xs
xsm
sm
md
lg

กม.ชุมนุมที่สาธารณะ ติดหนวด ต้องขออนุญาต ตร.ท้องที่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ชัย ชิดชอบ
ที่ประชุมสภา นัดพิจารณากฎหมายชุมนุมในที่สาธารณะ 9 มี.ค.นี้ โดยมีสาระสำคัญห้ามชุมนุมกีดขวาง รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล สถานีขนส่ง ฯลฯ จะต้องแจ้ง ตร.ในท้องที่ทราบก่อนเริ่มการชุมนุม 3 วัน และหากศาลมีคำสั่งให้การชุมนุมมิชอบด้วย กม.แต่ยังมีการฝ่าฝืนถือว่าเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าทันที

วันนี้ (8 มี.ค.) ที่รัฐสภา นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 9-10 มีนาคม เริ่มเวลา 09.00 น.โดยมีร่าง พ.ร.บ.ที่น่าสนใจ คือ วันที่ 9 มีนาคม เรื่องที่ที่ประชุมมีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... (ครม.เป็นผู้เสนอ) โดยร่างมี 39 มาตรา มีหลักการและเหตุผล คือ เพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะในการชุมนุม มีสาระสำคัญ คือ มาตรา 8 การชุมนุมสาธารณะต้องไม่กีดขวางทางเข้าออกสถานที่ ได้แก่ สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล และหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ สถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา ศาสนสถานสถานทูต หรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ มาตรา 10 ผู้ใดจะจัดชุมนุมสาธารณะต้องแจ้งต่อผู้รับแจ้งคือ หัวหน้าสถานทีตำรวจในท้องที่ที่จะจัดชุมนุมไม่น้อยกว่า 72 ชั่วโมงก่อนเริ่มชุมนุม มาตรา 13 กรณีที่ผู้รับแจ้งเห็นว่า การชุมนุมนั้นขัดต่อมาตรา 8 ให้ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งห้ามการชุมนุม โดยให้ศาลพิจารณาคำขอนั้นเร่งด่วนมาตรา 15 การชุมนุมสาธารณะที่ศาลมีคำสั่งห้ามชุมนุม ให้ถือว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 16 ผู้จัดชุมนุม ต้องอยู่ร่วมการชุมนุมสาธารณะตลอดเวลาการชุมนุม ดูและรับผิดชอบให้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบปราศจากอาวุธ ดูแลไม่ให้เกิดการขัดขวางประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ ส่วนมาตรา 17 ผู้ชุมนุมต้องไม่ทำให้ผู้อื่นกลัวว่า จะเกิดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และเสรีภาพ ไม่ขัดขวงหรือกระทำการใดที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานการคุ้มครองความสะดวกของประชาชนในการใช้ที่สาธารณะหรือคุ้มครองการชุมนุมสาธารณะนั้น มาตรา 18 กรณีผู้ขัดชุมนุมไม่ได้แจ้งว่าจะมีการเคลื่อนย้ายหรือเดินขบวน ต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งรับผิดชอบดูแลการชุมนุมสาธารณะนั้น มาตรา 19 ผู้ชุมนุมต้องเลิกชุมนุมตามเวลาที่แจ้งไว้ มาตรา 20 เจ้าพนักงานที่ควบคุมการชุมนุม ต้องผ่านการฝึกอบรมให้มีความเข้าใจและอดทนต่อสถานการณ์การชุมนุม และอาจใช้เครื่องมือควบคุมฝูงชนได้ตามที่รัฐมนตีรประกาศกำหนด มาตรา 26 กรณีผู้ชุมนุม ชุมนุมโดยมิชอบด้วยกฎหมายและไม่เลิกชุมนุมตามคำสั่งศาล ให้เจ้าพนักงานประกาศให้พื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ควบคุมและประกาศให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่นั้นโดยเร็วและรายงานให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบทราบ มาตรา 27 เมื่อพ้นระยะเวลาตามมาตรา 26 ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และให้ผู้ควบคุมสถานการณ์ดำเนินการให้มีการเลิกชุมนุมโดยสามารถ ค้น จับผู้ที่ยังอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวได้

บทกำหนดโทษ มาตรา 30 ผู้จัดชุมนุมที่กระทบความสะดวกขอประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะโดยไม่ได้แจ้งการชุมนุม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 พันบาท มาตรา 31 ผู้ใดเชิญชวนให้ผู้อื่นมาชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น
กำลังโหลดความคิดเห็น