xs
xsm
sm
md
lg

“ปู” นั่งหัวโต๊ะ ครม.ถก 4 พ.ร.ก.ฉาว พิจารณาเงินเยียวยาม็อบ 3 ล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยิ่งลักษณ์ ชินว้ตร (แฟ้มภาพ)
“ยิ่งลักษณ์” นั่งหัวโต๊ะถกประเด็นร้อนใน ครม. ทั้งการขอความเห็นชอบร่าง พ.ร.ก. 4 ฉบับเพื่อใช้งบฯ ฟื้นฟูน้ำท่วม 4 ฉบับ ที่หลายฝ่ายคัดค้าน เพราะกระทบสถานะการเงินของประเทศ ด้าน กยอ.ขออนุมัติงบฯ 2.27 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม พร้อมถกตั้ง กก.ร่วมฯ เอกชนในการขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี ขณะเดียวกันยังพิจารณาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมครอบครัวละ 3 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (10 ม.ค.) ซึ่งมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม มีวาระที่น่าติดตาม ได้แก่ วาระที่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและ รมว.พาณิชย์ ชงเรื่องให้ที่ประชุมพิจาณาร่าง พ.ร.ก.ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างบูรณาการ 4 ฉบับ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์และคัดค้านจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ครม.ตีกลับให้ปรับปรุงในรายละเอียดอีกครั้ง

ร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.... เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท

2. ร่าง พ.ร.ก.เงินกู้เพื่อการบูรณะและฟื้นฟูประเทศที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัย พ.ศ.... จำนวน 3.5 แสนล้านบาท

3. ร่าง พ.ร.ก.จัดตั้งกองทุนประกันภัย จำนวน 5 หมื่นล้านบาท

4. ร่าง พ.ร.ก.แก้ไข พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ ธปท.สามารถปล่อยสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนให้แก่สถาบันการเงิน จำนวน 3 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) จะเสนอให้ที่ประชุมอนุมัติกรอบงบประมาณจำนวน 2.27 ล้านล้านบาท เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ในโครงการเพื่อฟื้นฟูอนาคตประเทศ ใน 4 ด้าน เพื่อลดความเสี่ยงของอุทกภัยหรือหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยอย่างถาวร ด้วยการลงทุนในระบบบริหารจัดการน้ำ โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมืองและพื้นที่อุตสาหกรรม การปรับระบบการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร การปรับปรุงกฎระเบียบภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวทางการจัดหาแหล่งเงินนทุนโดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และการบริหารการลงทุนและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์แรก คือ การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ได้แก่ การพัฒนาเชิงพื้นที่เศรษฐกิจใหม่

ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย การพัฒนาระบบขนส่งคมนาคม เช่นการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งระบบราง การเร่งรัดพัฒนาโครงข่ายขนส่่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล การพัฒนาโครงข่ายขนส่งมวลชนเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม รวมถึงการสร้างวงแหวนรอบที่ 2 เพื่อเป็นคันกั้นน้ำ เป็นต้น

ยุทธศาสตร์สุดท้าย คือ การพัฒนาระบบประกันภัย ให้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างหลักประกันความมั่นคงเศรษฐกิจและสังคมทุกระดับ และรองรับความเสี่ยงที่สำคัญๆ เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัยให้สังคมและประชาชน สร้างมาตรฐานการและการให้บริการคุ้มครองสิทธิแก่ผู้เอาประกันทุกภาคส่วน

ทั้งนี้ กรอบยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ด้านมีเป้าหมายระยะสั้น คือ การสร้างความมั่นใจในทุกภาคส่วนก่อนฤดูฝนปี 2555 โดยจะเป็นการลงทุนในโครงการเร่งด่วนที่จะสามารถป้องกันความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ส่วนระยะยาวคือการลงทุนในส่วนการบริหารจัดการน้ำ โครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่อุตสาหกรรมและการเกษตร รวมถึงการหาแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินโครงการต่าง

นอกจากนี้ยังมีวาระการตั้งคณะกรรมการร่วมเจรจาการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี หลังมีข้อตกลงกับผู้ประกอบการรถขนส่ง และรถสาธารณะ รถแท็กซี่ ที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี จากการประท้วงปิดถนนคัดค้านการขึ้นราคาก๊วซเอ็นจีวี ที่จะดูแลรถแท็กซี่เป็นพิเศษ ผ่านบัตรเครดิตพลังงาน ส่วนภาคขนส่งจะได้รับการชดเชย แต่จะขอคำยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านมติ ครม.

ด้าน วาระ ครม.อื่น กระทรวงการคลังจะเสนอรายงานการนำเข้าสินคค้าฟุ้มเฟือยในไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับทราบ โดยสินค้าฟุ่มเฟือย 3 อันดับแรกได้แก่ น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 104.287 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 21.534 ล้านดอลลาร์ หรือ 26.02 อันดับสอง ได้แก่ นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 98.03 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 45.251 ล้่านดอลลาร์ หรือ 85.74 อันดับที่สามคือผลไม้ มีมูลค่า 85.89 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 8.32 ล้านดอลลาร์ หรือ 10.73%

ส่วน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังเสนอให้ ครม.เห็นชอบเรียกร้องค่าเสียหายบริษัทปอเฮง อินเตอร์เทรด จำกัด จำนวน 2,000 ล้านบาท ในโครงการรับจำนำลำไยอบแห้งในปี 2547 และกระทรวงการคลังขออนุมัติงบประมาณจำนวน 330 ล้านบาท สำหรับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการออมแห่งชาติ

อีกประเด็นที่น่าจับตา คือ กระทรวงยุติธรรมจะของบประมาณสำหรับประกันตัวกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกจับกุมตัวอยู่นนขณะนี้จำนวน 49 ล้านบาท และกรอบงบประมาณเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองปี 2548 เป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลือง เสื้อแดง ชุมนุม จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตรัฐบาลกำหนดกรอบเยียวยาให้ครอบครัวละ 3 ล้านบาท แม้จะเป็นจำนวนเงินที่มากโข แต่แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาเขย่าบอกว่าครอบครัวละ 3 ล้านบาท น้อยเกินไป รัฐบาลต้องจ่ายตามสัญญาเมื่อครั้งหาเสียงให้ครอบครัวละ 10 ล้านบาท หากไม่ให้ตามนี้อาจมีการเคลื่อนไหวต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น