กมธ.มั่นคงแห่งรัฐ สอบปราบยาเสพติด ผอ.พัฒนานโยบาย ป.ป.ส.ชี้ นโยบายรัฐฟัน 3 กลุ่ม ตัด 3 วงจร ตั้ง 5 เสือสอดส่อง โอ่กวาดล้าง 4 เดือนทำหาซื้อยากขึ้น ด้านรองผบช.น.ยันเร่ง 5 มาตรการเคร่งครัด พร้อมฟัน ขรก.เอี่ยว แนะกทม.ร่วมมือ ตร.ขณะที่รองอธิบดีกรมคุก แฉ นักโทษสั่งซื้อโทรศัพท์ดาวเทียมแต่ถูกรวบก่อน รับ 2 จุดอ่อนส่งของเข้าเรือนจำ เผยไล่ จนท.เอี่ยวแล้ว 30 คน “เฉลิม” อ้างภารกิจขอแจงสัปดาห์หน้า
วันนี้ (1 ก.พ.) ที่รัฐสภา การประชุมคณะกรรมการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ โดยมี นายเหวง โตจิราการ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ที่ประชุมได้เชิญ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล นายอนุชา อัครพิศาล ผู้อำนวยการส่วนพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และ น.ส.พรพิตร นรภูมิพิภัชน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เข้าให้ข้อมูลมาตรการการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด
โดย นายอนุชา กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลได้กำหนดให้การปราบปรามยาเสพติดเป็นนโยบายเร่งด่วนนั้น ได้มีกรอบความคิดหลักในการดำเนินการต่อ 3 กลุ่มเป้าหมาย ตัด 3 วงจรปัญหา ได้แก่ 1.ผู้ผลิต ผู้ค้ายาเสพติด โดยจะเน้นหลักนิติธรรม ในการปราบปรามลงโทษ 2.ผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม และ 3.กลุ่มเสี่ยง ต้องป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปเข้าเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งจากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นพบว่า มีการลำเลียงยาเสพติดจากทางประเทศลาวตอนเหนือ กระจายออกไปตามแหล่งพักยาเสพติด หมู่บ้านริมน้ำโขง ในประเทศลาว และอีกส่วนหนึ่งลำเลียงเข้ามายังตอนใต้เข้าสู่ประเทศกัมพูชา ในปัจจุบันยังพบว่า การนำเข้ายาเสพติดมีปริมาณน้อยกว่าการลักรอบนำเข้ายาไอซ์ และยังมีการลักลอบเข้ามายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วย
นายอนุชา กล่าวอีกว่า ในส่วนของกลไกการแก้ไขของ ป.ป.ส.ในระดับอำเภอ จะมีการจัดทีม 5 เสือขึ้น ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ผบ.หน่วยทหารในพื้นที่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผอ.เขตการศึกษา ทุกเขต โดยแบ่งเป็นทีมปฏิบัติการระดับอำเภอ โดยจะมีชุดวิทยาการกระบวนการ ชุดวิทยากรตำบล และชุดประชาคมหมู่บ้าน เพื่อคอยทำหน้าที่สอดส่องและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน ทั้งนี้จากผลการดำเนินการ ภาพรวมสถานการณ์ยาเสพติดในรอบ 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย.2554 - 11 ม.ค.2555 พบว่า ยังมีความรุนแรงทั้งการผลิต การนำเข้ายาเสพติดจากนอกประเทศ และการแพร่ระบาดภายในประเทศ แต่ผลการจับกุมยาเสพติดรายสำคัญที่มีของกลางจำนวนมาก ทำให้ปริมาณยาเสพติดในตลาดหาได้ยากขึ้นในบางพื้นที่ และสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดก็มีแนวโน้มลดลง และในเดือน ม.ค. - มี.ค.2555 จะมีการเร่งรัดปฏิบัติการใน 2 ประการ คือ 1.การลดสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่มีปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่สำคัญอย่างเป็นรูปธรรม 2.ประสานงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อนำไปสู่การกำหนดวาระภูมิภาค
ด้าน พล.ต.ต.วิชัย กล่าวว่า ตนเห็นว่า ปัญหายาเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องยอมรับว่าปัญหายาเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอาชญากรรมทุกประเภท อาทิ การฆ่าข่มขืน การชิงทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งหากจะลดปัญหาอาชญากรรมต้องลดปัญหายาเสพติดด้วย ที่สำคัญ ปัญหายาเสพติดในขณะนี้มีเด็ก และเยาวชน เข้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุด ทั้งนี้ ทางตำรวจนครบาล จะดำเนินมาตรการอย่างเคร่งครัด ประกอบด้วย 1.สืบสวนปราบปรามผู้ผลิต จำหน่ายทุกประเภท อย่างจริงจังและเด็ดขาด 2.สกัดกั้นยับยั้งการแพร่ระบาดอย่างยั่งยืน 3.ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด 4.สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน และกลุ่มเสี่ยง 5.ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งนี้จะดำเนินการกับข้าราชการที่เขาไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือมีการเอื้อประโยชน์กัน ซึ่งตนก็ได้ขอรายชื่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุก สน.ว่า มีข้าราชการคนใดมีส่วนรู้เห็นบ้าง ซึ่งนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ คือ การจับกลุ่มผู้ค้ารายย่อยมาดำเนินคดี ซึ่งตนเห็นว่าทาง กทม.และตำรวจควรจะเข้ามาดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้การตรวจจับ และสอดส่องมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้าน น.ส.พรพิตร กล่าวว่า สำหรับมาตรการป้องกันในเรือนจำ ทางกรมราชทัณฑ์ ได้มีมาตรการจำแนกผู้ต้องขังรายสำคัญ หรือรายใหญ่ หรือสามเอ ที่เรือนจำกลางเขาบิน จ.ราชบุรี เนื่องจากเป็นเรือนจำที่มีลักษณะทางกายภาพในการควบคุมผู้ต้องขังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบตัดสัญญาณโทรศัพท์ เพื่อควบคุมการติดต่อจากภายนอกได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งต้องยอมรับว่าขณะนี้มีความพยายามที่จะนำโทรศัพท์ดาวเทียมเข้าสู่เรือนจำ แต่ก็สามารถทำการสกัดกั้นไว้ได้ทัน ทั้งนี้ จำเป็นที่ต้องขอความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทาง ป.ป.ส.และกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เพื่อขอข้อมูลในการแยกแยะผู้ต้องขังรายสำคัญ และกำหนดเรือนจำ 2เอ สำหรับผู้ต้องขังที่มีพฤติกรรมดื้อด้าน ซามูไร หรือพวกลิ่วล้อ โดยบุคคลดังกล่าวจะเป็นนักฆ่า หรือมือปืนรับจ้าง ซึ่งก็จะแยกอยู่ในเรือนจำอีก 12 แห่ง และหากมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นก็จะแยกมาอยู่ในเรือนจำปกติ
“จุดอ่อนของเรือนจำแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.เรือนจำขนาดใหญ่ นอกชุมชน มีพื้นที่ที่ผู้ก่อการสามารถดำเนินการลักลอบส่งของเข้าสู่เรือนจำได้ และยังมีอาณาบริเวณสำหรับยิงจรวดได้2.เรือนจำรุ่นเก่า ในชุมชน ซึ่งในบริเวณนั้นจะมีรถสัญจรผ่านค่อนข้างมาก ก็จะสามารถโยนสิ่งของต่างๆเข้ามายังภายในเรือนจำได้ ทั้งนี้ก็จะมีการเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัย อาทิ กล้องซีซีทีวี ระบบการตรวจค้น เครื่องเอ๊กซ์เรย์ เป็นต้น ในส่วนของเจ้าหน้าที่ ที่จะมีบางส่วนเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องในการลักลอบส่งของเข้าเรือนจำ ก็ได้มีการกำหนดมาตรการดำเนินการตามวินัยที่รวดเร็วและเคร่งครัดมากขึ้น โดยให้ออกจากราชการทันที และค่อยดำเนินการสอบสวน ซึ่งขณะนี้ได้ไล่ออกแล้ว 30 คน” น.ส.พรพิตร กล่าว
น.ส.พรพิตร กล่าวอีกว่า ผู้ต้องขังยาเสพติดบางคน มีกำลังทรัพย์ที่สูงมาก ซึ่งทางกรมราชทัณฑ์จับกลุ่มเด็กได้หลายคน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาวิศวะ ที่ได้รับการว่าจ้าง โดยเป็นบุคคลที่มีความรู้ทางด้านวิศวกรรม สำหรับการยิงจรวจเข้ามายังเรือนจำ ทั้งนี้ตนเห็นว่าควรจะมีกระบวนการยึดทรัพย์ที่ต้องทำให้รอบคอบมากยิ่งขึ้น เพราะผู้ต้องขังเหล่านั้นมักจะมีวิธีการซุกซ่อนเงินไปยังบุคคลต่างๆ ที่สามารถกระทำการตรวจสอบได้ยากด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางคณะกรรมาธิการ ได้เชิญ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เข้าชี้แจง แต่ ร.ต.อ.เฉลิม ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ติดภารกิจเร่งด่วน จึงขอเลื่อนเข้าชี้แจงในวันที่ 8 ก.พ.ต่อไป
วันนี้ (1 ก.พ.) ที่รัฐสภา การประชุมคณะกรรมการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ โดยมี นายเหวง โตจิราการ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ที่ประชุมได้เชิญ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล นายอนุชา อัครพิศาล ผู้อำนวยการส่วนพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และ น.ส.พรพิตร นรภูมิพิภัชน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เข้าให้ข้อมูลมาตรการการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด
โดย นายอนุชา กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลได้กำหนดให้การปราบปรามยาเสพติดเป็นนโยบายเร่งด่วนนั้น ได้มีกรอบความคิดหลักในการดำเนินการต่อ 3 กลุ่มเป้าหมาย ตัด 3 วงจรปัญหา ได้แก่ 1.ผู้ผลิต ผู้ค้ายาเสพติด โดยจะเน้นหลักนิติธรรม ในการปราบปรามลงโทษ 2.ผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม และ 3.กลุ่มเสี่ยง ต้องป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปเข้าเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งจากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นพบว่า มีการลำเลียงยาเสพติดจากทางประเทศลาวตอนเหนือ กระจายออกไปตามแหล่งพักยาเสพติด หมู่บ้านริมน้ำโขง ในประเทศลาว และอีกส่วนหนึ่งลำเลียงเข้ามายังตอนใต้เข้าสู่ประเทศกัมพูชา ในปัจจุบันยังพบว่า การนำเข้ายาเสพติดมีปริมาณน้อยกว่าการลักรอบนำเข้ายาไอซ์ และยังมีการลักลอบเข้ามายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วย
นายอนุชา กล่าวอีกว่า ในส่วนของกลไกการแก้ไขของ ป.ป.ส.ในระดับอำเภอ จะมีการจัดทีม 5 เสือขึ้น ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ผบ.หน่วยทหารในพื้นที่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผอ.เขตการศึกษา ทุกเขต โดยแบ่งเป็นทีมปฏิบัติการระดับอำเภอ โดยจะมีชุดวิทยาการกระบวนการ ชุดวิทยากรตำบล และชุดประชาคมหมู่บ้าน เพื่อคอยทำหน้าที่สอดส่องและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน ทั้งนี้จากผลการดำเนินการ ภาพรวมสถานการณ์ยาเสพติดในรอบ 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย.2554 - 11 ม.ค.2555 พบว่า ยังมีความรุนแรงทั้งการผลิต การนำเข้ายาเสพติดจากนอกประเทศ และการแพร่ระบาดภายในประเทศ แต่ผลการจับกุมยาเสพติดรายสำคัญที่มีของกลางจำนวนมาก ทำให้ปริมาณยาเสพติดในตลาดหาได้ยากขึ้นในบางพื้นที่ และสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดก็มีแนวโน้มลดลง และในเดือน ม.ค. - มี.ค.2555 จะมีการเร่งรัดปฏิบัติการใน 2 ประการ คือ 1.การลดสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่มีปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่สำคัญอย่างเป็นรูปธรรม 2.ประสานงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อนำไปสู่การกำหนดวาระภูมิภาค
ด้าน พล.ต.ต.วิชัย กล่าวว่า ตนเห็นว่า ปัญหายาเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องยอมรับว่าปัญหายาเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอาชญากรรมทุกประเภท อาทิ การฆ่าข่มขืน การชิงทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งหากจะลดปัญหาอาชญากรรมต้องลดปัญหายาเสพติดด้วย ที่สำคัญ ปัญหายาเสพติดในขณะนี้มีเด็ก และเยาวชน เข้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุด ทั้งนี้ ทางตำรวจนครบาล จะดำเนินมาตรการอย่างเคร่งครัด ประกอบด้วย 1.สืบสวนปราบปรามผู้ผลิต จำหน่ายทุกประเภท อย่างจริงจังและเด็ดขาด 2.สกัดกั้นยับยั้งการแพร่ระบาดอย่างยั่งยืน 3.ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด 4.สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน และกลุ่มเสี่ยง 5.ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งนี้จะดำเนินการกับข้าราชการที่เขาไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือมีการเอื้อประโยชน์กัน ซึ่งตนก็ได้ขอรายชื่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุก สน.ว่า มีข้าราชการคนใดมีส่วนรู้เห็นบ้าง ซึ่งนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ คือ การจับกลุ่มผู้ค้ารายย่อยมาดำเนินคดี ซึ่งตนเห็นว่าทาง กทม.และตำรวจควรจะเข้ามาดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้การตรวจจับ และสอดส่องมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้าน น.ส.พรพิตร กล่าวว่า สำหรับมาตรการป้องกันในเรือนจำ ทางกรมราชทัณฑ์ ได้มีมาตรการจำแนกผู้ต้องขังรายสำคัญ หรือรายใหญ่ หรือสามเอ ที่เรือนจำกลางเขาบิน จ.ราชบุรี เนื่องจากเป็นเรือนจำที่มีลักษณะทางกายภาพในการควบคุมผู้ต้องขังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบตัดสัญญาณโทรศัพท์ เพื่อควบคุมการติดต่อจากภายนอกได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งต้องยอมรับว่าขณะนี้มีความพยายามที่จะนำโทรศัพท์ดาวเทียมเข้าสู่เรือนจำ แต่ก็สามารถทำการสกัดกั้นไว้ได้ทัน ทั้งนี้ จำเป็นที่ต้องขอความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทาง ป.ป.ส.และกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เพื่อขอข้อมูลในการแยกแยะผู้ต้องขังรายสำคัญ และกำหนดเรือนจำ 2เอ สำหรับผู้ต้องขังที่มีพฤติกรรมดื้อด้าน ซามูไร หรือพวกลิ่วล้อ โดยบุคคลดังกล่าวจะเป็นนักฆ่า หรือมือปืนรับจ้าง ซึ่งก็จะแยกอยู่ในเรือนจำอีก 12 แห่ง และหากมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นก็จะแยกมาอยู่ในเรือนจำปกติ
“จุดอ่อนของเรือนจำแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.เรือนจำขนาดใหญ่ นอกชุมชน มีพื้นที่ที่ผู้ก่อการสามารถดำเนินการลักลอบส่งของเข้าสู่เรือนจำได้ และยังมีอาณาบริเวณสำหรับยิงจรวดได้2.เรือนจำรุ่นเก่า ในชุมชน ซึ่งในบริเวณนั้นจะมีรถสัญจรผ่านค่อนข้างมาก ก็จะสามารถโยนสิ่งของต่างๆเข้ามายังภายในเรือนจำได้ ทั้งนี้ก็จะมีการเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัย อาทิ กล้องซีซีทีวี ระบบการตรวจค้น เครื่องเอ๊กซ์เรย์ เป็นต้น ในส่วนของเจ้าหน้าที่ ที่จะมีบางส่วนเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องในการลักลอบส่งของเข้าเรือนจำ ก็ได้มีการกำหนดมาตรการดำเนินการตามวินัยที่รวดเร็วและเคร่งครัดมากขึ้น โดยให้ออกจากราชการทันที และค่อยดำเนินการสอบสวน ซึ่งขณะนี้ได้ไล่ออกแล้ว 30 คน” น.ส.พรพิตร กล่าว
น.ส.พรพิตร กล่าวอีกว่า ผู้ต้องขังยาเสพติดบางคน มีกำลังทรัพย์ที่สูงมาก ซึ่งทางกรมราชทัณฑ์จับกลุ่มเด็กได้หลายคน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาวิศวะ ที่ได้รับการว่าจ้าง โดยเป็นบุคคลที่มีความรู้ทางด้านวิศวกรรม สำหรับการยิงจรวจเข้ามายังเรือนจำ ทั้งนี้ตนเห็นว่าควรจะมีกระบวนการยึดทรัพย์ที่ต้องทำให้รอบคอบมากยิ่งขึ้น เพราะผู้ต้องขังเหล่านั้นมักจะมีวิธีการซุกซ่อนเงินไปยังบุคคลต่างๆ ที่สามารถกระทำการตรวจสอบได้ยากด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางคณะกรรมาธิการ ได้เชิญ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เข้าชี้แจง แต่ ร.ต.อ.เฉลิม ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ติดภารกิจเร่งด่วน จึงขอเลื่อนเข้าชี้แจงในวันที่ 8 ก.พ.ต่อไป