจัยบอกเองว่า อาจจะเปิดเวที แต่ขณะที่ขั้นตอนต่างๆมันเดินไปแล้ว แล้วรายละเอียดที่ตกหล่นเหล่านี้มันจะนำไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไร จึงเป็นข้อสงสัย ที่ต้องถาม

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะผู้สูญเสียแนวทางนี้ให้ความเป็นธรรมกับผู้สูญเสียกับสิ่งที่เกิดขึ้นตลอด 2 ปีที่ผ่านมา นางนิชา กล่าวว่า ตามหลักการที่เข้าใจและควรจะเป็น คือ การค้นหาข้อเท็จจริงและค่อยไปที่กระบวนการยุติธรรมจากนั้นก็ไปสู่กระบวนการนิรโทษกรรมและให้อภัย แต่ตอนนี้กระบวนการยังสับกันเช่นนี้ คงจะอธิบายอะไรไม่ได้ เมื่อถามย้ำว่า รู้สึกว่าถูกบีบให้ปรองดองหรือไม่ นางนิชา กล่าวว่า ในรายงานผลวิจัยระบุเขียนไว้ว่า ต้องให้อภัย ซึ่งดูเหมือนเป็นการบังคับ ฝืนใจกันได้หรือ การบังคับ การฝืนใจมันจะนำไปสู่การปรองดองกันได้หรือ เท่ากับเป็นคลื่นใต้น้ำที่จะรอวันปะทุขึ้นมาในวันข้างหน้าเท่านั้นเอง ความรู้สึกที่เก็บไว้ก็จะระเบิดขึ้นมา ก็ไม่ใช่การปรองดองที่ยังยืน

นางนิชา กล่าวว่า ในส่วนของกระบวนการยุติธรรมก็ได้เดินทางไปที่กองทัพบกเพื่อขอให้เป็นตัวแทนในการทวงถามหาความยุติธรรม ผู้สูญเสียจากหลายฝ่ายจากเท่าที่พูดคุย บรรดาญาติผู้สูญเสียต่างต้องการข้อเท็จจริงและกระบวนการยุติธรรม

“เช่นที่กล่าวว่า ให้อภัย แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า ให้อภัยกับใคร หากเป็นคนทำผิดแล้วเขาจะรู้ตัวหรือไม่ ว่าเขาทำผิด ว่าเขาคือคนที่เราให้อภัย ถ้าข้อเท็จจริงตรงนี้ไม่ถูกเปิดเผยออกมา แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราให้อภัยใคร” นางนิชา กล่าว

เมื่อถามต่อว่า หลังจากพูดคุยกับพล.อ.สนธิ แล้ว รู้สึกอย่างไร นางนิชา กล่าวว่า ได้เรียนว่าเราเป็นครอบครัวทหาร แต่ในรายงานผลงานวิจัยไม่ได้ครอบคลุมถึงกลุ่มครอบครัวผู้เสียชีวิตที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติตามหน้าที่ คิดว่า คงไม่ครอบคลุมมีแต่รายชื่อของ น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกในฐานะที่เป็น ส.ส.พรรคเพื่อไทย หรือในฐานะของครอบครัวผู้ที่เสียชีวิต แม้จะเป็นผู้เสียชีวิตแต่ก็ไม่ได้อยู่ในกลุ่มของครอบครัวของเจ้าหน้าที่รัฐที่เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น จึงยังไม่มีมุมมองที่ครบถ้วน ซึ่ง พล.อ.สนธิ ก็บอกว่าให้ไปคุย เมื่อถามย้ำว่า จะช้าไปหรือไม่ เพราะกระบวนการทำวิจัยของพระปกเกล้ากำลังจะเสร็จสิ้นแล้ว นางนิชา กล่าวว่า ได้บอกท่านไปซึ่งก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่บอกไปจะมีประโยชน์หรือไม่ จะมีความหวังก็คือที่ท่านเป็นทหาร และที่ไปคุยก็ในฐานะครอบครัวทหาร เมื่อถามว่า เวลานี้ พล.อ.สนธิ ประกาศตัวเองแล้วว่าเป็นนักการเมืองจบปริญญาโท ยังจะมีความหวังหรือไม่ นางนิชา กล่าวว่า ท่านก็ยังเป็น พล.อ.
กำลังโหลดความคิดเห็น