ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว คดี 31 ขรก.ดีเอสไอเข้าชื่อให้ระงับการออกคำสั่งแต่งตั้ง 15 ส.ค.54 เข้าข่ายไม่ชอบด้วย กม.ระบุประกาศคัดเลือกข้าราชการทั้ง 3 ประเภทมีความแตกต่างกันแต่กลับใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน โดยมิได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก
วันนี้ (10 ก.พ.) ศาลปกครองกลางมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาในคดีที่นายพลพิพัฒน์ เอกจิตต์ นายสมเกียรติ เพชรประดับ และพวกรวม 31 คนที่เป็นข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ฟ้องอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยศาลฯมีคำสั่งให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษระงับการออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษและตำแหน่งเจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการพิเศษตามประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกลงวันที่ 15 ส.ค.54 ไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ การมีคำสั่งดังกล่าวสืบเนื่องนายพลพิพัฒน์ นายสมเกียรติ และพวกได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางขอให้เพิกถอน ประกาศเรื่องรับสมัครคัดเลือกข้าราชการที่จะเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนระดับและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษจำนวน 60 ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการพิเศษจำนวน 24 ตำแหน่ง และประกาศเรื่อง การรับสมัครคัดเลือกและประเมินความรู้ความสามารถข้าราชการเพื่อย้ายเปลี่ยนสายงานและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษจำนวน 20 ตำแหน่ง รวมทั้งเพิกถอนรายชื่อข้าราชการผู้ผ่านการคัดเลือกจากประกาศดังกล่าว และคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า ประกาศคัดเลือกข้าราชการทั้ง 3 ประเภทมีความแตกต่างกัน แต่กลับใช้ข้อสอบชุดเดียวกันในการสอบคัดเลือก แสดงให้เห็นว่าผู้ออกข้อสอบไม่ได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถผู้สมัครที่มีความแตกต่างกันตามตำแหน่งและระดับ ไม่คำนึงถึงลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง และอธิบดีดีเอสไอเป็นผู้ออกข้อสอบและตรวจข้อสอบทั้ง 3 ประเภท โดยมิได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก รวมทั้งยังมีข้อสังเกตว่าบุคคลใกล้ชิดหรือทีมงานหน้าห้องผู้บริหารดีเอสไอสอบผ่านข้อเขียนทุกคน จึงเห็นว่าการสอบครั้งนี้ไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย
ส่วนที่ศาลฯ มีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาระบุว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า อนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ดีเอสไอ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อดำเนินการตามประกาศคัดเลือกข้าราชการทั้ง 3 ประเภท แล้ว แต่ อ.ก.พ.ดีเอสไอได้มอบหมายให้อธิบดีดีเอสไอเป็นผู้ออกข้อสอบและตรวจสอบข้อสอบเพียงผู้เดียว โดยไม่ได้ดำเนินการในรูปคณะกรรมการ ซึ่งเมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ของหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่นร.1006/ว7 ลงวันที่ 6 มี.ค.52 และที่ นร.1006/ว10 ลงวันที่ 15 ก.ย.48 ที่กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินบุคคลดังกล่าวก็เพื่อให้การประเมินบุคคลดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน สามารถคัดสรรผู้มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และมีความเหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและระบบราชการโดยรวมมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น การที่ อ.ก.พ.ดีเอสไอมีมติมอบให้อธิบดีดีเอสไอเป็นผู้ออกข้อสอบและตรวจข้อสอบเพียงผู้เดียว จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหนังสือสำนักงาน ก.พ.ดังกล่าว ซึ่งเป็นกลไกในการควบคุมการบริหารงานบุคคลากรภาครัฐในระบบคุณธรรม จึงเห็นว่าการดำเนินการคัดเลือกข้าราชการดังกล่าวน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจเป็นผลให้การดำเนินการต่อมาในภายหลัง ซึ่งได้แก่ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกและคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการรักษาการในตำแหน่งดังกล่าวน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย และหากให้อธิบดีดีเอสไอมีคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการพิเศษตามผลการคัดเลือกดังกล่าว จะทำให้เกิดความเสียหายยากแก่การเยียวยา เพราะไม่มีตำแหน่งว่างที่จะแต่งตั้งผู้ฟ้องคดีได้ แม้อธิบดีดีเอสไอจะมีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งอัตรากำลังเพิ่มเติมตามกรอบอัตราของหน่วยงานที่ได้รับอนุมัติ แต่การที่อธิบดีดีเอสไอได้มีคำสั่งให้ข้าราชการรักษาการในตำแหน่งดังกล่าวก็ยังสามารถดำเนินการตามภารกิจของดีเอสไอได้อย่างอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐหรือบริการสาธารณะ ศาลฯ จึงมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวไว้จนกว่าศาลฯ จะมีคำพิพากษา
วันนี้ (10 ก.พ.) ศาลปกครองกลางมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาในคดีที่นายพลพิพัฒน์ เอกจิตต์ นายสมเกียรติ เพชรประดับ และพวกรวม 31 คนที่เป็นข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ฟ้องอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยศาลฯมีคำสั่งให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษระงับการออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษและตำแหน่งเจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการพิเศษตามประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกลงวันที่ 15 ส.ค.54 ไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ การมีคำสั่งดังกล่าวสืบเนื่องนายพลพิพัฒน์ นายสมเกียรติ และพวกได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางขอให้เพิกถอน ประกาศเรื่องรับสมัครคัดเลือกข้าราชการที่จะเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนระดับและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษจำนวน 60 ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการพิเศษจำนวน 24 ตำแหน่ง และประกาศเรื่อง การรับสมัครคัดเลือกและประเมินความรู้ความสามารถข้าราชการเพื่อย้ายเปลี่ยนสายงานและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษจำนวน 20 ตำแหน่ง รวมทั้งเพิกถอนรายชื่อข้าราชการผู้ผ่านการคัดเลือกจากประกาศดังกล่าว และคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า ประกาศคัดเลือกข้าราชการทั้ง 3 ประเภทมีความแตกต่างกัน แต่กลับใช้ข้อสอบชุดเดียวกันในการสอบคัดเลือก แสดงให้เห็นว่าผู้ออกข้อสอบไม่ได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถผู้สมัครที่มีความแตกต่างกันตามตำแหน่งและระดับ ไม่คำนึงถึงลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง และอธิบดีดีเอสไอเป็นผู้ออกข้อสอบและตรวจข้อสอบทั้ง 3 ประเภท โดยมิได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก รวมทั้งยังมีข้อสังเกตว่าบุคคลใกล้ชิดหรือทีมงานหน้าห้องผู้บริหารดีเอสไอสอบผ่านข้อเขียนทุกคน จึงเห็นว่าการสอบครั้งนี้ไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย
ส่วนที่ศาลฯ มีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาระบุว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า อนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ดีเอสไอ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อดำเนินการตามประกาศคัดเลือกข้าราชการทั้ง 3 ประเภท แล้ว แต่ อ.ก.พ.ดีเอสไอได้มอบหมายให้อธิบดีดีเอสไอเป็นผู้ออกข้อสอบและตรวจสอบข้อสอบเพียงผู้เดียว โดยไม่ได้ดำเนินการในรูปคณะกรรมการ ซึ่งเมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ของหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่นร.1006/ว7 ลงวันที่ 6 มี.ค.52 และที่ นร.1006/ว10 ลงวันที่ 15 ก.ย.48 ที่กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินบุคคลดังกล่าวก็เพื่อให้การประเมินบุคคลดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน สามารถคัดสรรผู้มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และมีความเหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและระบบราชการโดยรวมมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น การที่ อ.ก.พ.ดีเอสไอมีมติมอบให้อธิบดีดีเอสไอเป็นผู้ออกข้อสอบและตรวจข้อสอบเพียงผู้เดียว จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหนังสือสำนักงาน ก.พ.ดังกล่าว ซึ่งเป็นกลไกในการควบคุมการบริหารงานบุคคลากรภาครัฐในระบบคุณธรรม จึงเห็นว่าการดำเนินการคัดเลือกข้าราชการดังกล่าวน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจเป็นผลให้การดำเนินการต่อมาในภายหลัง ซึ่งได้แก่ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกและคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการรักษาการในตำแหน่งดังกล่าวน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย และหากให้อธิบดีดีเอสไอมีคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการพิเศษตามผลการคัดเลือกดังกล่าว จะทำให้เกิดความเสียหายยากแก่การเยียวยา เพราะไม่มีตำแหน่งว่างที่จะแต่งตั้งผู้ฟ้องคดีได้ แม้อธิบดีดีเอสไอจะมีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งอัตรากำลังเพิ่มเติมตามกรอบอัตราของหน่วยงานที่ได้รับอนุมัติ แต่การที่อธิบดีดีเอสไอได้มีคำสั่งให้ข้าราชการรักษาการในตำแหน่งดังกล่าวก็ยังสามารถดำเนินการตามภารกิจของดีเอสไอได้อย่างอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐหรือบริการสาธารณะ ศาลฯ จึงมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวไว้จนกว่าศาลฯ จะมีคำพิพากษา