สมาคมนักข่าวฯ จ้องจัดระเบียบนักข่าว ในเรื่องการวางตัว และการแต่งกายที่ไม่เหมาะสม ติงสื่อรายงานข่าวขาดความรับผิดชอบ จนทำให้คนอ่านขาดความเชื่อถือ โดยเฉพาะยามสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในช่วงวิกฤต
วันนี้ (8 เม.ย.) นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้นัดประชุมหารือร่วมกับคณะที่ปรึกษา และคณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวฯ ซึ่งประกอบด้วย อดีตนายก และอดีตเลขาธิการสมาคมนักข่าวฯ ได้มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในปัจจุบัน ว่า ขาดความรับผิดชอบ และมีปัญหาการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง พร้อมตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการวางตัวและการแต่งกายของนักข่าวว่าไม่เหมาะสม
นายวีระ ประทีปชัยกูร อดีตนายกสมาคม กล่าวถึงการทำงานของสื่อมวลชนในปัจจุบัน ว่า มักจะรายงานข่าวโดยขาดความรับผิดชอบ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก การที่สื่อทำงานโดยไม่ได้รับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะข่าวที่ต้องอิงกับการเมือง และในสถานการณ์ที่บ้านเมืองมีการแบ่งสีแบ่งฝ่าย เลือกข้าง หากสื่อมวลชนไม่สามารถทำหน้าที่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดซ้ำรอยกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ดังนั้น องค์กรวิชาชีพสื่อ จะต้องคิดว่า จะสามารถเข้าไปทำอะไรในเรื่องนี้ได้บ้าง
ด้าน นายกวี จงกิจถาวร อดีตนายกสมาคม กล่าวว่า นักข่าวไทยไม่มีปัญหาในการรายงานข่าวยามบ้านเมืองปกติ แต่จะมีปัญหาในการรายงานข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้ง ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องเพิ่มศักยภาพการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง จึงได้เสนอให้สมาคมนักข่าวฯ จัดทำโครงการอบรมอย่างต่อเนื่องในการสร้างองค์ความรู้ให้กับนักข่าว หัวหน้าข่าว ตลอดจนบรรณาธิการ ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความมั่นใจแก่คนที่อ่านหนังสือพิมพ์ เพราะ
“วิกฤตของโลกปัจจุบัน คือ คนอ่านไม่เชื่อถือสื่อ และคนอ่านรู้สึกว่าสื่อไม่เคยคุ้มครองประชาชน ดังนั้น สื่อจะต้องรับผิดชอบต่อคนอ่านด้วย รวมทั้งให้คนข้างนอกได้รู้เรื่องจริยธรรมและกระบวนการทำงานที่โปร่งใส จะได้ทำหน้าที่อย่างมีคุณภาพและสง่างาม” นายกวี กล่าว
นายมานิจ สุขสมจิตร อดีตนายกสมาคม กล่าวว่า นักข่าวจะต้องมีเกียรติ และเชื่อถือได้ ควรวางตัวให้เหมาะสม และมีสัมมาคารวะ การแต่งกายถือว่ามีส่วนสำคัญ แต่นักข่าวในปัจจุบันไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ต่างจากนักข่าวในอดีต
ด้าน นายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าวฯ กล่าวว่า ควรเชิญผู้บริหารของแต่ละองค์กรสื่อเข้ามาหารือ เพื่อขอให้แต่ละองค์กรช่วยดูแลเรื่องการวางตัวและการแต่งกายของผู้สื่อข่าวและช่างภาพ ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภาคสนาม ตัวอย่างเช่น ทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภา จะเห็นนักข่าวแต่งกายไม่เรียบร้อย สวมเสื้อยืด การเกงยีนส์ เข้าไปทำงาน จึงเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม ขอให้เป็นหน้าที่ของสมาคมนักข่าวฯ ที่จะต้องเข้าไปดูแลในเรื่องนี้
“สถานที่ราชการหลายแห่ง เห็นว่า นักข่าวแต่งกายไม่เหมาะสม การที่เจ้าของสถานที่เขาไม่ว่าอะไร เพราะเขาไม่อยากมีปัญหากับนักข่าว เพราะเขากลัว นักข่าวมีปากกาอยู่ในมือ จะไปเขียนหรือทำให้เขาเสียหายได้“ นายเรืองชัย กล่าว
ด้าน นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร เลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เสนอให้มีการรณรงค์เรื่องการแต่งกายและการวางตัวของนักข่าวให้เหมาะสม เชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพของนักข่าว เพราะหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ผู้บริหารจะให้ความสำคัญและกำชับให้นักข่าวต้องแต่งกายเรียบร้อย เมื่อไปปฏิบัติหน้าที่ด้วย
สำหรับที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวฯ ซึ่งเป็นอดีตนายก และอดีตเลขาธิการ สมาคมนักข่าวฯ ที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายมานิจ สุขสมจิตร นายกวี จงกิจถาวร นายบัณฑิต รัชวัฒนะธานินทร์ นายสมาน สุดโต นายวีระ ประทีปชัยกูร นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล นายบุตรดา ศรีเลิศชัย นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร นายพรชัย ปุณวัฒนาพร เลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และนายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมฯ
วันนี้ (8 เม.ย.) นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้นัดประชุมหารือร่วมกับคณะที่ปรึกษา และคณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวฯ ซึ่งประกอบด้วย อดีตนายก และอดีตเลขาธิการสมาคมนักข่าวฯ ได้มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในปัจจุบัน ว่า ขาดความรับผิดชอบ และมีปัญหาการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง พร้อมตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการวางตัวและการแต่งกายของนักข่าวว่าไม่เหมาะสม
นายวีระ ประทีปชัยกูร อดีตนายกสมาคม กล่าวถึงการทำงานของสื่อมวลชนในปัจจุบัน ว่า มักจะรายงานข่าวโดยขาดความรับผิดชอบ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก การที่สื่อทำงานโดยไม่ได้รับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะข่าวที่ต้องอิงกับการเมือง และในสถานการณ์ที่บ้านเมืองมีการแบ่งสีแบ่งฝ่าย เลือกข้าง หากสื่อมวลชนไม่สามารถทำหน้าที่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดซ้ำรอยกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ดังนั้น องค์กรวิชาชีพสื่อ จะต้องคิดว่า จะสามารถเข้าไปทำอะไรในเรื่องนี้ได้บ้าง
ด้าน นายกวี จงกิจถาวร อดีตนายกสมาคม กล่าวว่า นักข่าวไทยไม่มีปัญหาในการรายงานข่าวยามบ้านเมืองปกติ แต่จะมีปัญหาในการรายงานข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้ง ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องเพิ่มศักยภาพการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง จึงได้เสนอให้สมาคมนักข่าวฯ จัดทำโครงการอบรมอย่างต่อเนื่องในการสร้างองค์ความรู้ให้กับนักข่าว หัวหน้าข่าว ตลอดจนบรรณาธิการ ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความมั่นใจแก่คนที่อ่านหนังสือพิมพ์ เพราะ
“วิกฤตของโลกปัจจุบัน คือ คนอ่านไม่เชื่อถือสื่อ และคนอ่านรู้สึกว่าสื่อไม่เคยคุ้มครองประชาชน ดังนั้น สื่อจะต้องรับผิดชอบต่อคนอ่านด้วย รวมทั้งให้คนข้างนอกได้รู้เรื่องจริยธรรมและกระบวนการทำงานที่โปร่งใส จะได้ทำหน้าที่อย่างมีคุณภาพและสง่างาม” นายกวี กล่าว
นายมานิจ สุขสมจิตร อดีตนายกสมาคม กล่าวว่า นักข่าวจะต้องมีเกียรติ และเชื่อถือได้ ควรวางตัวให้เหมาะสม และมีสัมมาคารวะ การแต่งกายถือว่ามีส่วนสำคัญ แต่นักข่าวในปัจจุบันไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ต่างจากนักข่าวในอดีต
ด้าน นายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าวฯ กล่าวว่า ควรเชิญผู้บริหารของแต่ละองค์กรสื่อเข้ามาหารือ เพื่อขอให้แต่ละองค์กรช่วยดูแลเรื่องการวางตัวและการแต่งกายของผู้สื่อข่าวและช่างภาพ ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภาคสนาม ตัวอย่างเช่น ทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภา จะเห็นนักข่าวแต่งกายไม่เรียบร้อย สวมเสื้อยืด การเกงยีนส์ เข้าไปทำงาน จึงเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม ขอให้เป็นหน้าที่ของสมาคมนักข่าวฯ ที่จะต้องเข้าไปดูแลในเรื่องนี้
“สถานที่ราชการหลายแห่ง เห็นว่า นักข่าวแต่งกายไม่เหมาะสม การที่เจ้าของสถานที่เขาไม่ว่าอะไร เพราะเขาไม่อยากมีปัญหากับนักข่าว เพราะเขากลัว นักข่าวมีปากกาอยู่ในมือ จะไปเขียนหรือทำให้เขาเสียหายได้“ นายเรืองชัย กล่าว
ด้าน นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร เลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เสนอให้มีการรณรงค์เรื่องการแต่งกายและการวางตัวของนักข่าวให้เหมาะสม เชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพของนักข่าว เพราะหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ผู้บริหารจะให้ความสำคัญและกำชับให้นักข่าวต้องแต่งกายเรียบร้อย เมื่อไปปฏิบัติหน้าที่ด้วย
สำหรับที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวฯ ซึ่งเป็นอดีตนายก และอดีตเลขาธิการ สมาคมนักข่าวฯ ที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายมานิจ สุขสมจิตร นายกวี จงกิจถาวร นายบัณฑิต รัชวัฒนะธานินทร์ นายสมาน สุดโต นายวีระ ประทีปชัยกูร นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล นายบุตรดา ศรีเลิศชัย นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร นายพรชัย ปุณวัฒนาพร เลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และนายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมฯ