xs
xsm
sm
md
lg

“คำนูณ” ชี้จุดอ่อน กยอ.ไร้อิสระ อยู่ใต้เงา “ครม.ปู” แค่บิ๊กแบ็กกันกระเพื่อมให้รัฐบาล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คำนูณ สิทธิสมาน  (แฟ้มภาพ)
“คำนูณ” ชี้จุดอ่อน กยอ.อยู่ใต้เงา “ครม.ปู” ทำงานไร้อิสระ แค่บิ๊กแบ็กกันแรงกระเพื่อมให้รัฐบาล ไม่กล้าวางยุทธศาสตร์ฉีกนอกกรอบ ขาดการมีส่วนร่วมภาค ปชช. แนะควรทำงานผนวกกับ คกก.ชุด “อานันท์-ประเวศ” ร่วมกันกำหนดอนาคตโยงกับการปฏิรูปประเทศ หวัง “ดร.โกร่ง” มีไอเดียใหม่หาเงินฟื้นฟูโดยไม่ต้องกู้ แนะรีดภาษีจากคนได้ประโยชน์จากคันกั้นน้ำ วอน กทม.ยอมปล่อยมือให้คนฝั่งธนฯ ปกครองตนเอง



นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวอภิปรายในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาเรื่องด่วนขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ตามมาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีการลงมติกรณีปัญหาภัยพิบัติอันเนื่องมาจากอุทกภัยว่า เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ หรือ กยอ. ที่มี ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน ประกอบด้วยดรีมทีมที่มีความรู้ความสามารถหลายคน มาวางยุทธศาสตร์ระยะยาว แต่เสียดายที่ไม่ได้มาร่วมฟังการประชุมของรัฐสภาเพื่อนำไปกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ และก็ดีเพราะรัฐบาลไม่ต้องปรับ ครม.ให้เกิดแรงกระเพื่อม แต่ก็มีจุดอ่อนคือ ไม่มีความเป็นอิสระ เพราะเป็นกรรมการของรัฐบาล ทำให้การวางยุทธศาสตร์ที่จะฉีกกรอบออกไปคงจะทำได้ยากเพราะสถานการณ์ขณะนี้จำเป็นต้องมีแนวคิดใหม่ๆ ฉีกกรอบออกไปจากเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดการมีส่วนร่วมภาคประชาชน เมื่อเทียบกับคณะกรรมการอิสระที่ตั้งขึ้นในยุครัฐบาลชุดที่แล้ว หลังเหตุการณ์ทางการเมือง มีการหยิบฉวยคณะกรรมการจากภาคประชนที่ทำไว้อยู่แล้ว คือชุดชอง นพ.ประเวศ วะสี และชุดของนายอานันท์ ปันยารชุน ที่ทำให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ก็ไม่ขัดข้องถ้าจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นอีกทีม เหมือนบอร์ดบริหาร ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรอง

“ผมเกรงว่า กยอ.อาจเป็นได้เพียงแค่บิ๊กแบ็ก ทำได้แค่ชะลอกระแสน้ำเท่านั้น แต่ถ้าจะทำให้ดียิ่งกว่านั้น คือ ต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมภาคประชาชนเข้าไป” นายคำนูณกล่าวย้ำ

นายคำนูณเสนอว่า การวางนโยบายระยะยาวต้องเชื่อมโยงกับการปฏิรูปประเทศโดยองค์รวม ไม่ควรทิ้งคณะกรรมการชุดของนายอนันต์ และชุดของ นพ.ประเวศ ควรพิจารณาจะเอามาผนวกกันอย่างไร และเห็นด้วยที่จะทำให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นเรื่องถาวร แต่อยากติงวิธีการหาเงินมาทำ ตนคาดเดาว่านายวีรพงษ์อาจจะเสนอให้มีการออกพระราชกำหบดให้ใช้เงินงบประมาณไปพลางก่อน หรือน่าจะเอาทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้หมื่นล้านดอลลาร์ ด้วยการแก้ พ.ร.บ.เงินตรา และ พ.ร.บ.ธปท. หรือ ออก พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อมาฟื้นฟู แต่ตนอยากเห็นแนวคิดใหม่ๆ ที่หาเงินโดยไม่ต้องไปกู้ทั้งหมด หรือไม่กู้เลย คือการเก็บภาษี เช่นอาจจะเรียกเก็บภาษีกับจากคนได้ประโยชน์จากการสร้างคันกั้นน้ำเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม นายคำนูณยังกล่าวในฐานะคนฝั่งธนบุรีว่า กทม.มีขนาดใหญ่เกินไปทำให้บริหารจัดการได้ไม่ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ รัฐบาลควรจะทำบุญกับคนฝั่งธนฯ ด้วยการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแยกฝั่งธนบุรีออกมาจาก กทม. และให้มีผู้ว่าราชการเป็นจองตัวเอง เพื่อให้คนฝั่งธนมีการทำงานที่ต่อเนื่อง
กำลังโหลดความคิดเห็น