อ.รัฐศาสตร์ จุฬาฯ วิพากษ์ประชาวิวัฒน์ เป็นนโยบายแบ่งเบาภาระหวังผลทางการเมือง ไม่ช่วย “ปชป.” โกยคะแนน เพราะเป็นสิทธิเดิมที่ถูกพรากตั้งแต่รัฐประหาร ชี้คนไทยได้ประโยชน์แค่ระยะสั้น
วันนี้ (9 ม.ค.) นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจารณ์ถึงโครงการเร่งรัฐปฏิบัติการด่วนเพื่อคนไทยว่า ตนมองว่าสิ่งที่นายกฯ ประกาศนั้นไม่ได้แก้ปัญหาให้กับประเทศ แต่เป็นเพียงการแบ่งเบาภาระ ซึ่งหวังผลทางการเมือง เนื่องจากการทำงานของรัฐบาลถือว่าเป็นช่วงสุดท้าย อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวก็มีจุดดี คือ ให้บุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระสามารถเข้าสู่ระบบสวัสดิการสังคมได้ แต่ยังไม่เห็นรายละเอียดว่ามีความแตกต่างจากระบบประกันสุขภาพ หรือบัตรทองอย่างไรบ้าง
“โครงการดังกล่าวยอมรับว่าเน้นในส่วนของภาคเศรษฐกิจ ให้คนได้ประโยชน์ในระยะสั้น คือ มีความมั่นคง แม้จะตกงานแต่ก็ยังมีระบบที่ดูแล แต่ในระยะยาวบุคคลที่ลงทะเบียนเพื่อยอมรับการเข้าสู่ระบบประกันสังคมจะหลีกเลี่ยง หรือ หลบเลี่ยงการที่รัฐเข้าไปแทรกแซงจัดเก็บรายได้ไม่ได้ ดังนั้นประชาชนที่ต้องการมีหลักประกันทางด้านเศรษฐกิจ ก็ต้องยอมรับการถูกแทรกแซง การจัดระเบียบโดยภาครัฐมากขึ้น” นายพิชญ์กล่าว
นายพิชญ์กล่าวอีกว่า การตรึงค่าแก๊ซหุงต้ม หรือไม่เก็บค่าไฟครัวเรือนที่ใช้ไฟไม่เกินกำหนด ถือว่าเป็นคนละเรื่องกับการส่งเสริมโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ เพราะไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจโต แม้ประชาชนจะลดรายจ่าย แต่ไม่สามารถหาเงินเข้ากระเป๋าเพิ่มขึ้น ที่สำคัญกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่ฐานการเมืองพรรคประชาธิปัตย์โดยตรงดังนั้นประเด็นนี้ประชาชนจึงคิดว่าสิ่งที่รัฐบาลประกาศเป็นสิทธิ์ที่ประชาชนควรได้รับ แต่ถูกพรากไปตั้งแต่มีการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
วันนี้ (9 ม.ค.) นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจารณ์ถึงโครงการเร่งรัฐปฏิบัติการด่วนเพื่อคนไทยว่า ตนมองว่าสิ่งที่นายกฯ ประกาศนั้นไม่ได้แก้ปัญหาให้กับประเทศ แต่เป็นเพียงการแบ่งเบาภาระ ซึ่งหวังผลทางการเมือง เนื่องจากการทำงานของรัฐบาลถือว่าเป็นช่วงสุดท้าย อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวก็มีจุดดี คือ ให้บุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระสามารถเข้าสู่ระบบสวัสดิการสังคมได้ แต่ยังไม่เห็นรายละเอียดว่ามีความแตกต่างจากระบบประกันสุขภาพ หรือบัตรทองอย่างไรบ้าง
“โครงการดังกล่าวยอมรับว่าเน้นในส่วนของภาคเศรษฐกิจ ให้คนได้ประโยชน์ในระยะสั้น คือ มีความมั่นคง แม้จะตกงานแต่ก็ยังมีระบบที่ดูแล แต่ในระยะยาวบุคคลที่ลงทะเบียนเพื่อยอมรับการเข้าสู่ระบบประกันสังคมจะหลีกเลี่ยง หรือ หลบเลี่ยงการที่รัฐเข้าไปแทรกแซงจัดเก็บรายได้ไม่ได้ ดังนั้นประชาชนที่ต้องการมีหลักประกันทางด้านเศรษฐกิจ ก็ต้องยอมรับการถูกแทรกแซง การจัดระเบียบโดยภาครัฐมากขึ้น” นายพิชญ์กล่าว
นายพิชญ์กล่าวอีกว่า การตรึงค่าแก๊ซหุงต้ม หรือไม่เก็บค่าไฟครัวเรือนที่ใช้ไฟไม่เกินกำหนด ถือว่าเป็นคนละเรื่องกับการส่งเสริมโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ เพราะไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจโต แม้ประชาชนจะลดรายจ่าย แต่ไม่สามารถหาเงินเข้ากระเป๋าเพิ่มขึ้น ที่สำคัญกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่ฐานการเมืองพรรคประชาธิปัตย์โดยตรงดังนั้นประเด็นนี้ประชาชนจึงคิดว่าสิ่งที่รัฐบาลประกาศเป็นสิทธิ์ที่ประชาชนควรได้รับ แต่ถูกพรากไปตั้งแต่มีการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549