ปธ.กมธ.เศรษฐกิจวุฒิฯ จี้ รัฐบาลใหม่เร่งจัดสร้างรถไฟความเร็วสูงข้ามทวีปอาเซียน จากประเทศจีน-สิงคโปร์ 2 ล้านล้านบาท ระบุ หากล่าช้าทำไทยเสียประโยชน์มหาศาล และสูญเสียโอกาสในการเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าเกษตร การท่องเที่ยว การขนส่งในภูมิภาค
วันที่ (24 พ.ค.) ที่รัฐสภา นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ขอนแก่น ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา กล่าวถึงความล่าช้าของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-หนองคาย, กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์, กรุงเทพฯ-ระยอง, กรุงเทพฯ-อุบล เพื่อให้ตอบสนองต่อโครงการรถไฟข้ามทวีปอาเซียน (Trans-Asian Railway) ของประเทศจีน และประเทศอาเซียน ว่า รัฐบาลไทยยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลจีนถึงเงื่อนไขต่างๆ ในการก่อสร้างได้ เนื่องจากโครงการดังกล่าว นายอภิสิทธิ์ ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ศึกษา โดยให้บริษัทเอกชนเข้าบริหารแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แต่ได้รับการคัดค้านจากกระทรวงคมนาคม ว่า ร.ฟ.ท.มีศักยภาพในการบริหารมากกว่าบริษัทเอกชน จึงทำให้โครงการดังกล่าวหยุดชะงักไป ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนจำนวน 2 ล้านล้านบาท
นายประเสิรฐ กล่าวว่า ความล่าช้าดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อโครงการรถไฟข้ามทวีปอาเซียน ทั้ง 3 เส้นทาง ได้แก่ 1.คุนหมิง-ลาว-หนองคาย-กรุงเทพฯ-มาเลเซีย-สิงคโปร์ 2.คุนหมิง-พม่า-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-มาเลเซีย-สิงคโปร์ และ 3.หนานหนิง-เวียดนาม-กัมพูชา-อรัญประเทศ-กรุงเทพฯ-มาเลเซีย-สิงคโปร์ ซึ่งจะเชื่อมประเทศจีน และประเทศอาเซียนเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยประเทศไทยจะสามารถเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าเกษตร การท่องเที่ยว การขนส่ง ฯลฯ ได้ โดยขณะนี้เส้นทางคุนหมิง-ลาว (สิ้นสุดที่นครเวียงจันทร์ ตรงข้าม จ.หนองคาย) รัฐบาลจีนได้เริ่มก่อสร้างแล้ว และจะแล้วเสร็จในปี 2558 ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างใดๆ ซึ่งตนเห็นว่าเป็นเรื่องล่าช้า และน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยรัฐบาลใหม่จะต้องเร่งดำเนินการก่อสร้างให้สำเร็จทันการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 มิเช่นนั้นประเทศไทยอาจเสียโอกาสทางเศรษฐกิจและการค้าตามจุดกระจายสินค้าที่รถไฟความเร็วสูงจอดซึ่งมีมูลค่ามหาศาลให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านได้
วันที่ (24 พ.ค.) ที่รัฐสภา นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ขอนแก่น ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา กล่าวถึงความล่าช้าของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-หนองคาย, กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์, กรุงเทพฯ-ระยอง, กรุงเทพฯ-อุบล เพื่อให้ตอบสนองต่อโครงการรถไฟข้ามทวีปอาเซียน (Trans-Asian Railway) ของประเทศจีน และประเทศอาเซียน ว่า รัฐบาลไทยยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลจีนถึงเงื่อนไขต่างๆ ในการก่อสร้างได้ เนื่องจากโครงการดังกล่าว นายอภิสิทธิ์ ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ศึกษา โดยให้บริษัทเอกชนเข้าบริหารแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แต่ได้รับการคัดค้านจากกระทรวงคมนาคม ว่า ร.ฟ.ท.มีศักยภาพในการบริหารมากกว่าบริษัทเอกชน จึงทำให้โครงการดังกล่าวหยุดชะงักไป ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนจำนวน 2 ล้านล้านบาท
นายประเสิรฐ กล่าวว่า ความล่าช้าดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อโครงการรถไฟข้ามทวีปอาเซียน ทั้ง 3 เส้นทาง ได้แก่ 1.คุนหมิง-ลาว-หนองคาย-กรุงเทพฯ-มาเลเซีย-สิงคโปร์ 2.คุนหมิง-พม่า-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-มาเลเซีย-สิงคโปร์ และ 3.หนานหนิง-เวียดนาม-กัมพูชา-อรัญประเทศ-กรุงเทพฯ-มาเลเซีย-สิงคโปร์ ซึ่งจะเชื่อมประเทศจีน และประเทศอาเซียนเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยประเทศไทยจะสามารถเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าเกษตร การท่องเที่ยว การขนส่ง ฯลฯ ได้ โดยขณะนี้เส้นทางคุนหมิง-ลาว (สิ้นสุดที่นครเวียงจันทร์ ตรงข้าม จ.หนองคาย) รัฐบาลจีนได้เริ่มก่อสร้างแล้ว และจะแล้วเสร็จในปี 2558 ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างใดๆ ซึ่งตนเห็นว่าเป็นเรื่องล่าช้า และน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยรัฐบาลใหม่จะต้องเร่งดำเนินการก่อสร้างให้สำเร็จทันการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 มิเช่นนั้นประเทศไทยอาจเสียโอกาสทางเศรษฐกิจและการค้าตามจุดกระจายสินค้าที่รถไฟความเร็วสูงจอดซึ่งมีมูลค่ามหาศาลให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านได้