ประธานวิปรัฐบาล เผย ที่ประชุมนำร่างแก้ รธน.พท.ให้พรรคอื่นศึกษาต่อ ก่อนลงชื่อชง ปธ.สภาฯ คาดดีเดย์ 9 ก.พ.นี้ ชี้เห็นตรงแก้ ม.291 เปิดทางส.ส.ร.เลือกตั้ง 77 + 22 ผู้เชี่ยวชาญเชื่อปลายปีนี้คงได้เห็น รธน.ใหม่ ด้าน “เฉลิม” ไม่ขัดข้อง
วันนี้ (6 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 14.45 น. นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ของพรรคเพื่อไทยมามอบให้ผู้แทนของพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ นำกลับไปหารือในที่ประชุมของแต่ละพรรคในวันพรุ่งนี้ (7 ก.พ.) เพื่อให้สมาชิกของแต่ละพรรคร่วมลงชื่อก่อนนำเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรต่อไป แต่หากพรรคร่วมรัฐบาลพรรคใดมีความเห็นต่าง หรือข้อควรแก้ไขในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยก็สามารถนำเสนอได้อีกครั้งในการประชุมวิปรัฐบาลวันที่ 8 ก.พ.นี้ หรือในกรณีที่มีบางพรรคจะเสนอร่างของตนเองก็สามารถทำได้
ในส่วนสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม นายอุดมเดช กล่าวว่า ส่วนใหญ่เห็นตรงกันในเรื่องของการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อเปิดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน และอีกส่วนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ นักกฎหมายมหาชน นักรัฐศาสตร์ ประมาณ 22 คนที่เสนอโดยสถาบันการศึกษา และจะเข้ามาช่วยใน ส.ส.ร.ชุดนี้ ทั้งนี้ ยังได้มีการระบุให้มีการทำประชามติหลังจากที่ ส.ส.ร.ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว
“ตามกรอบที่ได้คุยกันไว้ หากไม่มีข้อแก้ไขอะไรมากมายจากพรรคร่วมรัฐบาล และพร้อมที่จะลงชื่อร่วมด้วย ก็คาดว่าในวันที่ 9 ก.พ.นี้จะสามารถยื่นต่อประธานสภาฯได้ แต่หากว่ามีการแก้ไขอะไรมากๆก็อยู่ที่จะทำทันหรือไม่” นายอุดมเดช ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสต้านที่อาจเกิดขึ้นหลังจากมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายอุดมเดช กล่าวว่า ครั้งนี้มีการระบุชัดเจนว่า จะแก้ไขมาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร.ตอนนี้ยังไม่ได้พูดกันเลยว่าจะมีการแก้ไขมาตราใดๆ บ้าง ส่วนกระแสต้านการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ประการใด วันนี้เป็นการพูดภึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น จึงต้องขอความกรุณาผู้ที่พยายามผูกโยงให้เกิดความขัดแย้งด้วย
เมื่อถามต่อถึงกรอบเวลาที่กำหนดไว้ว่า หากเริ่มดำเนินการจะสามารถเห็นรูปร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้เมื่อใด ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ตามกรอบที่ควรจะเป็นไปได้ หลังจากที่ยื่นวันที่ 9 ก.พ.ก็จะมีการตรวจสอบรายชื่อของ ส.ส.ที่ร่วมลงชื่อ เมื่อผ่านแล้วก็ขึ้นอยู่กับประธานสภาฯที่จะบรรจุเข้าวาระการประชุม ก็จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาราว 2 เดือน ก่อนเว้นระยะ 15 วันเพื่อลงมติในวาระที่ 3 ก่อนเข้าสู่กระบวนการในการเลือกตั้งตั้ง ส.ส.ร.โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนเศษ พร้อมกับการสรรหา ส.ส.ร.22 คน เมื่อได้ ส.ส.ร.แล้วในร่างของพรรคเพื่อไทยนี้ได้ระบุไว้ให้ดำเนินการภายใน 180 วัน หากเป็นไปตามกรอบเวลานี้ก็คาดว่า ช่วงปลายปี 55 นี้จะได้เห็นรูปร่างของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เมื่อถามว่า ในการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลนี้ได้นำข้อเสนอของ นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) เข้ามาร่วมพิจารณาด้วยหรือไม่ นายอุดมเดช กล่าวว่า ก็ถือเป็นอีกความเห็นหนึ่งที่ต้องการความรวดเร็ว ซึ่งแม้จะมีข้อดี แต่ข้อเสียก็คือการขาดความมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งการที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมจะเป็นปัญหาของการแก้ไขครั้งนี้ จึงเชื่อว่าหากเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมถือเป็นช่องทางที่ทำให้การแก้ไขครั้งนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้น
ต่อข้อถามถึงการร่วมสนับสนุนร่างแก้ไขของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น นายอุดมเดช กล่าวว่า หากพรรคร่วมรัฐบาลต้องการที่จะเสนอร่างแก้ไขของตนเอง ก็ยังต้องมาขอเสียงสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย เพราะอย่างพรรคใหญ่ที่มี 19 เสียงก็ไม่สามารถที่จะเสนอได้ ทั้งนี้หากร่างที่เสนอมาไม่ผิดเพี้ยนกันมากก็พอที่จะให้ ส.ส.ไปร่วมลงชื่อ แต่หากเพี้ยนไปเยอะก็คงไม่สามารถร่วมด้วยได้ ทั้งนี้ในที่ประชุมมีความเห็นว่า อยากให้พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคเสนอเพียงร่างเดียว เพื่อความมีเอกภาพ แต่ผู้แทนพรรคอื่นขอที่จะไปหารือภายในพรรคก่อน
“การเสนอร่างแก้ไขครั้งนี้จะเสนอในนาม ส.ส.หากรัฐบาลต้องการเสนออีกร่างเข้ามาประกบก็สามารถทำได้ เพราะถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่แถลงไว้ว่าจะทำภายใน 1 ปี เช่นเดียวกับร่างของภาคประชาชนที่จนถึงตอนนี้มีเสนอเข้าไปแล้ว 2 ร่าง หากมีกลุ่มใดเสนออีกก็ยังสามารถทำได้เช่นกัน” ประธานวิปรัฐบาล กล่าวในที่สุด
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรคเพื่อไทยกำลังเร่งจะยื่นในสัปดาห์นี้ว่า ส่วนตัวไม่ได้ขัดข้อง ได้มีการพูดคุยกันแล้ว เพราะตนเป็นคนไปราศรัยหาเสียงไว้ และได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้ ซึ่งที่ตนเคยบอกไว้ตอนนั้นเพราะคืออยากให้รัฐบาลได้ได้มีเวลาแก้เศรษฐกิจนิดหนึ่ง ตนปราบยาเสพติดให้ได้ผลหน่อย แต่เมื่อพรรคมีมติก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่กระบวนการยื่น กระบวนการสรรหาสสร.ก็ต้องใช้เวลา เมื่อถามว่า ได้ดูฤกษ์ยามหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า คิดว่าไม่น่าจะมีคนต้าน เพราะยังไม่รู้เลยว่าใครจะได้รับเลือกเป็น ส.ส.ร.บ้าง ร่างอย่างไรก็ยังไม่รู้ และร่างมาแล้วก็ต้องไปขอประชามติก็ยังไม่รู้ว่าประชาชนจะเอาด้วยหรือไม่ แล้วจะมาประท้วงอะไร ตนว่าไม่น่ามีประท้วงหรอก ถ้ามีก็กร่อย เรียกแขกไม่ได้หรอก
“ผมไปเป็นประธานงานพระธาตุกู่จานที่คำเวียงแก้ว ขออธิษฐานพระธาตุ ขอให้เป็นรัฐบาล 4 ปี บวก 4 ปี บวก 4 ปี เท่ากับ 12 ปี พออธิษฐานเสร็จก็แว่วๆ พระธาตุบอก เอาเลยๆ” ร.ต.อ.เฉลิม หัวเราะอย่างอารมณ์ดี
วันนี้ (6 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 14.45 น. นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ของพรรคเพื่อไทยมามอบให้ผู้แทนของพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ นำกลับไปหารือในที่ประชุมของแต่ละพรรคในวันพรุ่งนี้ (7 ก.พ.) เพื่อให้สมาชิกของแต่ละพรรคร่วมลงชื่อก่อนนำเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรต่อไป แต่หากพรรคร่วมรัฐบาลพรรคใดมีความเห็นต่าง หรือข้อควรแก้ไขในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยก็สามารถนำเสนอได้อีกครั้งในการประชุมวิปรัฐบาลวันที่ 8 ก.พ.นี้ หรือในกรณีที่มีบางพรรคจะเสนอร่างของตนเองก็สามารถทำได้
ในส่วนสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม นายอุดมเดช กล่าวว่า ส่วนใหญ่เห็นตรงกันในเรื่องของการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อเปิดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน และอีกส่วนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ นักกฎหมายมหาชน นักรัฐศาสตร์ ประมาณ 22 คนที่เสนอโดยสถาบันการศึกษา และจะเข้ามาช่วยใน ส.ส.ร.ชุดนี้ ทั้งนี้ ยังได้มีการระบุให้มีการทำประชามติหลังจากที่ ส.ส.ร.ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว
“ตามกรอบที่ได้คุยกันไว้ หากไม่มีข้อแก้ไขอะไรมากมายจากพรรคร่วมรัฐบาล และพร้อมที่จะลงชื่อร่วมด้วย ก็คาดว่าในวันที่ 9 ก.พ.นี้จะสามารถยื่นต่อประธานสภาฯได้ แต่หากว่ามีการแก้ไขอะไรมากๆก็อยู่ที่จะทำทันหรือไม่” นายอุดมเดช ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสต้านที่อาจเกิดขึ้นหลังจากมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายอุดมเดช กล่าวว่า ครั้งนี้มีการระบุชัดเจนว่า จะแก้ไขมาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร.ตอนนี้ยังไม่ได้พูดกันเลยว่าจะมีการแก้ไขมาตราใดๆ บ้าง ส่วนกระแสต้านการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ประการใด วันนี้เป็นการพูดภึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น จึงต้องขอความกรุณาผู้ที่พยายามผูกโยงให้เกิดความขัดแย้งด้วย
เมื่อถามต่อถึงกรอบเวลาที่กำหนดไว้ว่า หากเริ่มดำเนินการจะสามารถเห็นรูปร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้เมื่อใด ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ตามกรอบที่ควรจะเป็นไปได้ หลังจากที่ยื่นวันที่ 9 ก.พ.ก็จะมีการตรวจสอบรายชื่อของ ส.ส.ที่ร่วมลงชื่อ เมื่อผ่านแล้วก็ขึ้นอยู่กับประธานสภาฯที่จะบรรจุเข้าวาระการประชุม ก็จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาราว 2 เดือน ก่อนเว้นระยะ 15 วันเพื่อลงมติในวาระที่ 3 ก่อนเข้าสู่กระบวนการในการเลือกตั้งตั้ง ส.ส.ร.โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนเศษ พร้อมกับการสรรหา ส.ส.ร.22 คน เมื่อได้ ส.ส.ร.แล้วในร่างของพรรคเพื่อไทยนี้ได้ระบุไว้ให้ดำเนินการภายใน 180 วัน หากเป็นไปตามกรอบเวลานี้ก็คาดว่า ช่วงปลายปี 55 นี้จะได้เห็นรูปร่างของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เมื่อถามว่า ในการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลนี้ได้นำข้อเสนอของ นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) เข้ามาร่วมพิจารณาด้วยหรือไม่ นายอุดมเดช กล่าวว่า ก็ถือเป็นอีกความเห็นหนึ่งที่ต้องการความรวดเร็ว ซึ่งแม้จะมีข้อดี แต่ข้อเสียก็คือการขาดความมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งการที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมจะเป็นปัญหาของการแก้ไขครั้งนี้ จึงเชื่อว่าหากเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมถือเป็นช่องทางที่ทำให้การแก้ไขครั้งนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้น
ต่อข้อถามถึงการร่วมสนับสนุนร่างแก้ไขของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น นายอุดมเดช กล่าวว่า หากพรรคร่วมรัฐบาลต้องการที่จะเสนอร่างแก้ไขของตนเอง ก็ยังต้องมาขอเสียงสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย เพราะอย่างพรรคใหญ่ที่มี 19 เสียงก็ไม่สามารถที่จะเสนอได้ ทั้งนี้หากร่างที่เสนอมาไม่ผิดเพี้ยนกันมากก็พอที่จะให้ ส.ส.ไปร่วมลงชื่อ แต่หากเพี้ยนไปเยอะก็คงไม่สามารถร่วมด้วยได้ ทั้งนี้ในที่ประชุมมีความเห็นว่า อยากให้พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคเสนอเพียงร่างเดียว เพื่อความมีเอกภาพ แต่ผู้แทนพรรคอื่นขอที่จะไปหารือภายในพรรคก่อน
“การเสนอร่างแก้ไขครั้งนี้จะเสนอในนาม ส.ส.หากรัฐบาลต้องการเสนออีกร่างเข้ามาประกบก็สามารถทำได้ เพราะถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่แถลงไว้ว่าจะทำภายใน 1 ปี เช่นเดียวกับร่างของภาคประชาชนที่จนถึงตอนนี้มีเสนอเข้าไปแล้ว 2 ร่าง หากมีกลุ่มใดเสนออีกก็ยังสามารถทำได้เช่นกัน” ประธานวิปรัฐบาล กล่าวในที่สุด
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรคเพื่อไทยกำลังเร่งจะยื่นในสัปดาห์นี้ว่า ส่วนตัวไม่ได้ขัดข้อง ได้มีการพูดคุยกันแล้ว เพราะตนเป็นคนไปราศรัยหาเสียงไว้ และได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้ ซึ่งที่ตนเคยบอกไว้ตอนนั้นเพราะคืออยากให้รัฐบาลได้ได้มีเวลาแก้เศรษฐกิจนิดหนึ่ง ตนปราบยาเสพติดให้ได้ผลหน่อย แต่เมื่อพรรคมีมติก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่กระบวนการยื่น กระบวนการสรรหาสสร.ก็ต้องใช้เวลา เมื่อถามว่า ได้ดูฤกษ์ยามหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า คิดว่าไม่น่าจะมีคนต้าน เพราะยังไม่รู้เลยว่าใครจะได้รับเลือกเป็น ส.ส.ร.บ้าง ร่างอย่างไรก็ยังไม่รู้ และร่างมาแล้วก็ต้องไปขอประชามติก็ยังไม่รู้ว่าประชาชนจะเอาด้วยหรือไม่ แล้วจะมาประท้วงอะไร ตนว่าไม่น่ามีประท้วงหรอก ถ้ามีก็กร่อย เรียกแขกไม่ได้หรอก
“ผมไปเป็นประธานงานพระธาตุกู่จานที่คำเวียงแก้ว ขออธิษฐานพระธาตุ ขอให้เป็นรัฐบาล 4 ปี บวก 4 ปี บวก 4 ปี เท่ากับ 12 ปี พออธิษฐานเสร็จก็แว่วๆ พระธาตุบอก เอาเลยๆ” ร.ต.อ.เฉลิม หัวเราะอย่างอารมณ์ดี