วงอภิปรายยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนา ฉบับที่ 11 นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี ตั้งข้อสังเกตว่า แม้แผนพัฒนาฉบับนี้ จะกำหนดเป้าหมายครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงของประเทศในอนาคตรอบด้าน แต่ยังขาดเป้าหมาย หรือจุดหลักในการขับเคลื่อนประเทศ และแม้มีแผนปฏิบัติ แต่ขอบเขตที่กว้างเกินไปอาจเป็นช่องโหว่ หรือซ้ำเติมปัญหาเดิม โดยเฉพาะนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ควรจะยกเลิก เพราะเป็นการเพิ่มความเหลื่อมล้ำระหว่างเอกชนไทยกับบริษัทข้ามชาติ รวมถึงเอกชนอาจแย่งพื้นที่ทำกินของเกษตรกร เช่นเดียวกับนโยบายความมั่นคงทางอาหาร ควรกำหนดเป้าหมายให้มีที่ทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ร้อยละ 25 ของประเทศ แบบเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ภายใน 5 ปี และสร้างความชัดเจนในนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชจีเอ็มโอ ซึ่งปัจจุบันแม้จะหยุดทดลองแล้ว แต่ยังพบการกระจายตัวของพืชประเภทนี้ในหลายพื้นที่
รศ.สุริชัย หวันแก้ว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นห่วงว่า แผนพัฒนาฉบับที่ 11 ยังขาดการวางระบบบริหารจัดการด้านความสัมพันธ์แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาเมื่อนำมาปฏิบัติจริง ทั้งที่แผนฉบับนี้ ตั้งเป้าหมายรองรับการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ที่จะมีการเคลื่อนย้ายทุน หรือแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน
รศ.สุริชัย หวันแก้ว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นห่วงว่า แผนพัฒนาฉบับที่ 11 ยังขาดการวางระบบบริหารจัดการด้านความสัมพันธ์แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาเมื่อนำมาปฏิบัติจริง ทั้งที่แผนฉบับนี้ ตั้งเป้าหมายรองรับการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ที่จะมีการเคลื่อนย้ายทุน หรือแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน