ศาลปกครองสั่งเพิกถอนมติแพทยสภา ที่แค่ว่ากล่าวตักเตือนหมอ รพ.บางปะกอก1 รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจตาย ทั้งที่หลักฐานชัดยันไม่สนใจรักษาผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน ชี้เป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง มติแพทยสภาแค่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ชอบด้วยกม.
วันนี้ (1 มี.ค.) ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาเพิกถอนมติคณะกรรมการแพทยสภา ในการประชุมครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2551 และคำสั่งแพทยสภาที่ 15/2551 ลงวันที่10 ก.ค. 2551 ที่ลงโทษว่ากล่าวตักเตือนนายแพทย์สุชัย กาญจนธารายนต์ แพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ ประจำ รพ.บางปะกอก 1 กรณีมาตรฐานการการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และให้แพทยสภา และคณะกรรมการแพทยสภาไปดำเนินการพิจารณาไปดำเนินการพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดความผิดของนายแพทย์สุชัย กาญจนธารายนต์ ซึ่งกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้นายวิโรจน์ สุวีรยา ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารักษาตัวที่ รพ.บางปะกอก 1 เสียชีวิต ให้ถูกต้องเหมาะสมกับการกระทำต่อไป รวมทั้งให้พิจารณาข้อร้องเรียนของนางสุนิสา สุวรรณจิตร น้องสาวและผู้จัดการมรดกของวิโรจน์ สุวีรยา ในส่วนที่ร้องเรียนแพทย์หญิงเจรียง จันทรกมล ผู้รับใบอนุญาตประกอบการ รพ.บางปะกอก 1 ให้ครบถ้วนทุกประเด็น ภายใน 150วันนับตั้งแต่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
คดีกล่าวเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2551 เมื่อนางสุนิสา สุวรรณจิตร น้องสาวและผู้จัดการมรดกของวิโรจน์ สุวีรยา ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ได้มายื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางฟ้องแพทยสภา และคณะกรรมการแพทยสภา ว่าร่วมกันออกคำสั่งกล่าวตักเตือนนายแพทย์สุชัย กาญจนธารายนต์ แพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ ประจำ ร.พ.บางปะกอก 1 กรณีมาตรฐานการการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้นายวิโรจน์ สุวีรยา เสียชีวิต เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2551 และ 10 ก.ค. 2551 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่คณะอนุกรรมการสอบสวน แพทยสภา ชุดที่ 2 ได้สอบสวนและรายงานความเห็นว่า นายแพทย์สุชัย กาญจนธารายนต์ได้ทอดทิ้งไม่มาตรวจดูและรักษาเพื่อวินิจฉัยอาการป่วยด้วยโรคหัวใจของนายวิโรจน์ สุวีรยาที่กำลังทรุดหนัก จนเป็นเหตุให้นายวิโรจน์ สุวีรยาเสียชีวิตในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2543
ทั้งนี้ ศาลวินิจฉัยว่า จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏทั้งพยานและหลักฐานเห็นว่า นายวิโรจน์ สุวีรยา มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เข้ารักษาตัวที่ รพ.บางปะกอก 1 เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2543 เมื่อเวลา 20.00น.แพทย์เวรประจำโรงพยาบาลได้ตรวจพบว่า นายวิโรจน์มีอาการป่วยโรคหัวใจอยู่ในภาวะวิกฤต และได้แจ้งให้ทางผู้บริหารโรงพยาบาล และนายแพทย์สุชัย กาญจนธารายนต์ ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคหัวใจและหลอดเลือดทราบเพื่อให้ทำการรักษาผู้ป่วยทันทีถึง 3ครั้ง แต่นายแพทย์สุชัยไม่มาตรวจรักษาการผู้ป่วยด้วยตนเอง ใช้การพยากรณ์โรคและสั่งการทางโทรศัพท์ ซึ่งตามมาตรฐานการรักษาโรคภาวะหัวใจขาดเลือดและหัวใจตาย แพทย์ควรให้ยาอมใต้ลิ้นไนโตรกีโซลีน และยาแอสไพริน เพื่อลดอาการหัวใจขาดเลือด รวมทั้งควรรีบทำการรักษาผู้ป่วยด้วยการสวนหัวใจและทำบอลลูนขยายเส้นเลือดตีบตัน แต่ตามเวชทะเบียนไม่ปรากฏมีการให้ยาและทำการรักษาดังที่กล่าวมา มีเพียงแค่การฉีดยามอร์ฟีนระงับความปวดเท่านั้น จนกระทั่งเวลา 07.20น. วันที่ 19 มิ.ย. 2543 นายแพทย์สุชัยจึงเข้ามาตรวจรักษา ซึ่งขณะนั้นนายวิโรจน์ สุวีรยา ได้เข้าสู่ภาวะช็อคเต็มที่พ้นจุดที่จะทำการรักษาแล้ว แสดงให้เห็นว่าการรักษาทางโทรศัพท์ของนายแพทย์สุชัย ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของการรักษาโรค
จึงฟังได้ว่า นายแพทย์สุชัยให้การรักษาผู้ป่วยโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทอดทิ้งผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาวะที่พึงได้รับการดูแลจากแพทย์จนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เป็นการไม่รักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดีที่สุด ตามหมวด 3 ข้อ 1 ของข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นกฎหมายใช้บังคับในขณะกระทำผิด เพราะหากนายแพทย์สุชัยได้เข้ามาตรวจรักษาอาการของนายวิโรจน์ตัวตนเองตั้งแต่แรกเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2543 อาจทำให้การวินิจฉัยโรค การให้การรักษา ตลอดจนการให้ยาของนายปพทย์สุชัยแตกต่างไปจากการรักษาทางโทรศัพท์ผ่านการรายงานอาการของโรคของแพทย์เวรอายุรกรรมและพยาบาลซึ่งไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ดังนั้น การที่คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2551 มีมติว่านายแพทย์สุชัยกระทำผิดไม่ถึงขั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้ลงโทษว่ากล่าวตักเตือน และคำสั่งแพทยสภาที่ 15/ 2551 ลงวันที่ 10 ก.ค. 2551 ที่ลงโทษว่ากล่าวตักเตือนนายแพทย์สุชัย กาญจนธารายนต์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
วันนี้ (1 มี.ค.) ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาเพิกถอนมติคณะกรรมการแพทยสภา ในการประชุมครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2551 และคำสั่งแพทยสภาที่ 15/2551 ลงวันที่10 ก.ค. 2551 ที่ลงโทษว่ากล่าวตักเตือนนายแพทย์สุชัย กาญจนธารายนต์ แพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ ประจำ รพ.บางปะกอก 1 กรณีมาตรฐานการการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และให้แพทยสภา และคณะกรรมการแพทยสภาไปดำเนินการพิจารณาไปดำเนินการพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดความผิดของนายแพทย์สุชัย กาญจนธารายนต์ ซึ่งกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้นายวิโรจน์ สุวีรยา ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารักษาตัวที่ รพ.บางปะกอก 1 เสียชีวิต ให้ถูกต้องเหมาะสมกับการกระทำต่อไป รวมทั้งให้พิจารณาข้อร้องเรียนของนางสุนิสา สุวรรณจิตร น้องสาวและผู้จัดการมรดกของวิโรจน์ สุวีรยา ในส่วนที่ร้องเรียนแพทย์หญิงเจรียง จันทรกมล ผู้รับใบอนุญาตประกอบการ รพ.บางปะกอก 1 ให้ครบถ้วนทุกประเด็น ภายใน 150วันนับตั้งแต่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
คดีกล่าวเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2551 เมื่อนางสุนิสา สุวรรณจิตร น้องสาวและผู้จัดการมรดกของวิโรจน์ สุวีรยา ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ได้มายื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางฟ้องแพทยสภา และคณะกรรมการแพทยสภา ว่าร่วมกันออกคำสั่งกล่าวตักเตือนนายแพทย์สุชัย กาญจนธารายนต์ แพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ ประจำ ร.พ.บางปะกอก 1 กรณีมาตรฐานการการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้นายวิโรจน์ สุวีรยา เสียชีวิต เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2551 และ 10 ก.ค. 2551 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่คณะอนุกรรมการสอบสวน แพทยสภา ชุดที่ 2 ได้สอบสวนและรายงานความเห็นว่า นายแพทย์สุชัย กาญจนธารายนต์ได้ทอดทิ้งไม่มาตรวจดูและรักษาเพื่อวินิจฉัยอาการป่วยด้วยโรคหัวใจของนายวิโรจน์ สุวีรยาที่กำลังทรุดหนัก จนเป็นเหตุให้นายวิโรจน์ สุวีรยาเสียชีวิตในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2543
ทั้งนี้ ศาลวินิจฉัยว่า จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏทั้งพยานและหลักฐานเห็นว่า นายวิโรจน์ สุวีรยา มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เข้ารักษาตัวที่ รพ.บางปะกอก 1 เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2543 เมื่อเวลา 20.00น.แพทย์เวรประจำโรงพยาบาลได้ตรวจพบว่า นายวิโรจน์มีอาการป่วยโรคหัวใจอยู่ในภาวะวิกฤต และได้แจ้งให้ทางผู้บริหารโรงพยาบาล และนายแพทย์สุชัย กาญจนธารายนต์ ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคหัวใจและหลอดเลือดทราบเพื่อให้ทำการรักษาผู้ป่วยทันทีถึง 3ครั้ง แต่นายแพทย์สุชัยไม่มาตรวจรักษาการผู้ป่วยด้วยตนเอง ใช้การพยากรณ์โรคและสั่งการทางโทรศัพท์ ซึ่งตามมาตรฐานการรักษาโรคภาวะหัวใจขาดเลือดและหัวใจตาย แพทย์ควรให้ยาอมใต้ลิ้นไนโตรกีโซลีน และยาแอสไพริน เพื่อลดอาการหัวใจขาดเลือด รวมทั้งควรรีบทำการรักษาผู้ป่วยด้วยการสวนหัวใจและทำบอลลูนขยายเส้นเลือดตีบตัน แต่ตามเวชทะเบียนไม่ปรากฏมีการให้ยาและทำการรักษาดังที่กล่าวมา มีเพียงแค่การฉีดยามอร์ฟีนระงับความปวดเท่านั้น จนกระทั่งเวลา 07.20น. วันที่ 19 มิ.ย. 2543 นายแพทย์สุชัยจึงเข้ามาตรวจรักษา ซึ่งขณะนั้นนายวิโรจน์ สุวีรยา ได้เข้าสู่ภาวะช็อคเต็มที่พ้นจุดที่จะทำการรักษาแล้ว แสดงให้เห็นว่าการรักษาทางโทรศัพท์ของนายแพทย์สุชัย ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของการรักษาโรค
จึงฟังได้ว่า นายแพทย์สุชัยให้การรักษาผู้ป่วยโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทอดทิ้งผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาวะที่พึงได้รับการดูแลจากแพทย์จนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เป็นการไม่รักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดีที่สุด ตามหมวด 3 ข้อ 1 ของข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นกฎหมายใช้บังคับในขณะกระทำผิด เพราะหากนายแพทย์สุชัยได้เข้ามาตรวจรักษาอาการของนายวิโรจน์ตัวตนเองตั้งแต่แรกเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2543 อาจทำให้การวินิจฉัยโรค การให้การรักษา ตลอดจนการให้ยาของนายปพทย์สุชัยแตกต่างไปจากการรักษาทางโทรศัพท์ผ่านการรายงานอาการของโรคของแพทย์เวรอายุรกรรมและพยาบาลซึ่งไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ดังนั้น การที่คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2551 มีมติว่านายแพทย์สุชัยกระทำผิดไม่ถึงขั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้ลงโทษว่ากล่าวตักเตือน และคำสั่งแพทยสภาที่ 15/ 2551 ลงวันที่ 10 ก.ค. 2551 ที่ลงโทษว่ากล่าวตักเตือนนายแพทย์สุชัย กาญจนธารายนต์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย