xs
xsm
sm
md
lg

“เรืองไกร” แนะส่งศาล รธน.ตีความ MOU 43 เป็นสัญญาหรือไม่ หวั่นเจอฟ้องหลังลงมติ JBC

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา (แฟ้มภาพ)
“ส.ว.เรืองไกร” แนะนำเอ็มโอยู 43 ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความพร้อมเจบีซีขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หวั่นร่วมลงมติทำถูกฟ้องตาม ม.157 ด้าน ส.ว.กทม.แนะ “ประสพสุข” คุย “ชัย” ให้รอบคอบ

วันนี้ (28 มี.ค.) ที่รัฐสภา การประชุมวุฒิสภา ที่มีนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานในที่ประชุม โดยก่อนเข้าวาระการประชุมนายประสพสุขได้เปิดให้สมาชิกวุฒิสภาหารือในเรื่องต่างๆ โดย นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา หารือในระหว่างการประชุมวุฒิสภาว่า ในการประชุมร่วมรัฐสภาพรุ่งนี้ (29 มี.ค.) เพื่อพิจารณารับรองรายงานผลการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) 3 ฉบับ เพื่อนำไปประกอบกับเอ็มโอยู 2543 ทั้งนี้ จากการทบทวนข้อกฎหมายในรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 190 และมาตรา 240 รวมถึงรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับแก้ไขพบว่า เอ็มโอยู 2543 เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นมีความจำเป็นที่สมาชิกรัฐสภาจะต้องให้ความเห็นชอบเอ็มโอยู 2543 ก่อน หรือหากมีการเสนอให้ยืนเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเอ็มโอยู 2543 นั้นขัดรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 190 วรรคสอง หรือมาตรา 224 วรรคสอง จะทำได้หรือไม่ แต่หากเอ็มโอยู 2543 ถูกพิจารณาว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แล้วบันทึกผลการประชุมเจบีซี 3 ฉบับจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้ ตนกังวลว่าหากสมาชิกรัฐสภาร่วมลงมติในเจบีซี 3 ฉบับ อาจเป็นเหตุให้ถูกฟ้องว่าเป็นการกระทำผิดร่วมคณะรัฐมนตรี ที่ถูกยื่นเอาผิดตามมาตรา 157 ตามประมวลกฎหมายอาญา

“ในการประชุมร่วมพรุ่งนี้ก่อนรับรองผลการพิจารณาเจบีซี สมาชิกรัฐสภาต้องพิจารณาว่าเอ็มโอยู 2543 เป็นหนังสือสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าเป็นหนังสือสัญญาแล้วควรได้รับความเห็นชอบก่อนหรือไม่ และตั้งแต่ปีที่ลงนามเอ็มโอยู เมื่อปี 2543 ถึงปัจจุบันยังไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาจะผิดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่” นายเรืองไกรกล่าว

ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม.หารือในประเด็นเดียวกันว่า ขอให้นายประสพสุขในฐานะรองประธานรัฐสภา หารือกับนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ให้พิจารณาวาระการประชุมเจบีซี 3 ฉบับให้รอบคอบว่า เอ็มโอยู 43 ถือว่าเป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะขณะนี้ยังความเห็นที่แตกต่าง ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 136 (15) ระบุว่าหากเป็นหนังสือสัญญาต้องให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ ดังนั้น การพิจารณาเจบีซีในการประชุมร่วมรัฐสภาคงไม่ใช่การให้ความเห็นว่ารับหรือไม่รับบันทึกการประชุมเจบีซี
กำลังโหลดความคิดเห็น