ส.ว.เลือกตั้งเสียงเริ่มแตก!! “ประสิทธิ์” ยันหนุนแก้รัฐธรรมนูญ 2 ประเด็นตามพรรคร่วมก่อน ชี้คงไม่ยกร่าง “หมอเหวง” พิจารณา “เกชา” ถามทำไมแก้แค่ 2 ย้ำยำ 6 ประเด็นชงสภาแล้วปล่อยฟรีโหวต ด้านแก๊ง 40 ส.ว.ลั่นไม่สังฆกรรมทุกรูปแบบ หวั่นสอดไส้แก้มาตราอื่น พร้อมยำร่าง “เสื้อแดง” รวมเป็นฉบับเดียว แต่เชื่อจะทำให้เกิดวิกฤตการเมือง
วันนี้ (21 ม.ค.) ที่รัฐสภา นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี แกนนำกลุ่ม ส.ว.เลือกตั้ง ที่เคยเข้าชื่อร่วมกับ ส.ส.ยื่นญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น กล่าวถึงกรณีพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ประกาศจับมือกับพรรคภูมิใจไทย เตรียมเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็น ได้แก่ มาตรา 190 และเขตเลือกตั้งว่า ถ้าฝ่ายพรรคชาติไทยพัฒนาขอเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. โดยส่วนตัวก็จะลงชื่อสนับสนุนแม้จะเป็นการแก้ไข 2 ประเด็น เพราะมีความเคารพกับผู้หลักผู้ใหญ่ในพรรคดังกล่าวเป็นการส่วนตัว ส่วนเพื่อน ส.ว.ในกลุ่มจะมีท่าทีอย่างไรกับเรื่องนี้ ก็ยังไม่ได้คุยกันและคงต้องดูตัวร่างก่อนว่า เป็นอย่างไรมีเหตุผลอย่างไร ตอนนี้จึงยังตอบแทนเพื่อนส.ว.ทั้งกลุ่มไม่ได้ อย่างไรก็ดี ตอนนี้พรรคร่วมรัฐบาลยังไม่ได้มีการประสานมา ซึ่งถ้าประสานมาฝ่าย ส.ว.คงไม่ขอให้เพิ่มเติมให้ครบ 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอ เพราะฝ่ายพรรคร่วมมีเจตนาชัดว่าต้องการแก้ก่อน 2 ประเด็น ถ้าไปขอเพิ่มก็คงไม่ให้
เมื่อถามว่า ประธานรัฐสภาระบุว่า หากยื่นแก้ไขมา 2 ประเด็นอาจพิจารณาไปพร้อมกับร่างของ คป.พร.ที่คาอยู่ในวาระการประชุมนานแล้ว นายประสิทธิ์กล่าวว่า ตนเชื่อว่าพอถึงเวลาร่างของ คป.พร. คงยังไม่ยกขึ้นมาพิจารณาก่อน เพราะที่ผ่านมาร่างของ คป.พร.อยู่ในวาระแรก แต่ก็มีการเสนอเลื่อนวาระอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อนมาโดยตลอด ซึ่งหากต้องมีการโหวต ส.ว.ก็เห็นว่าข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ 6 ประเด็นตกผลึกแล้ว แต่สำหรับร่างของ คป.พร.นั้น เสนอแก้เป็นร้อยประเด็น ซึ่งคงไม่ใช่
ขณะที่ นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี แกนนำกลุ่ม ส.ว.เลือกตั้งกล่าวว่า ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลยังไม่ได้ประสานขอการสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็นมา ซึ่งถ้าร่างเข้าสภา ก็ต้องดูเหตุผลว่าทำไม เพราะเบื้องต้นถ้าแก้แค่ 2 ประเด็น ตนคิดว่าแคบไป แม้มาตรา 190 จะเป็นประโยชน์ร่วมกันในการบริหารของรัฐบาล ส่วนเรื่องเขตเลือกตั้งที่จะแก้ให้เป็นเขตเล็กแบบเขตเดียวเบอร์เดียว ตนก็เห็นด้วย เพราะเขตใหญ่เรียงเบอร์วุ่นวาย แต่ยังติดใจว่า ทำไมไม่แก้ให้ครบ 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ สรุปเป็นข้อเสนออกมาแล้ว ว่า เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ไม่รู้ว่าที่ยื่นแก้แค่ 2 ประเด็นเพราะกลัวเรื่องที่มาของ ส.ว.จะทำให้ใครได้ใครเสียอะไรไปหรือไม่ ถ้ายื่นเข้ามา 2 ประเด็น มันเพิ่มการแก้ไขเรื่องอื่นไม่ได้ ตนคิดว่า มันน่าจะแปรญัตติเพิ่มได้ ดังนั้น การเสนอร่างเข้าสภาน่าจะเสนอ 6 ประเด็น ใครจะเอาหรือไม่เอาอะไร ก็อภิปรายเหตุผลกันในสภา และแปรญัตติกัน สุดท้ายก็มาโหวตตัดสิน ส่วนร่างของ คป.พร.ที่ค้างในวาระ เชื่อว่าจะไม่มีการนำมารวมพิจารณาไปในคราวเดียวหากมีการยื่นร่างแก้ไข 2 ประเด็นเข้าสภา เพราะที่ผ่านมาแม้บรรจุร่างในวาระค้างอยู่นานแล้ว พอถึงเวลาพิจารณาก็เลื่อนวาระอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อนทุกครั้ง
ด้าน นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว.กล่าวว่า ที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 2 เรื่อง เป็นกล่องดวงใจของพรรคร่วม เพราะรู้ว่าเขตใหญ่เรียงเบอร์ สู้พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคเพื่อไทยไม่ได้ ส่วนมาตรา 190 เป็นของแถมมาแก้เกี้ยว ตนเห็นว่า ถึงเวลายื่นญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้าสภาไปจริง แม้จะยื่นแก้ 2 ประเด็น แต่อาจมีการสอดไส้ มาตรา 237, 265, 266, 309 เข้ามาด้วย เพราะร่างของ คป.พร. ก็ค้างอยู่ในวาระ จึงอาจเอามายำกันเป็นเรื่องเดียวเพื่อต่อรอง เกมก็จะยิ่งสู้กันหนักเพราะมีพรรคเพื่อไทยเข้ามาร่วมด้วยเพราะต้องการร่างของ คป.พร. ส่วนฝ่าย ส.ว.บางกลุ่มจะเอาด้วยกับ 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอ แต่สำหรับกลุ่ม 40 ส.ว.และส.ว.อีกบางส่วน ไม่เอาทั้ง 2 ประเด็นหรือ 6 ประเด็น เพราะเห็นว่าทั้งสองแบบเป็นผลประโยชน์นักการเมืองล้วนๆ
“นอกจากนี้ ทั้งร่างของ คป.พร. และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคร่วมรัฐบาลอาจใช้เป็นเครื่องมือต่อรองพรรคประชาธิปัตย์ด้วย เช่น หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอม พรรคร่วมอาจต่อรองจะฟรี โหวตตอนอภิปรายไม่ไว้วางใจก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ไม่น่าจะทำให้เกิดวิกฤต เพราะชนวนที่จะจุดวิกฤตน่าจะเป็นการเคลื่อนไหวนอกสภาของกลุ่มเสื้อแดงมากกว่าที่จะหยิบหลายๆ เรื่องเข้ามา ล่าสุดเรื่องยิงเอ็ม 79 ใส่ห้องทำงาน ผบ.ทบ. เป็นสัญญาณไม่ดี เพราะชี้ว่าความรุนแรงสามารถเกิดได้ตลอดเวลาโดยจับมือใครดมไม่ได้” นายประสารกล่าว
วันนี้ (21 ม.ค.) ที่รัฐสภา นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี แกนนำกลุ่ม ส.ว.เลือกตั้ง ที่เคยเข้าชื่อร่วมกับ ส.ส.ยื่นญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น กล่าวถึงกรณีพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ประกาศจับมือกับพรรคภูมิใจไทย เตรียมเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็น ได้แก่ มาตรา 190 และเขตเลือกตั้งว่า ถ้าฝ่ายพรรคชาติไทยพัฒนาขอเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. โดยส่วนตัวก็จะลงชื่อสนับสนุนแม้จะเป็นการแก้ไข 2 ประเด็น เพราะมีความเคารพกับผู้หลักผู้ใหญ่ในพรรคดังกล่าวเป็นการส่วนตัว ส่วนเพื่อน ส.ว.ในกลุ่มจะมีท่าทีอย่างไรกับเรื่องนี้ ก็ยังไม่ได้คุยกันและคงต้องดูตัวร่างก่อนว่า เป็นอย่างไรมีเหตุผลอย่างไร ตอนนี้จึงยังตอบแทนเพื่อนส.ว.ทั้งกลุ่มไม่ได้ อย่างไรก็ดี ตอนนี้พรรคร่วมรัฐบาลยังไม่ได้มีการประสานมา ซึ่งถ้าประสานมาฝ่าย ส.ว.คงไม่ขอให้เพิ่มเติมให้ครบ 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอ เพราะฝ่ายพรรคร่วมมีเจตนาชัดว่าต้องการแก้ก่อน 2 ประเด็น ถ้าไปขอเพิ่มก็คงไม่ให้
เมื่อถามว่า ประธานรัฐสภาระบุว่า หากยื่นแก้ไขมา 2 ประเด็นอาจพิจารณาไปพร้อมกับร่างของ คป.พร.ที่คาอยู่ในวาระการประชุมนานแล้ว นายประสิทธิ์กล่าวว่า ตนเชื่อว่าพอถึงเวลาร่างของ คป.พร. คงยังไม่ยกขึ้นมาพิจารณาก่อน เพราะที่ผ่านมาร่างของ คป.พร.อยู่ในวาระแรก แต่ก็มีการเสนอเลื่อนวาระอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อนมาโดยตลอด ซึ่งหากต้องมีการโหวต ส.ว.ก็เห็นว่าข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ 6 ประเด็นตกผลึกแล้ว แต่สำหรับร่างของ คป.พร.นั้น เสนอแก้เป็นร้อยประเด็น ซึ่งคงไม่ใช่
ขณะที่ นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี แกนนำกลุ่ม ส.ว.เลือกตั้งกล่าวว่า ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลยังไม่ได้ประสานขอการสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็นมา ซึ่งถ้าร่างเข้าสภา ก็ต้องดูเหตุผลว่าทำไม เพราะเบื้องต้นถ้าแก้แค่ 2 ประเด็น ตนคิดว่าแคบไป แม้มาตรา 190 จะเป็นประโยชน์ร่วมกันในการบริหารของรัฐบาล ส่วนเรื่องเขตเลือกตั้งที่จะแก้ให้เป็นเขตเล็กแบบเขตเดียวเบอร์เดียว ตนก็เห็นด้วย เพราะเขตใหญ่เรียงเบอร์วุ่นวาย แต่ยังติดใจว่า ทำไมไม่แก้ให้ครบ 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ สรุปเป็นข้อเสนออกมาแล้ว ว่า เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ไม่รู้ว่าที่ยื่นแก้แค่ 2 ประเด็นเพราะกลัวเรื่องที่มาของ ส.ว.จะทำให้ใครได้ใครเสียอะไรไปหรือไม่ ถ้ายื่นเข้ามา 2 ประเด็น มันเพิ่มการแก้ไขเรื่องอื่นไม่ได้ ตนคิดว่า มันน่าจะแปรญัตติเพิ่มได้ ดังนั้น การเสนอร่างเข้าสภาน่าจะเสนอ 6 ประเด็น ใครจะเอาหรือไม่เอาอะไร ก็อภิปรายเหตุผลกันในสภา และแปรญัตติกัน สุดท้ายก็มาโหวตตัดสิน ส่วนร่างของ คป.พร.ที่ค้างในวาระ เชื่อว่าจะไม่มีการนำมารวมพิจารณาไปในคราวเดียวหากมีการยื่นร่างแก้ไข 2 ประเด็นเข้าสภา เพราะที่ผ่านมาแม้บรรจุร่างในวาระค้างอยู่นานแล้ว พอถึงเวลาพิจารณาก็เลื่อนวาระอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อนทุกครั้ง
ด้าน นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว.กล่าวว่า ที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 2 เรื่อง เป็นกล่องดวงใจของพรรคร่วม เพราะรู้ว่าเขตใหญ่เรียงเบอร์ สู้พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคเพื่อไทยไม่ได้ ส่วนมาตรา 190 เป็นของแถมมาแก้เกี้ยว ตนเห็นว่า ถึงเวลายื่นญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้าสภาไปจริง แม้จะยื่นแก้ 2 ประเด็น แต่อาจมีการสอดไส้ มาตรา 237, 265, 266, 309 เข้ามาด้วย เพราะร่างของ คป.พร. ก็ค้างอยู่ในวาระ จึงอาจเอามายำกันเป็นเรื่องเดียวเพื่อต่อรอง เกมก็จะยิ่งสู้กันหนักเพราะมีพรรคเพื่อไทยเข้ามาร่วมด้วยเพราะต้องการร่างของ คป.พร. ส่วนฝ่าย ส.ว.บางกลุ่มจะเอาด้วยกับ 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอ แต่สำหรับกลุ่ม 40 ส.ว.และส.ว.อีกบางส่วน ไม่เอาทั้ง 2 ประเด็นหรือ 6 ประเด็น เพราะเห็นว่าทั้งสองแบบเป็นผลประโยชน์นักการเมืองล้วนๆ
“นอกจากนี้ ทั้งร่างของ คป.พร. และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคร่วมรัฐบาลอาจใช้เป็นเครื่องมือต่อรองพรรคประชาธิปัตย์ด้วย เช่น หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอม พรรคร่วมอาจต่อรองจะฟรี โหวตตอนอภิปรายไม่ไว้วางใจก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ไม่น่าจะทำให้เกิดวิกฤต เพราะชนวนที่จะจุดวิกฤตน่าจะเป็นการเคลื่อนไหวนอกสภาของกลุ่มเสื้อแดงมากกว่าที่จะหยิบหลายๆ เรื่องเข้ามา ล่าสุดเรื่องยิงเอ็ม 79 ใส่ห้องทำงาน ผบ.ทบ. เป็นสัญญาณไม่ดี เพราะชี้ว่าความรุนแรงสามารถเกิดได้ตลอดเวลาโดยจับมือใครดมไม่ได้” นายประสารกล่าว