ปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 พรรคเพื่อไทย นอมินีสายเลือด “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” น้องสุดรักซึ่งได้รับความไว้วางใจสูงสุดจาก “ทักษิณ ชินวัตร” มาแต่ไหนแต่ไร
“ยิ่งลักษณ์” ถูกเก็บตัวไว้ไม่ให้ช้ำเพื่อดูแลธุรกิจของครอบครัว และเธอก็ทำได้ดีสมใจพี่ชาย แม้แต่กรณีเอสซีแอสเสทที่หลักฐานชัดเจนว่า แจ้งข้อมูลที่เป็นเท็จในคดีการปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน)ได้แก่ บริษัท เอสซี แอสเสท ในฐานะนิติบุคคล นางบุษบา ดามาพงศ์ กรรมการบริษัท คุณหญิงพจมาน ชินวัตรและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
ในขณะนั้น “ยิ่งลักษณ์” เป็นกรรมการผู้อำนวยการบริษัทเอสซี แอสเสท ได้ชี้แจงต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ว่า บริษัท วินมาร์ค ลิมิเต็ด และกองทุนลับ 2 กองทุนในมาเลเซียซึ่งถือหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสทฯมิใช่ของครอบครัวชินวัตร หลังจากที่สำนักงาน ก.ล.ต.สอบถามในเรื่องนี้
ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนของทั้งดีเอสไอ คณะทำงานอัยการสูงสุด และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นเจ้าของที่แท้จริงของกองทุนส่วนลับ 2 กองทุนในมาเลเซีย คือ Overseas Growth Fund Inc. (OGF) และ Offshore Dynamic Fund Inc. (ODF)ซึ่งถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสทประมาณร้อยละ 20
โดยในขณะนั้น อธิบดีดีเอสไอ ที่ชื่อสุนัย มโนมัยอุดม แถลงข่าวชัดเจนว่าได้พบพยานหลักฐานที่ทำให้น่าเชื่อว่า บริษัท Win Mark limited, กองทุน VIF, กองทุน OGF และกองทุน ODF เป็นนิติบุคคลที่อำพรางการถือหุ้น (Nominee) ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา จึงแสดงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา เป็นเจ้าของหุ้นและเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจดำเนินการเกี่ยวกับหุ้นเอสซี แอสเสท และหุ้นของบริษัทในครอบครัวชินวัตรอีก 5 แห่งที่ถือโดยนิติบุคคลดังกล่าวมาโดยตลอด
ที่สำคัญคือ “ยิ่งลักษณ์” คนที่ขอโอกาสคนไทยเข้ามาทำงานการเมืองให้ตระกูลชินวัตร มิได้แจ้งข้อมูลที่สงสัยว่าเป็นเท็จเพียงครั้งเดียว แต่กระทำถึงสองครั้ง คือ ยื่นข้อมูลในปี 2546 และยังยืนยันข้อมูลดังกล่าวอีกครั้งในอีก 3 ปีให้หลัง คือ วันที่ 24 มีนาคม 2549 ด้วยถ้อยคำดังนี้
“กรณี Win Mark เป็นการเข้ามาถือหุ้นของบริษัท SC โดยการซื้อขายหุ้น และมีการชำระเงินถูกต้องครบถ้วน ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับครอบครัวชินวัตร”
ถ้อยแถลงของ “ยิ่งลักษณ์ถูกมองว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และนักลงทุนอย่างจงใจ มองได้ว่า คนที่ขอโอกาสเป็นนายกฯหญิงสร้างความปรองดองจะเข้ามาแก้ไขไม่แก้แค้นนั้น ในสมัยที่เป็นนักธุรกิจก็เขี้ยวลากดินไม่แพ้พี่ชาย
ในยุคที่สุนัย มโนมัยอุดม เป็นอธิบดีดีเอสไอ คดีนี้ดูมีความชัดเจนสำนวนแน่นหนาที่จะเอาผิดกับ “ยิ่งลักษณ์” หรืออาจไปไกลถึง “ทักษิณ” และ “คุณหญิงพจมาน” ได้ด้วย แต่อำนาจได้เปลี่ยนมือจากรัฐบาล สุรยุทธ์ จุลานนท์ มาเป็น รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช
สิ่งแรกที่นอมินีสมัครดำเนินการตอบแทนคุณนายใหญ่ คือ “ปลดสุนัย” ออกจากตำแหน่งแถมยังมีการกลั่นแกล้งตั้งข้อหาและส่งคนไปจับกุมตัวถึงสนามบินแต่การจับกุมล้มเหลว และสุดท้ายคดีนี้ศาลก็มีคำสั่งว่าเป็นการออกหมายจับโดยมิชอบด้วย
จากนั้นมีการแต่งตั้ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ซึ่งชอบกินปูเป็นชีวิตจิตใจ เป็น อธิบดีดีเอสไอแทน และกลายเป็นจุดเริ่มต้นทำให้คดีนี้พลิก สำนวนที่ส่งให้อัยการถูกสงสัยว่าทำให้อ่อนลงจนกระทั่งอัยการสั่งไม่ฟ้องหรือไม่
นี่เป็นเพียงย่อๆ บางส่วนของวีรกรรมสตรีขี่ม้าขาวของเพื่อไทย ที่เธอเคยต่อสู้เพื่อพี่ชายจนพ้นข้อกล่าวหาในคดีสำคัญ จึงไม่แปลกที่ชื่อปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 1 จะจบลงที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
“ยิ่งลักษณ์” ถูกเก็บตัวไว้ไม่ให้ช้ำเพื่อดูแลธุรกิจของครอบครัว และเธอก็ทำได้ดีสมใจพี่ชาย แม้แต่กรณีเอสซีแอสเสทที่หลักฐานชัดเจนว่า แจ้งข้อมูลที่เป็นเท็จในคดีการปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน)ได้แก่ บริษัท เอสซี แอสเสท ในฐานะนิติบุคคล นางบุษบา ดามาพงศ์ กรรมการบริษัท คุณหญิงพจมาน ชินวัตรและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
ในขณะนั้น “ยิ่งลักษณ์” เป็นกรรมการผู้อำนวยการบริษัทเอสซี แอสเสท ได้ชี้แจงต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ว่า บริษัท วินมาร์ค ลิมิเต็ด และกองทุนลับ 2 กองทุนในมาเลเซียซึ่งถือหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสทฯมิใช่ของครอบครัวชินวัตร หลังจากที่สำนักงาน ก.ล.ต.สอบถามในเรื่องนี้
ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนของทั้งดีเอสไอ คณะทำงานอัยการสูงสุด และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นเจ้าของที่แท้จริงของกองทุนส่วนลับ 2 กองทุนในมาเลเซีย คือ Overseas Growth Fund Inc. (OGF) และ Offshore Dynamic Fund Inc. (ODF)ซึ่งถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสทประมาณร้อยละ 20
โดยในขณะนั้น อธิบดีดีเอสไอ ที่ชื่อสุนัย มโนมัยอุดม แถลงข่าวชัดเจนว่าได้พบพยานหลักฐานที่ทำให้น่าเชื่อว่า บริษัท Win Mark limited, กองทุน VIF, กองทุน OGF และกองทุน ODF เป็นนิติบุคคลที่อำพรางการถือหุ้น (Nominee) ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา จึงแสดงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา เป็นเจ้าของหุ้นและเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจดำเนินการเกี่ยวกับหุ้นเอสซี แอสเสท และหุ้นของบริษัทในครอบครัวชินวัตรอีก 5 แห่งที่ถือโดยนิติบุคคลดังกล่าวมาโดยตลอด
ที่สำคัญคือ “ยิ่งลักษณ์” คนที่ขอโอกาสคนไทยเข้ามาทำงานการเมืองให้ตระกูลชินวัตร มิได้แจ้งข้อมูลที่สงสัยว่าเป็นเท็จเพียงครั้งเดียว แต่กระทำถึงสองครั้ง คือ ยื่นข้อมูลในปี 2546 และยังยืนยันข้อมูลดังกล่าวอีกครั้งในอีก 3 ปีให้หลัง คือ วันที่ 24 มีนาคม 2549 ด้วยถ้อยคำดังนี้
“กรณี Win Mark เป็นการเข้ามาถือหุ้นของบริษัท SC โดยการซื้อขายหุ้น และมีการชำระเงินถูกต้องครบถ้วน ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับครอบครัวชินวัตร”
ถ้อยแถลงของ “ยิ่งลักษณ์ถูกมองว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และนักลงทุนอย่างจงใจ มองได้ว่า คนที่ขอโอกาสเป็นนายกฯหญิงสร้างความปรองดองจะเข้ามาแก้ไขไม่แก้แค้นนั้น ในสมัยที่เป็นนักธุรกิจก็เขี้ยวลากดินไม่แพ้พี่ชาย
ในยุคที่สุนัย มโนมัยอุดม เป็นอธิบดีดีเอสไอ คดีนี้ดูมีความชัดเจนสำนวนแน่นหนาที่จะเอาผิดกับ “ยิ่งลักษณ์” หรืออาจไปไกลถึง “ทักษิณ” และ “คุณหญิงพจมาน” ได้ด้วย แต่อำนาจได้เปลี่ยนมือจากรัฐบาล สุรยุทธ์ จุลานนท์ มาเป็น รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช
สิ่งแรกที่นอมินีสมัครดำเนินการตอบแทนคุณนายใหญ่ คือ “ปลดสุนัย” ออกจากตำแหน่งแถมยังมีการกลั่นแกล้งตั้งข้อหาและส่งคนไปจับกุมตัวถึงสนามบินแต่การจับกุมล้มเหลว และสุดท้ายคดีนี้ศาลก็มีคำสั่งว่าเป็นการออกหมายจับโดยมิชอบด้วย
จากนั้นมีการแต่งตั้ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ซึ่งชอบกินปูเป็นชีวิตจิตใจ เป็น อธิบดีดีเอสไอแทน และกลายเป็นจุดเริ่มต้นทำให้คดีนี้พลิก สำนวนที่ส่งให้อัยการถูกสงสัยว่าทำให้อ่อนลงจนกระทั่งอัยการสั่งไม่ฟ้องหรือไม่
นี่เป็นเพียงย่อๆ บางส่วนของวีรกรรมสตรีขี่ม้าขาวของเพื่อไทย ที่เธอเคยต่อสู้เพื่อพี่ชายจนพ้นข้อกล่าวหาในคดีสำคัญ จึงไม่แปลกที่ชื่อปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 1 จะจบลงที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร