นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ความคุ้นชินต่อ “บัตรประจำตัวประชาชน” ที่เคยจดจำกันว่า ผู้ถือสัญชาติไทยจะมีสิทธิ์ทำบัตรและครอบครองบัตรนี้ได้ ก็ต่อเมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์เท่านั้น โดยเด็กชายก็เปลี่ยนคำนำหน้าเป็น “นาย” และเด็กหญิงทั้งหลายก็ต้องเปลี่ยนเป็น “นางสาว” ในคราวเดียวกันนี้ จะถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อกฎหมายใหม่กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ หรือ “เด็ก 7 ขวบ” ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 ก.ค.หรือเมื่อวานนี้
กฎหมายที่ว่าก็คือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ที่มีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา สาระสำคัญกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ ต้องยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน ส่วนเด็กอายุ 7ปีขึ้นไปถึงก่อนครบ 15 ปี ต้องขอมีบัตรประชาชนภายใน 1 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดมีโทษปรับ 100 บาท
และเมื่อสื่อมวลชนรายงานข่าวนี้ออกมา ก็ได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ส่วนใหญ่หนักไปทางไม่เข้าใจถึงเหตุจำเป็นการที่บังคับให้เด็ก 7 ขวบต้องมีบัตรประชาชน
โดยกลุ่มผู้สนับสนุนกฎหมายนี้ก็อ้างว่าเป็นการสนับสนุนให้รัฐให้ความคุ้มครองสิทธิแก่บุคคลสัญชาติไทย ผู้มีเอกสารครบถ้วนได้อย่างทั่วถึง และเป็นประโยชน์ในการยืนยันตัวบุคคล อีกทั้งยังเป็นการรักษาสิทธิของคนไทย หลีกเลี่ยงบุคคลต่างด้าวมาแสวงผลประโยชน์ได้
หากมองใน “แง่บวก” ก็พบว่า เมื่อต้องการใช้บริการของรัฐ สามารถนำเอาบัตรเด็กไปแสดงได้ โดยที่ผู้ปกครองไม่ต้องพกหลักฐานหรือเอกสารอื่นๆให้ยุ่งยาก
จึงถือว่ากฎหมายฉบับนี้มีหลักการที่ดี แต่หากมองถึงผลกระทบใน “แง่ลบ” ก็จะได้ออกมาเป็น “หางว่าว”
เพราะอย่างไรเสียเด็กก็ยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอในการทำนิติกรรมหรือธุรกรรมใดๆ ต้องให้ผู้ปกครองดูแลถือบัตรแทนอยู่ดี อีกทั้งช่วงอายุที่กฎหมายกำหนดก็เป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการสูง รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปมาก บัตรที่ทำอาจไม่สามารถระบุรูปพรรณสัณฐานได้ชัดเจน ทำให้เกิดความยุ่งยากในการใช้ประกอบการแสดงตัวอีกต่างหาก สุดท้ายก็ต้องให้พ่อแม่ผู้ปกครองมารับรองอยู่ดี
หรือหากต้องการระบุเพียงเลขประจำตัวประชาชน น่าจะมุ่งพัฒนา “บัตรประจำตัวนักเรียน” ที่เด็กมีกันอยู่ทุกคนมากกว่า
ที่สำคัญด้วยความเป็นเด็กอาจทำบัตรตกหล่นสูญหายได้โดยง่าย กลายเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ปกครองและเด็กอีกด้วย รวมไปถึงคำถามที่ว่ากฎหมายที่บังคับให้คนไทยต้องพกบัตรประชาชนจะบังคับให้กับเด็ก 7 ขวบด้วยหรือไม่ เพราะเชื่อว่าส่วนใหญ่ไม่มีเด็กที่ไหนพกบัตรประชาชนแน่ ดังนั้นหากถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจและไม่มีบัตรแสดง เจ้าหน้าที่สามารถเรียกปรับได้ ตรงนี้ได้เตรียมมาตรการรองรับไว้หรือไม่
หรือจะเป็นการเปิดช่องให้ตำรวจ “หากิน” กับเด็กๆ
มองได้ไม่ผิดว่าจุดกำเนิดของเรื่องนี้เป็น “ใบสั่ง” มาจากฝ่ายการเมือง โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดที่มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นายกรัฐมนตรี และมีชวรัตน์ ชาญวีรกุล เป็น รมว.มหาดไทย เป็นผู้ผลักดันและเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อตราออกมาเป็นกฏหมาย โดยในร่างของ ครม.เชื่อหรือไม่ว่ามีการกำหนดให้เด็กที่เกิดมามีอายุครบ 1 ปี ก่อนที่วุฒิสภาจะแก้ไขช่วงสุดท้ายให้เป็น 7ปีในที่สุด
และเมื่อโครงการนี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กรมการปกครอง ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ยุคที่ “สิงห์ห้อย” เป็นใหญ่นั้น ก็มองได้ว่าที่มาที่ไปของโครงการย่อมมีกลิ่นทะแม่งๆ ตามสไตล์ของ “ค่ายสีน้ำเงิน” พรรคภูมิใจไทย ที่ไม่ว่าแตะโครงการก็มีกลิ่นโชยของการทุจริตคอร์รัปชันเสมอ
โดยเฉพาะใน กระทรวงคลองหลอด ที่พรรคภูมิใจไทยยึดครองมาตั้งแต่เริ่มรัฐบาลอภิสิทธิ์ ช่วงปลายปี 51 ก็มี “ข่าวฉาว” ออกมาไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งการแต่งตั้งโยกย้ายที่เคยจับตามองแล้วว่าสิงห์สีไหนจะเข้าวิน แต่มายุคนี้กลายเป็น “สีน้ำเงิน” ยกแผง เริ่มตั้งแต่ตำแหน่งระดับล่างอย่างการสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ จนไปถึงระดับผู้ว่าฯ อธิบดี ที่ว่ากันว่าจ่ายกันเป็นตัวเลขถึง 9 หลัก
หรือการจัดซื้อจัดจ้างที่ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั่ว ไม่ต่างจากกลิ่น“น้ำเน่า” ในคลองหลอดปัจจุบัน ทั้งโครงการเช่าคอมพิวเตอร์กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย หรือ “คอมพ์ฉาว” มูลค่า 3,490 ล้านบาท และโครงการจัดทำบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์แบบอเนกประสงค์ หรือ “สมาร์ทการ์ด” ที่ตอนนี้อยู่ในมือของ ป.ป.ช.แล้ว
ซึ่งเป็นเหตุให้ วงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ ฮีโร่ของชาวคลองหลอดต้องถูกพิษการเมืองเล่นงานต้องหลุดจากตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครองส่งไปอยู่บนหิ้งเป็นผู้ตรวจราชการ ก่อนที่ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)จะคืนความเป็นธรรมให้ แต่ฝ่ายการเมืองก็ไม่รู้ร้อนรู้หนาว “เตะถ่วง” ไม่คืนตำแหน่งให้จนใกล้จะเกษียณอายุราชการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
โครงการ “บัตรเด็ก” นี้ก็เช่นกันที่แม้จะเป็นไปตามกฎหมายใหม่กำหนด แต่ที่ไปที่มาก็มีความไม่ชอบมาพากล ทั้งด้านเหตุผลความจำเป็น และความคุ้มค่าต่องบประมาณที่ลงทุนไป อย่างน้อยก็ทำให้ “เหลือบไร” ในกระทรวงมหาดไทย “สบช่อง” การใช้จ่ายงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งด้านบุคลากร และเครื่องมือเครื่องไม้ต่างๆ
โดยเฉพาะเมื่อดูจำนวนเด็กอายุตั้งแต่ 7 ขวบ-14 ปีทั่วประเทศที่ปัจจุบันมีมากกว่า 8 ล้านคน ก็ต้องมีคำถามถึงพร้อมในกระบวนการออกบัตร และบัตรสมาร์ทการ์ดในปัจจุบันมีเพียงพอหรือไม่ เพราะขนาดแค่กลุ่มคนที่มีอายุ 15ปีขึ้นไป หรือคนที่จำเป็นต้องทำบัตรเดิม หน่วยงานก็ยังไม่สามารถออกให้ได้ครบถ้วน อย่างเมื่อวันเลือกตั้ง 3 ก.ค.ที่ผ่านมา ก็ยังต้องมีคนที่ใช้บัตรเหลืองคู่กับใบขับขี่แทนการใช้บัตรจริง หากต้องมาเพิ่มการออกบัตรของเด็กมาเพิ่มอีกหลายล้านคน จะมีการจัดการได้อย่างทันท่วงทีอย่างไร
ยังไม่รวมคนไทยในประเทศอีกราว 3 ล้านคนที่จัดอยู่ในกลุ่ม “คนไร้สัญชาติ” ทั้งที่เกิดในประเทศไทยอันเนื่องจากไม่มีใบเกิด ตกสำรวจทะเบียนราษฎร ฯลฯ และเมื่อกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้ คนเหล่านี้ก็ยังคงเป็นผู้ตกสำรวจ ไร้สิทธิต่างๆ ที่พึงได้ต่อไป
นอกจากเป็นการเพิ่มภาระให้สังคมแล้ว ยังเป็นการเพิ่มหน้าที่ให้กับ“หัวหอกสำคัญ” ของเรื่องนี้อย่างกระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครองอีกด้วย ที่วันนี้ยังไม่สามารถทำหน้าที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชนคนไทยได้อย่างทั่วถึงเลย กลับนำงบประมาณไปจมกับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
เปรียบเหมือนการ “สร้างสะพานในที่ที่ไม่มีแม่น้ำ” ก็ไม่ผิดนัก
นี่คือการเมืองสไตล์ “สิงห์ห้อย” ที่หากินจนหยดสุดท้าย ไม่เว้นกระทั่งเด็กน้อยตาดำๆ แม้ว่าวันนี้จะรู้ตัวว่า หมดอำนาจวาสนาในการแสวงหาผลประโยชน์ใน “กระทรวงคลองหลอด” นี้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีจังหวะให้ “ทิ้งทวน” กันจนถึงวาระสุดท้าย
กลายเป็น “มรดกบาป” แห่งยุคมืดของ “มหาดไทย”
กฎหมายที่ว่าก็คือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ที่มีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา สาระสำคัญกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ ต้องยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน ส่วนเด็กอายุ 7ปีขึ้นไปถึงก่อนครบ 15 ปี ต้องขอมีบัตรประชาชนภายใน 1 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดมีโทษปรับ 100 บาท
และเมื่อสื่อมวลชนรายงานข่าวนี้ออกมา ก็ได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ส่วนใหญ่หนักไปทางไม่เข้าใจถึงเหตุจำเป็นการที่บังคับให้เด็ก 7 ขวบต้องมีบัตรประชาชน
โดยกลุ่มผู้สนับสนุนกฎหมายนี้ก็อ้างว่าเป็นการสนับสนุนให้รัฐให้ความคุ้มครองสิทธิแก่บุคคลสัญชาติไทย ผู้มีเอกสารครบถ้วนได้อย่างทั่วถึง และเป็นประโยชน์ในการยืนยันตัวบุคคล อีกทั้งยังเป็นการรักษาสิทธิของคนไทย หลีกเลี่ยงบุคคลต่างด้าวมาแสวงผลประโยชน์ได้
หากมองใน “แง่บวก” ก็พบว่า เมื่อต้องการใช้บริการของรัฐ สามารถนำเอาบัตรเด็กไปแสดงได้ โดยที่ผู้ปกครองไม่ต้องพกหลักฐานหรือเอกสารอื่นๆให้ยุ่งยาก
จึงถือว่ากฎหมายฉบับนี้มีหลักการที่ดี แต่หากมองถึงผลกระทบใน “แง่ลบ” ก็จะได้ออกมาเป็น “หางว่าว”
เพราะอย่างไรเสียเด็กก็ยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอในการทำนิติกรรมหรือธุรกรรมใดๆ ต้องให้ผู้ปกครองดูแลถือบัตรแทนอยู่ดี อีกทั้งช่วงอายุที่กฎหมายกำหนดก็เป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการสูง รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปมาก บัตรที่ทำอาจไม่สามารถระบุรูปพรรณสัณฐานได้ชัดเจน ทำให้เกิดความยุ่งยากในการใช้ประกอบการแสดงตัวอีกต่างหาก สุดท้ายก็ต้องให้พ่อแม่ผู้ปกครองมารับรองอยู่ดี
หรือหากต้องการระบุเพียงเลขประจำตัวประชาชน น่าจะมุ่งพัฒนา “บัตรประจำตัวนักเรียน” ที่เด็กมีกันอยู่ทุกคนมากกว่า
ที่สำคัญด้วยความเป็นเด็กอาจทำบัตรตกหล่นสูญหายได้โดยง่าย กลายเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ปกครองและเด็กอีกด้วย รวมไปถึงคำถามที่ว่ากฎหมายที่บังคับให้คนไทยต้องพกบัตรประชาชนจะบังคับให้กับเด็ก 7 ขวบด้วยหรือไม่ เพราะเชื่อว่าส่วนใหญ่ไม่มีเด็กที่ไหนพกบัตรประชาชนแน่ ดังนั้นหากถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจและไม่มีบัตรแสดง เจ้าหน้าที่สามารถเรียกปรับได้ ตรงนี้ได้เตรียมมาตรการรองรับไว้หรือไม่
หรือจะเป็นการเปิดช่องให้ตำรวจ “หากิน” กับเด็กๆ
มองได้ไม่ผิดว่าจุดกำเนิดของเรื่องนี้เป็น “ใบสั่ง” มาจากฝ่ายการเมือง โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดที่มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นายกรัฐมนตรี และมีชวรัตน์ ชาญวีรกุล เป็น รมว.มหาดไทย เป็นผู้ผลักดันและเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อตราออกมาเป็นกฏหมาย โดยในร่างของ ครม.เชื่อหรือไม่ว่ามีการกำหนดให้เด็กที่เกิดมามีอายุครบ 1 ปี ก่อนที่วุฒิสภาจะแก้ไขช่วงสุดท้ายให้เป็น 7ปีในที่สุด
และเมื่อโครงการนี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กรมการปกครอง ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ยุคที่ “สิงห์ห้อย” เป็นใหญ่นั้น ก็มองได้ว่าที่มาที่ไปของโครงการย่อมมีกลิ่นทะแม่งๆ ตามสไตล์ของ “ค่ายสีน้ำเงิน” พรรคภูมิใจไทย ที่ไม่ว่าแตะโครงการก็มีกลิ่นโชยของการทุจริตคอร์รัปชันเสมอ
โดยเฉพาะใน กระทรวงคลองหลอด ที่พรรคภูมิใจไทยยึดครองมาตั้งแต่เริ่มรัฐบาลอภิสิทธิ์ ช่วงปลายปี 51 ก็มี “ข่าวฉาว” ออกมาไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งการแต่งตั้งโยกย้ายที่เคยจับตามองแล้วว่าสิงห์สีไหนจะเข้าวิน แต่มายุคนี้กลายเป็น “สีน้ำเงิน” ยกแผง เริ่มตั้งแต่ตำแหน่งระดับล่างอย่างการสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ จนไปถึงระดับผู้ว่าฯ อธิบดี ที่ว่ากันว่าจ่ายกันเป็นตัวเลขถึง 9 หลัก
หรือการจัดซื้อจัดจ้างที่ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั่ว ไม่ต่างจากกลิ่น“น้ำเน่า” ในคลองหลอดปัจจุบัน ทั้งโครงการเช่าคอมพิวเตอร์กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย หรือ “คอมพ์ฉาว” มูลค่า 3,490 ล้านบาท และโครงการจัดทำบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์แบบอเนกประสงค์ หรือ “สมาร์ทการ์ด” ที่ตอนนี้อยู่ในมือของ ป.ป.ช.แล้ว
ซึ่งเป็นเหตุให้ วงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ ฮีโร่ของชาวคลองหลอดต้องถูกพิษการเมืองเล่นงานต้องหลุดจากตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครองส่งไปอยู่บนหิ้งเป็นผู้ตรวจราชการ ก่อนที่ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)จะคืนความเป็นธรรมให้ แต่ฝ่ายการเมืองก็ไม่รู้ร้อนรู้หนาว “เตะถ่วง” ไม่คืนตำแหน่งให้จนใกล้จะเกษียณอายุราชการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
โครงการ “บัตรเด็ก” นี้ก็เช่นกันที่แม้จะเป็นไปตามกฎหมายใหม่กำหนด แต่ที่ไปที่มาก็มีความไม่ชอบมาพากล ทั้งด้านเหตุผลความจำเป็น และความคุ้มค่าต่องบประมาณที่ลงทุนไป อย่างน้อยก็ทำให้ “เหลือบไร” ในกระทรวงมหาดไทย “สบช่อง” การใช้จ่ายงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งด้านบุคลากร และเครื่องมือเครื่องไม้ต่างๆ
โดยเฉพาะเมื่อดูจำนวนเด็กอายุตั้งแต่ 7 ขวบ-14 ปีทั่วประเทศที่ปัจจุบันมีมากกว่า 8 ล้านคน ก็ต้องมีคำถามถึงพร้อมในกระบวนการออกบัตร และบัตรสมาร์ทการ์ดในปัจจุบันมีเพียงพอหรือไม่ เพราะขนาดแค่กลุ่มคนที่มีอายุ 15ปีขึ้นไป หรือคนที่จำเป็นต้องทำบัตรเดิม หน่วยงานก็ยังไม่สามารถออกให้ได้ครบถ้วน อย่างเมื่อวันเลือกตั้ง 3 ก.ค.ที่ผ่านมา ก็ยังต้องมีคนที่ใช้บัตรเหลืองคู่กับใบขับขี่แทนการใช้บัตรจริง หากต้องมาเพิ่มการออกบัตรของเด็กมาเพิ่มอีกหลายล้านคน จะมีการจัดการได้อย่างทันท่วงทีอย่างไร
ยังไม่รวมคนไทยในประเทศอีกราว 3 ล้านคนที่จัดอยู่ในกลุ่ม “คนไร้สัญชาติ” ทั้งที่เกิดในประเทศไทยอันเนื่องจากไม่มีใบเกิด ตกสำรวจทะเบียนราษฎร ฯลฯ และเมื่อกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้ คนเหล่านี้ก็ยังคงเป็นผู้ตกสำรวจ ไร้สิทธิต่างๆ ที่พึงได้ต่อไป
นอกจากเป็นการเพิ่มภาระให้สังคมแล้ว ยังเป็นการเพิ่มหน้าที่ให้กับ“หัวหอกสำคัญ” ของเรื่องนี้อย่างกระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครองอีกด้วย ที่วันนี้ยังไม่สามารถทำหน้าที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชนคนไทยได้อย่างทั่วถึงเลย กลับนำงบประมาณไปจมกับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
เปรียบเหมือนการ “สร้างสะพานในที่ที่ไม่มีแม่น้ำ” ก็ไม่ผิดนัก
นี่คือการเมืองสไตล์ “สิงห์ห้อย” ที่หากินจนหยดสุดท้าย ไม่เว้นกระทั่งเด็กน้อยตาดำๆ แม้ว่าวันนี้จะรู้ตัวว่า หมดอำนาจวาสนาในการแสวงหาผลประโยชน์ใน “กระทรวงคลองหลอด” นี้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีจังหวะให้ “ทิ้งทวน” กันจนถึงวาระสุดท้าย
กลายเป็น “มรดกบาป” แห่งยุคมืดของ “มหาดไทย”