xs
xsm
sm
md
lg

ชี้ “นิติราษฎร์” ขัด รธน.แนะยื่นศาลสั่งหยุด-รวมตัวต้านด้วยสันติ “บวรศักดิ์” เหน็บทรยศทุนมหิดล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

หน้าเฟซบุ๊กนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ
“บวรศักดิ์” ไม่เอาข้อเสนอ “นิติราษฎร์” บังคับพระมหากษัตริย์สาบานตน แนะแก้ข้อบังคับให้ผู้รับทุนอานันทฯ สาบานตนจะไม่ทรยศต่อพระมหากษัตริย์ จะดีกว่า ย้ำจุดยืน ไม่แก้ รธน.ด้าน “ศาสตรา โตอ่อน” ชี้ “ก๊วนวรเจตน์” เข้าข่าย รธน.มาตรา 68-69 ปชช.มีสิทธิร้องศาลฯ สั่งหยุดการกระทำ หรือต่อต้านด้วยสันติวิธี

หลังจากกลุ่มนิติราษฎร์ได้จัดแถลงข่าวเผยแพร่ข้อเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยอ้างว่าเพื่อการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ศาล กองทัพ และสถาบันการเมือง โดยมีบางมาตราจะกำหนดให้พระมหากษัตริย์ต้องสาบานตนว่าจะปกป้องรัฐธรรมนูญก่อนเข้ารับตำแหน่ง ได้ทำให้เกิดเสียงคัดค้านจากนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และประชาชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้ง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมการสถาบันพระปกเกล้า ที่ได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวทาง เฟซบุ๊ก Borwornsak Uwanno ว่า “ผมว่าก่อนจะแก้รัฐธรรมนูญตามที่พวกคุณเสนอ ควรแก้ข้อบังคับทุนอานันทมหิดลให้ผู้รับทุนสาบานว่าจะไม่เนรคุณและไม่ทรยศต่อพระมหากษัตริย์ผู้พระราชทานทุนจะง่ายกว่ามั้ย ข้อเสนอผมไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญเลย.!!!”

ทั้งนี้ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์บางคน อาทิ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นั้นได้รับทุนอานันทมหิดลไปศึกษาต่อจนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศเยอรมี อย่างไรก็ตาม นายวรเจตน์ มักจะมีข้อเสนอที่หมิ่นเหม่ต่อการก้าวล่วงเบื้องสูงอยู่เสมอ

ด้าน นายศาสตรา โตอ่อน อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หนึ่งในสมาชิกกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ได้แสดงความเห็นทางเฟซบุ๊ก Sattra Toaon ว่า กรณีการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญของคณะนิติราษฎร์เข้าข่ายรัฐธรรมนูญ 2 มาตรา คือ มาตรา 68 (การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย) ที่ระบุว่า “บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

“ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว”

นอกจากนี้ ยังเข้าข่ายมาตรา 69 (การต่อต้านโดยสันติวิธี) ที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้”

นายศาสตรายังตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า หนึ่งในคณะนิติราษฎร์เคยถ่ายเอกสารที่ตนขียนเมื่อครั้งร่วมเคลื่อนไหวกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไปเผยแพร่ ต่อมามีการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อาจารย์คนดังกล่าวก็ไปเป็นกรรมาธิการในอนุกรรมาธิการชุดหนึ่ง แต่ขณะนี้กลับมาเข้ากับคณะนิติราษฎร์เพื่อล้มรัฐธรรมนูญที่ตนมีส่วนร่วม

กำลังโหลดความคิดเห็น