เปิดเอกสารลับแฉกระบวนการแทรกแซงสรรหา กสทช. ชี้กฎหมายเปิดช่องให้ฝ่ายบริหารเข้าครอบงำ ขัดเจตนารมณ์ รธน. ปูดเอ็นจีโอเถื่อนเข้ามาเป็นกรรมสรรหา กสทช.ไม่ถูกต้อง แถมมีผลประโยชน์ทับซ้อนเพียบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ในการประชุมวุฒิสภา มีวาระการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบประวัติบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จำนวน 44 คน นายสมชาติ รักษ์ถิ่นไทย ผู้แทนพนักงานชั้นผู้น้อยของสำนักงาน กสทช.ได้นำเอกสารมาแจกจ่ายให้กับสื่อมวลชนประจำรัฐสภา โดยเนื้อหาจะเป็นเรื่องกลุ่มผู้มีกำลังจะเข้ายึดกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งมีสาระสำคัญใน 2 ส่วน ได้แก่ 1.ความมิชอบในกระบวนการยกร่างกฎหมาย คือ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ พ.ร.บ.กสทช. และ 2.เอ็นจีโอที่เป็นกรรมการสรรหามีบทบาทสำคัญในการเลือกผู้เป็น กสทช.
ทั้งนี้ ในส่วนที่ 1 สำนักงาน กสทช.เคยได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบในการร่างกฎหมายมาแล้วหลายครั้งเมื่อปี 2553 ว่าให้ตัดมาตรา 17 วรรคสองออกเนื่องจากการที่มาตราดังกล่าวกำหนดให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบในกรณีที่มีผู้ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการ กสทช.ไม่ครบตามจำนวน โดยให้นายกฯเสนอรายชื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ครบตามจำนวนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันได้รับแจ้ง เท่ากับเป็นการให้ฝ่ายบริหารเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดตั้ง กสทช.โดยตรง เพราะ กสทช.ควรมีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร ซึ่งอาจขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
เช่นเดียวกับการเสนอให้แก้ไขมาตรา 54 บัญญตัติว่า ให้มีคณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ เนื่องจากการกำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯมาจากปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง และผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และสัดส่วนคณะกรรมการนี้เลือกผู้ทรงคุณวุฒิทีเป็นเอ็นจีโอได้อีก 4 คนมาเป็นกรรมการ เห็นว่าที่มาของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ มาจากหน่วยงานของรัฐ ย่อมขัดต่อหลักการความเป็นอิสระของ กสทช.ในการใช้อำนาจกำกับดูแล อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่มาของคณะกรรมการจากเอ็นจีโอ 4 คน เห็นว่า แม้จะมาจากการคัดเลือกของหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวย่อมขัดต่อหลักการของการปฎิบัติงานในรูปของคณะกกรรมการที่อาศัยมติที่ประชุมเสียงข้างมากถึงแม้วว่าจะมาจากหน่วยงานของรัฐแต่อาจเลือกพวกของตนเข้ามาเพื่อเป็นเสียงข้างมากของที่ประชุมทำให้เสียหลักการความเป็นธรรมในการปฎิบัติหน้าที่ได้
สำหรับในส่วนที่ 2 กรรมการสรรหา กสทช.ที่มาจากองค์กรภาครัฐมีจำนวนเพียง 6 คน แต่กรรมการที่มาจากองค์กรเอ็นจีโอกลับมีจำนวนมากถึง 9 คน ซึ่งเป็นเสียงข้างมากจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการลือกผู้ได้รับเลือกเป็น กสทช. มีผลเท่ากับว่า กสทช.ได้รับการคัดเลือกจากองค์กรเอ็นจีโอ ซึ่งเป็นองค์กรที่จะต้องมาขอใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมจาก กสทช.และองค์กรเหล่านี้ยังอยู่ในกำกับของ กสทช.ในฐานะผู้ประกอบการดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นผลตอบแทนซึ่งกันและกัน
กรรมการสรรหาที่มาจากองค์กรเอ็นจีโอ ทั้งหมด 9 องค์กรมี 6 องค์กรมิได้เป็นนิติบุคคลและใน 6 องค์กรมี 2 องค์กรมิได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 1.นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ กรรมการสรรหาในฐานะประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่ตั้งโดยมิชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากการตั้งองค์กรที่มีชื่อหรือมีลักษณะเป็นสภาจะต้องจัดตั้งโดย พ.ร.บ.เช่น สภาทนายความแห่งประเทศไทย สภาสถาปนิกแห่งประเทศไทย เป็นต้น แต่สภาคนพิการฯ เป็นการรวมตัวขององค์กรคนพิการบางส่วนที่จัดตั้งสภาคนพิการกันเองและไม่ได้เป็นตัวแทนขององค์กรของคนพิการทุกภาคส่วนที่มีกฎหมายรับรอง ดังนั้น นายชูศักดิ์จึงไม่อาจเป็นกรรมการสรรหาตามมาตรา 14 ได้
2.นางสุวรรณา สมบัติรักษาสุข กรรมการสรรหาในฐานะประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย เป็นองค์กรที่จัดตั้งโดยมิชอบด้วยกฎหมายเพราะการตั้งองค์กรที่มีลักษณะเป็นสภาต้องตั้งโดย พ.ร.บ.แต่กรณีนี้เป็นนกลุ่มบุคคลที่รวมตัวจัดตั้งกันเอง ดังนั้น นางสุวรรณาจึงไม่อาจเป็นกรรมการสรรหาตามมาตรา 14 ได้
3.นายบุญส่ง จันทร์ส่องรัศมี กรรมการในฐานะประธานสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติเป็นองค์กรที่จัดตั้งกันเองมิได้เป็นนิติบุคคล อีกทั้งปรากฎว่าปัจจุบันยังไม่มีสถานีวิทยุชุมชนใดที่ได้รับอนุญาตใหประกอบกิจการตามกฎหมายได้ มีแต่การกล่าวอ้างว่าเป็นสถานีวิทยุชุมชน ซึ่งเป็นสถานีวิทยุที่ตั้งขึ้นโดยผิดกฎหมาย ประธานสหพันธ์ฯจึงเป็นเพียงประธานของสถานีวิทยุชุมชนที่มิได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุชุมชนตามกฎหมาย ดังนั้น นายบุญส่งไม่อาจเป็นกรรมการสรรหาตามมาตรา 14 ได้
4.น.ส.บุญยืน ศิริธรรม กรรมการสรรหาในฐานประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค เป็นองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่รวมตัวกันเองตั้งเป็นสหพันธ์ ซึ่งเป็นที่รวมขององค์กรผู้บริโภคทุกองค์กรไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล องค์กรนี้ไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็นกรรมการสรรหากสทช.ตาามมาตรา 14 และตามข้อเท็จจริง น.ส.บุญยืน เป็นเพียงกรรมการของมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคเท่านั้น
5.นางจำนรรค์ ศิริตัน กรรมการสรรหาในฐานะนายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ การเป็นสหพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ดังกล่าว เป็นการกล่าวอ้างของกลุ่มองค์กรเพียงบางส่วนที่รวมตัวกันโดยอ้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแล้วเลือกนายกสหพันธ์กันเอง ไม่ได้มีบทบัญญัติของกฎหมายให้การรับรองสถานะของสหพันธ์ การเป็นสหพันธ์ฯองค์กรที่รวมตัวกันเช่นนี้จึงไม่มีความเหมาะสมที่กฎหมายจะให้การรับรองตั้งหัวหน้าองค์กรให้เป็นกรรมการสรรหา กสทช.ซึ่งจะเป้นผู้กำกับดูแลกิจการที่สำคัญระดับชาติ
6.นายไพโรจน์ พลเพชร กรรมการสรรหาในฐานประธานคณะกรรมกการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน เป็นการรวมตัวของกลุ่มบุคคลและมิไดเป็นนิติบุคคล จึงไม่เหมาะสมที่จะเข้ามาเป็นกรรมการสรรหา กสทช.ตามมาตรา 14 ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการที่สำคัญในระดับชาติ นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้มีสิทธิได้รับเลือกเป็น กสทช. โดยทั้งสองคนได้ทำงานที่เดียวกัน และนายไพโรจน์ได้มีหนังสือลงวันที่ 26 ม.ค. 2552 ถึงประธานคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แต่งตั้ง น.ส.สุภิญญา ผู้แทนคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน เป็นผู้เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551