แน่ชัดแล้วว่า วงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อดกลับมานั่งเป็นอธิบดีกรมการปกครองในช่วงก่อนการเลือกตั้งแน่นอนแล้ว
เพราะหลังจากยุบสภาแล้ว ทั้ง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ก็จะอ้างได้ว่าอยู่ในสถานะเสมือนรัฐบาลรักษาการที่ไม่มีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายใดๆ ได้ ยกเว้นแต่เรื่องสำคัญแต่ก็ต้องถามไปยัง กกต.หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
สิ่งที่ทำได้นับจากนี้ “วงศ์ศักดิ์” คงทำในสิ่งที่ประกาศไว้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า หากทั้ง อภิสิทธิ์ -ชวรัตน์และ วิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงมหาดไทย ไม่ยอมแต่งตั้งให้กลับไปเป็นอธิบดีกรมการปกครองภายในวันจันทร์ที่ 9 พ.ค.นี้ซึ่งจะครบกำหนด 60 วันที่คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) สั่งให้มหาดไทยคืนตำแหน่งให้วงศ์ศักดิ์แต่เมื่อไม่เป็นผล ก็จะเดินหน้าฟ้องร้องเอาผิดทั้งสามคนต่อ 3 ศาล คือ ศาลอาญา ศาลแพ่ง ศาลปกครอง
ต้องติดตามดูว่าศึกนี้จะจบอย่างไร ใครจะชนะใครจะแพ้ ถือเป็นเรื่องที่ทำให้มหาดไทยมีภาพลักษณ์เรื่องการบริหารงานบุคคลที่ติดลบอย่างมาก
อีกหนึ่งเรื่องทางลบของมหาดไทยในช่วงนี้ ก็คือ เรื่องการ “ทิ้งทวน” ซึ่งคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวมหาดไทยอาจไม่รู้ว่าการทิ้งทวนมันไม่ได้มีแค่ที่รัฐสภา และทำเนียบรัฐบาล ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดสุดท้ายของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา
แต่ที่ กรมการปกครอง ก็ติดโรคทิ้งทวนตามรัฐบาลเช่นกัน และเห็นได้ชัดว่าเป็นการทิ้งทวนด้วยเหตุผลการเมือง-เตรียมการเลือกตั้งล้วนๆ
นั่นก็คือปฏิบัติการของ “เฮียหมง” มงคล สุระสัจจะ อธิบกรมการปกครอง ออกคำสั่งในช่วงเย็นเมื่อ 4 พ.ค. 2554 เพื่อแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ตำแหน่งนายอำเภอ (ผู้อำนวยการ ระดับต้น 8) รวม 208 ราย และวันเดียวกันก็ลงนามคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการ ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ 53-54 ให้ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอ (ผู้อำนวยการ ระดับต้น) อีก 102 ราย
รวมเบ็ดเสร็จ “เฮียหมง” เซ็นคำสั่งทิ้งทวนดังกล่าวก่อนที่จะมีการยุบสภารวมทั้งสิ้น 310 ตำแหน่ง
เห็นได้ชัดว่า เป็นการโยกย้ายแบบจัดทัพเตรียมเลือกตั้งอย่างไม่ต้องสงสัยใดๆเลย เพราะคนของพรรคภูมิใจไทยที่เป็น “สิงห์น้ำเงิน” อันเป็นสีเสื้อประจำพรรคภูมิใจไทย พากันได้ดิบได้ดีกันเป็นแถว อีกทั้งเป็นการโยกย้ายจัดทัพรับศึกเลือกตั้งด้วยกลยุทธ์ที่แยบยล
คือให้คนของฝ่ายการเมืองย้ายออกนอกฐานทัพหลัก คือ พื้นที่อีสานใต้ อย่างเช่น จ.บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ ที่ เนวิน ชิดชอบ มั่นใจว่าคุมพื้นที่ได้อยู่หมด ไปประจำการตามอำเภอต่างๆ ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ที่ภูมิใจไทยหวังผลชนะเลือกตั้ง โดยเฉพาะมีการโยกคนจาก จ.บุรีรัมย์หลายอำเภอ ซึ่งฝ่ายการเมืองมั่นใจว่าคุมพื้นที่ได้อยู่หมัดก็ส่งคนของตัวเองในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ออกไปช่วยในจังหวัดอื่น
ที่น่าสนใจก็เช่น นายยลยง มีพืชน์ นายอำเภอสตึก จ.บุรีรัมย์ ย้ายไปเป็นนายอำเภอบ้านแพ้ว สมุทรสาคร แล้วก็โยก นายชนาส ชัชวาลวงศ์ นายอำเภอเฉลิมพระเกียรติ บุรีรัมย์มาเป็นนายอำเภอสตึกแทน แล้วก็ขยับ ณัฎฐพงศ์ สุขวิสิฏฐ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบการปกครองท้องที่ ส่วนระบบการปกครองท้องที่ สำนักบริหารการปกครองท้องที่ เป็นนายอำเภอเฉลิมพระเกียรติแทน
ขณะที่ในส่วนคำสั่งแต่งตั้งนายอำเภอใหม่สำหรับผู้ผ่านโรงเรียนนายอำเภอมาล่าสุด ที่บุรีรัมย์ ก็มีการตั้งนายอำเภอในบุรีรัมย์หลายอำเภอเช่นอำเภอโนนดินแดง-อำเภอปะคำ-อำเภอนาโพธิ์-อำเภอกระสัง-อำเภอบ้านกรวด-อำเภอบ้านด่าน-อำเภอละหานทราย เป็นต้น อันจะพบว่าทั้งสองคำสั่งของกรมการปกครอง จังหวัดบุรีรัมย์ติดโผการจัดทัพรอบนี้มากที่สุด
นอกจากนี้ หลายพื้นที่ซึ่งพรรคภูมิใจไทยหวังผลในการเลือกตั้ง เช่น สุรินทร์-ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี-นครราชสีมา ก็มีการแต่งตั้งโยกย้ายนายอำเภอในรอบนี้เช่นกัน จนถูกตั้งข้อสังเกตจากคนมหาดไทย และพรรคการเมืองคู่แข่งเช่นพรรคเพื่อไทยว่า
เป็นการแต่งตั้งเพื่อหวังผลการเลือกตั้งช่วยเหลือเอื้อประโยชน์ให้พรรคภูมิใจไทยเช่นที่นครราชสีมา พื้นที่ของบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทยหรือจังหวัดใหม่ “บึงกาฬ”ที่ภูมิใจไทยหวังกวาด 2 ที่นั่งชนะยกจังหวัด
เช่นที่จังหวัดสุรินทร์ บ้านเกิดของตระกูลชิดชอบ ก็มีที่ติดโผอาทิเช่นอำเภอจอมพระ-อำเภอกาบเชิง-อำเภอเขวาสินรินทร์-อำเภอพนมดงรัก ส่วนที่ศรีสะเกษ อีกหนึ่งพื้นที่หลักของเนวิน ก็มีการแต่งตั้งโยกย้ายเช่นกันอาทิอำเภออุทุมพรพิสัย-อำเภอวังหิน-อำเภอศรีณรงค์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ก็มีบางคนที่มีชื่อติดโผรอบนี้แล้วปรากฏว่า เป็นการถูกย้ายไปอยู่ในอำเภอที่เล็กกว่าหรือในจังหวัดที่เล็กกว่าเดิม ก็มีท่าทีไม่อยากยอมรับคำสั่งดังกล่าวแต่ก็ทำอะไรไม่ได้เพราะเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยต้องปฏิบัติตามคำสั่งของกรมการปกครอง
แต่ก็มีบางคนออกมาเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยที่ก็ไม่ใช่ใคร นั่นก็คือ “วิเชียร ชิดชนกนารถ”ผอ.ส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ก่อนหน้านี้เคยออกมาเคลื่อนไหวเรื่องการเช่าคอมพิวเตอร์ของกรมการปกครองจนทำให้ “มงคล” พลาดเก้าอี้ปลัดกระทรวงมหาดไทยมาแล้ว
ปรากฏว่ารอบนี้ถูกหวยอย่างจัง โดนย้ายไปเป็นนักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์เทคโนโลยีการฝึกอบรม วิทยาลัยปกครอง (ปฏิบัติหน้าที่รองอธิการวิทยาลัยการปกครอง) ที่ดูตำแหน่งใหม่ก็รู้ได้ทันทีว่าเป็นตำแหน่งลอยและเป็นการลดบทบาทของวิเชียรอย่างเห็นได้ชัด
วิเชียรจึงฮึดสู้ ทำหนังสือถึงคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ ก.พ.ค. เพื่อสอบถามสถานะและอำนาจของมงคล สุระสัจจะ ว่ายังสามารถใช้อำนาจอธิบดีกรมการปกครองในการออกคำสั่งดังกล่าวได้หรือไม่ พูดประสาชาวบ้านก็คือมันเป็น “คำสั่งเถื่อน” หรือไม่นั่นเอง
ถือเป็นการต่อสู้ของข้าราชการมหาดไทยคนหนึ่งที่ได้เสียงเชียร์จากคนในกรมการปกครองและมหาดไทยไม่ใช่น้อย หลังยอมรับไม่ได้กับการออกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้าย นอภ.ล็อตใหญ่รอบนี้ ซึ่งแม้จะเป็นการตั้งตามปกติเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลงและย้ายสลับกลางปีที่เลื่อนมาจากเดิมที่จะประกาศช่วงเดือนเมษายน
แต่เมื่อสถานะของ “มงคล” ยังไม่ใช่ชัดเจน การออกคำสั่งดังกล่าวจึงย่อมถูกต่อต้านเป็นธรรมดา ยิ่งเมื่อเห็นได้ว่าเป็นการตั้งเพื่อหวังผลการเมือง คำถามถึงความชอบธรรมจึงเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการสงสัยในการใช้อำนาจของอธิบดีกรมการปกครองคนนี้
เพราะหลังจากยุบสภาแล้ว ทั้ง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ก็จะอ้างได้ว่าอยู่ในสถานะเสมือนรัฐบาลรักษาการที่ไม่มีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายใดๆ ได้ ยกเว้นแต่เรื่องสำคัญแต่ก็ต้องถามไปยัง กกต.หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
สิ่งที่ทำได้นับจากนี้ “วงศ์ศักดิ์” คงทำในสิ่งที่ประกาศไว้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า หากทั้ง อภิสิทธิ์ -ชวรัตน์และ วิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงมหาดไทย ไม่ยอมแต่งตั้งให้กลับไปเป็นอธิบดีกรมการปกครองภายในวันจันทร์ที่ 9 พ.ค.นี้ซึ่งจะครบกำหนด 60 วันที่คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) สั่งให้มหาดไทยคืนตำแหน่งให้วงศ์ศักดิ์แต่เมื่อไม่เป็นผล ก็จะเดินหน้าฟ้องร้องเอาผิดทั้งสามคนต่อ 3 ศาล คือ ศาลอาญา ศาลแพ่ง ศาลปกครอง
ต้องติดตามดูว่าศึกนี้จะจบอย่างไร ใครจะชนะใครจะแพ้ ถือเป็นเรื่องที่ทำให้มหาดไทยมีภาพลักษณ์เรื่องการบริหารงานบุคคลที่ติดลบอย่างมาก
อีกหนึ่งเรื่องทางลบของมหาดไทยในช่วงนี้ ก็คือ เรื่องการ “ทิ้งทวน” ซึ่งคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวมหาดไทยอาจไม่รู้ว่าการทิ้งทวนมันไม่ได้มีแค่ที่รัฐสภา และทำเนียบรัฐบาล ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดสุดท้ายของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา
แต่ที่ กรมการปกครอง ก็ติดโรคทิ้งทวนตามรัฐบาลเช่นกัน และเห็นได้ชัดว่าเป็นการทิ้งทวนด้วยเหตุผลการเมือง-เตรียมการเลือกตั้งล้วนๆ
นั่นก็คือปฏิบัติการของ “เฮียหมง” มงคล สุระสัจจะ อธิบกรมการปกครอง ออกคำสั่งในช่วงเย็นเมื่อ 4 พ.ค. 2554 เพื่อแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ตำแหน่งนายอำเภอ (ผู้อำนวยการ ระดับต้น 8) รวม 208 ราย และวันเดียวกันก็ลงนามคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการ ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ 53-54 ให้ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอ (ผู้อำนวยการ ระดับต้น) อีก 102 ราย
รวมเบ็ดเสร็จ “เฮียหมง” เซ็นคำสั่งทิ้งทวนดังกล่าวก่อนที่จะมีการยุบสภารวมทั้งสิ้น 310 ตำแหน่ง
เห็นได้ชัดว่า เป็นการโยกย้ายแบบจัดทัพเตรียมเลือกตั้งอย่างไม่ต้องสงสัยใดๆเลย เพราะคนของพรรคภูมิใจไทยที่เป็น “สิงห์น้ำเงิน” อันเป็นสีเสื้อประจำพรรคภูมิใจไทย พากันได้ดิบได้ดีกันเป็นแถว อีกทั้งเป็นการโยกย้ายจัดทัพรับศึกเลือกตั้งด้วยกลยุทธ์ที่แยบยล
คือให้คนของฝ่ายการเมืองย้ายออกนอกฐานทัพหลัก คือ พื้นที่อีสานใต้ อย่างเช่น จ.บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ ที่ เนวิน ชิดชอบ มั่นใจว่าคุมพื้นที่ได้อยู่หมด ไปประจำการตามอำเภอต่างๆ ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ที่ภูมิใจไทยหวังผลชนะเลือกตั้ง โดยเฉพาะมีการโยกคนจาก จ.บุรีรัมย์หลายอำเภอ ซึ่งฝ่ายการเมืองมั่นใจว่าคุมพื้นที่ได้อยู่หมัดก็ส่งคนของตัวเองในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ออกไปช่วยในจังหวัดอื่น
ที่น่าสนใจก็เช่น นายยลยง มีพืชน์ นายอำเภอสตึก จ.บุรีรัมย์ ย้ายไปเป็นนายอำเภอบ้านแพ้ว สมุทรสาคร แล้วก็โยก นายชนาส ชัชวาลวงศ์ นายอำเภอเฉลิมพระเกียรติ บุรีรัมย์มาเป็นนายอำเภอสตึกแทน แล้วก็ขยับ ณัฎฐพงศ์ สุขวิสิฏฐ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบการปกครองท้องที่ ส่วนระบบการปกครองท้องที่ สำนักบริหารการปกครองท้องที่ เป็นนายอำเภอเฉลิมพระเกียรติแทน
ขณะที่ในส่วนคำสั่งแต่งตั้งนายอำเภอใหม่สำหรับผู้ผ่านโรงเรียนนายอำเภอมาล่าสุด ที่บุรีรัมย์ ก็มีการตั้งนายอำเภอในบุรีรัมย์หลายอำเภอเช่นอำเภอโนนดินแดง-อำเภอปะคำ-อำเภอนาโพธิ์-อำเภอกระสัง-อำเภอบ้านกรวด-อำเภอบ้านด่าน-อำเภอละหานทราย เป็นต้น อันจะพบว่าทั้งสองคำสั่งของกรมการปกครอง จังหวัดบุรีรัมย์ติดโผการจัดทัพรอบนี้มากที่สุด
นอกจากนี้ หลายพื้นที่ซึ่งพรรคภูมิใจไทยหวังผลในการเลือกตั้ง เช่น สุรินทร์-ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี-นครราชสีมา ก็มีการแต่งตั้งโยกย้ายนายอำเภอในรอบนี้เช่นกัน จนถูกตั้งข้อสังเกตจากคนมหาดไทย และพรรคการเมืองคู่แข่งเช่นพรรคเพื่อไทยว่า
เป็นการแต่งตั้งเพื่อหวังผลการเลือกตั้งช่วยเหลือเอื้อประโยชน์ให้พรรคภูมิใจไทยเช่นที่นครราชสีมา พื้นที่ของบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทยหรือจังหวัดใหม่ “บึงกาฬ”ที่ภูมิใจไทยหวังกวาด 2 ที่นั่งชนะยกจังหวัด
เช่นที่จังหวัดสุรินทร์ บ้านเกิดของตระกูลชิดชอบ ก็มีที่ติดโผอาทิเช่นอำเภอจอมพระ-อำเภอกาบเชิง-อำเภอเขวาสินรินทร์-อำเภอพนมดงรัก ส่วนที่ศรีสะเกษ อีกหนึ่งพื้นที่หลักของเนวิน ก็มีการแต่งตั้งโยกย้ายเช่นกันอาทิอำเภออุทุมพรพิสัย-อำเภอวังหิน-อำเภอศรีณรงค์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ก็มีบางคนที่มีชื่อติดโผรอบนี้แล้วปรากฏว่า เป็นการถูกย้ายไปอยู่ในอำเภอที่เล็กกว่าหรือในจังหวัดที่เล็กกว่าเดิม ก็มีท่าทีไม่อยากยอมรับคำสั่งดังกล่าวแต่ก็ทำอะไรไม่ได้เพราะเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยต้องปฏิบัติตามคำสั่งของกรมการปกครอง
แต่ก็มีบางคนออกมาเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยที่ก็ไม่ใช่ใคร นั่นก็คือ “วิเชียร ชิดชนกนารถ”ผอ.ส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ก่อนหน้านี้เคยออกมาเคลื่อนไหวเรื่องการเช่าคอมพิวเตอร์ของกรมการปกครองจนทำให้ “มงคล” พลาดเก้าอี้ปลัดกระทรวงมหาดไทยมาแล้ว
ปรากฏว่ารอบนี้ถูกหวยอย่างจัง โดนย้ายไปเป็นนักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์เทคโนโลยีการฝึกอบรม วิทยาลัยปกครอง (ปฏิบัติหน้าที่รองอธิการวิทยาลัยการปกครอง) ที่ดูตำแหน่งใหม่ก็รู้ได้ทันทีว่าเป็นตำแหน่งลอยและเป็นการลดบทบาทของวิเชียรอย่างเห็นได้ชัด
วิเชียรจึงฮึดสู้ ทำหนังสือถึงคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ ก.พ.ค. เพื่อสอบถามสถานะและอำนาจของมงคล สุระสัจจะ ว่ายังสามารถใช้อำนาจอธิบดีกรมการปกครองในการออกคำสั่งดังกล่าวได้หรือไม่ พูดประสาชาวบ้านก็คือมันเป็น “คำสั่งเถื่อน” หรือไม่นั่นเอง
ถือเป็นการต่อสู้ของข้าราชการมหาดไทยคนหนึ่งที่ได้เสียงเชียร์จากคนในกรมการปกครองและมหาดไทยไม่ใช่น้อย หลังยอมรับไม่ได้กับการออกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้าย นอภ.ล็อตใหญ่รอบนี้ ซึ่งแม้จะเป็นการตั้งตามปกติเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลงและย้ายสลับกลางปีที่เลื่อนมาจากเดิมที่จะประกาศช่วงเดือนเมษายน
แต่เมื่อสถานะของ “มงคล” ยังไม่ใช่ชัดเจน การออกคำสั่งดังกล่าวจึงย่อมถูกต่อต้านเป็นธรรมดา ยิ่งเมื่อเห็นได้ว่าเป็นการตั้งเพื่อหวังผลการเมือง คำถามถึงความชอบธรรมจึงเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการสงสัยในการใช้อำนาจของอธิบดีกรมการปกครองคนนี้