ตุลการศาลปกครองกลาง นัดไต่สวนฉุกเฉินกรณีมูลนิธิชีววิถี และมูลนิธิบูรณะนิเวศ ฟ้อง ครม.เพื่อขอให้มีมติเพิกถอนคำสั่งตั้ง กก.วัตถุอันตรายไม่ชอบ ชี้แต่งตั้งตัวแทนขององค์กรด้านวิชาชีพ หรือเป็นตัวแทนของบริษัทที่มีกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายแทน
วันนี้ (23 ก.พ.) นายวิสูตร วัจนะเสถียรกุล ตุลาการศาลปกครองกลาง ในฐานะตุลาการเจ้าของสำนวนได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวในคดีที่มูลนิธิชีววิถี และมูลนิธิบูรณะนิเวศ ผู้ยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติครม.เมื่อวันที่ 9 พ.ย.53 เฉพาะส่วนที่มีมติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในลำดับที่ 6-9 คือ นางศุภวรรณ ตันตยานนท์ น.ส.สุมล ปวิตรานนท์ นายปกรณ์ สุจเร และ นายสุมิดา บุรณศิริ รวมทั้งขอให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประกาศ วันที่ 16 พ.ย.53 เฉพาะในส่วนของกรรมการในลำดับที่ 6-9 และขอให้ศาลมีคำสั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตรายทดแทนกรรมการที่ถูกเพิกถอนชื่อ โดยเปิดโอกาสให้ทั้ง 2 มูลนิธิ และตัวแทนองค์การสาธารณประโยชน์อื่นๆ ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายบัญญัติส่งตัวแทน เพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการคุ้มครองสุขภาพอนามัย ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน และด้านการจัดการปัญหาวัตถุอันตรายในท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2551 เนื่องจากการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้เป็นไปตามกำหนดเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม แต่กลับแต่งตั้งตัวแทนขององค์กรด้านวิชาชีพ หรือเป็นตัวแทนของบริษัทที่มีกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายแทน
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้รับมอบอำนาจจากมูลนิธิชีววิถี กล่าวภายหลังศาลไต่สวน ว่า ศาลได้ไต่สวนความเห็นเพิ่มเติมจากทั้ง 2 ฝ่าย โดยทางฝ่ายผู้ถูกร้องได้ชี้แจงต่อศาลว่ากระบวนการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้น ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่ทางฝ่ายมูลนิธิมีหลักฐาน ว่า มีหน่วยงานราชการบางส่วนมีข้อคัดค้านเกรงว่าจะมีเรื่องผลประโยชน์ที่ทับซ้อน แต่อย่างไรก็ตามภายหลังการไต่สวนศาลยังไม่ได้มีคำสั่งใดๆ ออกมา
วันนี้ (23 ก.พ.) นายวิสูตร วัจนะเสถียรกุล ตุลาการศาลปกครองกลาง ในฐานะตุลาการเจ้าของสำนวนได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวในคดีที่มูลนิธิชีววิถี และมูลนิธิบูรณะนิเวศ ผู้ยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติครม.เมื่อวันที่ 9 พ.ย.53 เฉพาะส่วนที่มีมติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในลำดับที่ 6-9 คือ นางศุภวรรณ ตันตยานนท์ น.ส.สุมล ปวิตรานนท์ นายปกรณ์ สุจเร และ นายสุมิดา บุรณศิริ รวมทั้งขอให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประกาศ วันที่ 16 พ.ย.53 เฉพาะในส่วนของกรรมการในลำดับที่ 6-9 และขอให้ศาลมีคำสั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตรายทดแทนกรรมการที่ถูกเพิกถอนชื่อ โดยเปิดโอกาสให้ทั้ง 2 มูลนิธิ และตัวแทนองค์การสาธารณประโยชน์อื่นๆ ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายบัญญัติส่งตัวแทน เพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการคุ้มครองสุขภาพอนามัย ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน และด้านการจัดการปัญหาวัตถุอันตรายในท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2551 เนื่องจากการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้เป็นไปตามกำหนดเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม แต่กลับแต่งตั้งตัวแทนขององค์กรด้านวิชาชีพ หรือเป็นตัวแทนของบริษัทที่มีกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายแทน
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้รับมอบอำนาจจากมูลนิธิชีววิถี กล่าวภายหลังศาลไต่สวน ว่า ศาลได้ไต่สวนความเห็นเพิ่มเติมจากทั้ง 2 ฝ่าย โดยทางฝ่ายผู้ถูกร้องได้ชี้แจงต่อศาลว่ากระบวนการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้น ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่ทางฝ่ายมูลนิธิมีหลักฐาน ว่า มีหน่วยงานราชการบางส่วนมีข้อคัดค้านเกรงว่าจะมีเรื่องผลประโยชน์ที่ทับซ้อน แต่อย่างไรก็ตามภายหลังการไต่สวนศาลยังไม่ได้มีคำสั่งใดๆ ออกมา