เคาะข่าวริมโขง : สาวไส้เน่า "บินไทย" หลังบอร์ดบริหาร สั่งยกเลิกบิน 3 เส้นทาง โดยให้ "นกแอร์" บินแทน อ้างขาดทุนบินต่อไม่ไหว ทั้งที่เอเย่นต์ขายตั๋วแจงที่นั่งเต็มทุกเที่ยว แฉปม "บินไทย" หมักหมม เพราะนักการเมืองชั่วผสมโรงบอร์ดบริหารขี้โกง สูบประโยชน์จนร่อแร่ เผย "เจ้าแม่ทรงอิทธิพล"ร่วมมือเมียสามเกลอหัวขวด ล้วงลูก "บินไทย" ส่งข้อมูลลับใบเสร็จมัด "กรณ์" ให้ "อนุดิษฐ์"
คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ "เคาะข่าวริมโขง"
รายการ “เคาะข่าวริมโขง” ออกอากาศทาง “อีสานทีวี” ช่วงเวลา 18.30-20.30 น. วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม มี น.ส.วรรษมน ช่างปรีชา นายชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งวันนี้ได้เชิญ น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก และนายประพันธ์ คูณมี กรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ มาร่วมพูดคุยถึงประเด็นข่าวเด่นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกรณี ไส้เน่าในการบินไทย ที่ดูเหมือนเวลานี้เรื่องราวจะลุกลามไปใหญ่โต เพราะส่อเค้าว่าจะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อนมากมาย
น.ส.วรรษมน กล่าวเปิดประเด็นถึง ความไม่ชอบมาพากลใน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งทางฝ่ายผู้บริหารได้ออกมาระบุว่า ได้มีการสั่งยกเลิกเส้นทางการบินในประเทศ 3 เส้นทาง คือ แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก และอุบลราชธานี เนื่องจากทนแบกรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายไม่ไหว จึงจำเป็นต้องยกเลิก โดยจะให้สายการบินนกแอร์ มาดำเนินการบินแทน
ทั้งนี้ ในรายการได้มีการต่อสายโทรศัพท์สัมภาษณ์สด นายวรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ในฐานะผู้ใช้บริการสายการบินไทย เส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี เป็นประจำ มาร่วมพูดคุยถึงประเด็นดังกล่าว นายวรวิทย์ กล่าวว่า ตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องผลประโยชน์ใดๆในการบินไทย แต่ที่ออกมาเปิดเผยตัว เพราะเห็นว่าสายการบินดังกล่าวคือสมบัติของประเทศชาติ ที่ตนอยากปกป้องผลประโยชน์ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง โดยตนรู้สึกไม่เข้าใจในสิ่งที่ฝ่ายบริหารการบินไทย ออกมาระบุว่า จะยกเลิกเส้นทางการบิน กรุงเทพฯ-อุบลฯ เนื่องจากขาดทุนในการดำเนินธุรกิจ จึงของดให้บริการเส้นทางการบินดังกล่าว ซึ่งตนอยากจะให้ฝ่ายบริหารการบินไทย ออกมาชี้แจงให้ละเอียดว่า สาเหตุที่ขาดทุนหรือขาดสภาพคล่องนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะที่ตนทราบมาตลอด คือ เส้นทางการบินดังกล่าวมีผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยวบิน แต่ตัวเลขที่ฝ่ายบริหารการบินออกมาชี้แจง เท่าที่ตนทราบคือ ตลอดเวลาที่ให้บริการเส้นทางการบิน กรุงเทพฯ-อุบลฯ ขาดทุนถึง 70 ล้านบาท ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ตนได้ไปจี้ถามฝ่ายบริหารการบินไทย เนื่องจากอยากทราบว่าตัวเลขดังกล่าว ขาดทุนมาได้อย่างไร แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบของคำถามดังกล่าว
นายวรวิทย์ กล่าวต่อว่า ในวันที่ 1 มีนาคม 2553 การบินไทยจะเปลี่ยนให้สายการบินนกแอร์ มาให้บริการแทน ในเส้นทางการบิน กรุงเทพฯ-อุบลฯ ซึ่งตนอยากถามว่า หากทางการบินไทยขาดทุนหรือขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจจริง เหตุใดจึงให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการยกเส้นทางการบินให้สายการบินนกแอร์มาดำเนินธุรกิจแทน โดยเรื่องนี้ทำไมการบินไทย ไม่พยายามหาต้นตอของปัญหาแล้วดำเนินการแก้ไข แต่ทำไมถึงตัดตอนปัญหาด้วยวิธีดังกล่าว ทั้งนี้ ตนอยากให้สังคมช่วยตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะตนไม่ต้องการให้ผู้บริหารการบินไทยบางคนมาพูดจาผิดศีลหรือพูดโกหกเรื่องรายได้ เพื่อใช้มาเป็นข้ออ้างในการยกเส้นทางการบินให้สายการบินนกแอร์
น.ส.อัญชะลี กล่าวประเด็นเดียวกันว่า ตนได้ข่าวมาว่า เส้นทางการบิน กรุงเทพฯ-อุบลฯ เอเย่นต์ขายตั๋วเครื่องบินได้รายงานมาว่า ตั้งแต่มีการเปิดให้บริการ ไม่เคยขาดทุน จนถึงไม่มีคนใช้บริการ ดังนั้น จึงสงสัยฝ่ายบริหารว่าทำไมถึงออกมาระบุว่าขาดทุน ทั้งที่ไม่ตรงกับความจริง
นายชัชวาลย์ กล่าวประเด็นนี้ว่า การบินไทยอ้างมาตลอดว่า สายการบินนกแอร์ ดำเนินธุรกิจสายการบินโลว์คอร์สอยู่แล้ว ทำให้มีต้นทุนการบินที่ต่ำกว่าการบินไทย ดังนั้น เวลานี้ฝ่ายบริหารการบินไทย หากบริสุทธิ์ใจจริงต้องออกมาเปิดเผยตัวเลขว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
น.ส.อัญชะลี กล่าวเสริมว่า สายการบินต้นทุนต่ำหรือโลว์คอร์ส มักเกิดปัญหาเรื่องดีเลย์หรือยกเลิกเที่ยวบินกระทันหัน โดยไม่ได้แจ้งผู้โดยสารล่วงหน้า ซึ่งหลายครั้งได้สร้างปัญหาให้แก่ผู้โดยสาร ทั้งนี้ สายการบินนกแอร์ ก็โดนร้องเรียนเรื่องปัญหาการบริการด้านนี้มาตลอด ดังนั้น การบินไทยต้องชี้แจงว่ามีเหตุผลใดจึงทำเช่นนั้น
นายชัชวาลย์ กล่าวว่า การบินไทย จากเดิมเคยเป็นองค์กรที่ร่ำรวย และทำกำไรมหาศาล แต่เวลานี้ แทบจะดำเนินธุรกิจแบบเอาตัวไม่รอด ซึ่งปัญหาเกิดจาก 2 ส่วน คือ มีนักการเมืองขี้โกงเข้าไปมีส่วนในผลประโยชน์ และมีผู้บริหารบางคนรู้เห็นเป็นใจให้นักการเมืองขี้โกงทำเช่นนั้น ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จึงถือเป็นปัญหาสะสมที่หมักหมมมายาวนาน โดยผู้บริหารการบินไทย ต้องตอบคำถามคนไทยข้อนี้
น.ส.อัญชะลี กล่าวว่า มีประเด็นต่อเนื่องจากปัญหาในการบินไทย คือ กรณีที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า นายกรณ์ จาติกวนิช รมว.คลัง ได้ใช้สิทธิอัพเกรดตั๋วเครื่องบินสายการบินไทยจากชั้นประหยัด เป็นชั้นธุรกิจในการเดินทางไปต่างประเทศ 14 ครั้ง โดยมีผู้ใหญ่ในการบินไทยดำเนินเรื่องให้
นายชัชวาลย์ กล่าวประเด็นนี้ว่า เวลานี้หลายเรื่องรุ้มเร้าการบินไทย ดังนั้น ถ้าหากมองในแง่ดี อาจถึงเวลาที่ต้องชำแหละปัญหาต่างๆของการบินไทย เพื่อนำออกมาสางปัญหาและปฏิรูปองค์กร
น.ส.อัญชะลี กล่าวเสริมว่า มีรายงานข่าวระบุว่า ข้อมูลับที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นำออกมากล่าวหาเป็นใบเสร็จมัดตัว นายกรณ์ แท้จริงแล้วได้มาจากมารดานายอนุดิษฐ์ ที่เป็นผู้ทรงอิทธพลในการบินไทย นอกจากนี้ อาจเป็นไปได้ว่า อาจจะมีภรรยาหนึ่งในแก๊งค์สามเกลอหัวขวด ที่เป็นคนในการบินร่วมมือล้วงข้อมูลดังกล่าวด้วย
คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ "เคาะข่าวริมโขง"
รายการ “เคาะข่าวริมโขง” ออกอากาศทาง “อีสานทีวี” ช่วงเวลา 18.30-20.30 น. วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม มี น.ส.วรรษมน ช่างปรีชา นายชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งวันนี้ได้เชิญ น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก และนายประพันธ์ คูณมี กรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ มาร่วมพูดคุยถึงประเด็นข่าวเด่นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกรณี ไส้เน่าในการบินไทย ที่ดูเหมือนเวลานี้เรื่องราวจะลุกลามไปใหญ่โต เพราะส่อเค้าว่าจะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อนมากมาย
น.ส.วรรษมน กล่าวเปิดประเด็นถึง ความไม่ชอบมาพากลใน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งทางฝ่ายผู้บริหารได้ออกมาระบุว่า ได้มีการสั่งยกเลิกเส้นทางการบินในประเทศ 3 เส้นทาง คือ แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก และอุบลราชธานี เนื่องจากทนแบกรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายไม่ไหว จึงจำเป็นต้องยกเลิก โดยจะให้สายการบินนกแอร์ มาดำเนินการบินแทน
ทั้งนี้ ในรายการได้มีการต่อสายโทรศัพท์สัมภาษณ์สด นายวรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ในฐานะผู้ใช้บริการสายการบินไทย เส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี เป็นประจำ มาร่วมพูดคุยถึงประเด็นดังกล่าว นายวรวิทย์ กล่าวว่า ตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องผลประโยชน์ใดๆในการบินไทย แต่ที่ออกมาเปิดเผยตัว เพราะเห็นว่าสายการบินดังกล่าวคือสมบัติของประเทศชาติ ที่ตนอยากปกป้องผลประโยชน์ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง โดยตนรู้สึกไม่เข้าใจในสิ่งที่ฝ่ายบริหารการบินไทย ออกมาระบุว่า จะยกเลิกเส้นทางการบิน กรุงเทพฯ-อุบลฯ เนื่องจากขาดทุนในการดำเนินธุรกิจ จึงของดให้บริการเส้นทางการบินดังกล่าว ซึ่งตนอยากจะให้ฝ่ายบริหารการบินไทย ออกมาชี้แจงให้ละเอียดว่า สาเหตุที่ขาดทุนหรือขาดสภาพคล่องนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะที่ตนทราบมาตลอด คือ เส้นทางการบินดังกล่าวมีผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยวบิน แต่ตัวเลขที่ฝ่ายบริหารการบินออกมาชี้แจง เท่าที่ตนทราบคือ ตลอดเวลาที่ให้บริการเส้นทางการบิน กรุงเทพฯ-อุบลฯ ขาดทุนถึง 70 ล้านบาท ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ตนได้ไปจี้ถามฝ่ายบริหารการบินไทย เนื่องจากอยากทราบว่าตัวเลขดังกล่าว ขาดทุนมาได้อย่างไร แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบของคำถามดังกล่าว
นายวรวิทย์ กล่าวต่อว่า ในวันที่ 1 มีนาคม 2553 การบินไทยจะเปลี่ยนให้สายการบินนกแอร์ มาให้บริการแทน ในเส้นทางการบิน กรุงเทพฯ-อุบลฯ ซึ่งตนอยากถามว่า หากทางการบินไทยขาดทุนหรือขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจจริง เหตุใดจึงให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการยกเส้นทางการบินให้สายการบินนกแอร์มาดำเนินธุรกิจแทน โดยเรื่องนี้ทำไมการบินไทย ไม่พยายามหาต้นตอของปัญหาแล้วดำเนินการแก้ไข แต่ทำไมถึงตัดตอนปัญหาด้วยวิธีดังกล่าว ทั้งนี้ ตนอยากให้สังคมช่วยตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะตนไม่ต้องการให้ผู้บริหารการบินไทยบางคนมาพูดจาผิดศีลหรือพูดโกหกเรื่องรายได้ เพื่อใช้มาเป็นข้ออ้างในการยกเส้นทางการบินให้สายการบินนกแอร์
น.ส.อัญชะลี กล่าวประเด็นเดียวกันว่า ตนได้ข่าวมาว่า เส้นทางการบิน กรุงเทพฯ-อุบลฯ เอเย่นต์ขายตั๋วเครื่องบินได้รายงานมาว่า ตั้งแต่มีการเปิดให้บริการ ไม่เคยขาดทุน จนถึงไม่มีคนใช้บริการ ดังนั้น จึงสงสัยฝ่ายบริหารว่าทำไมถึงออกมาระบุว่าขาดทุน ทั้งที่ไม่ตรงกับความจริง
นายชัชวาลย์ กล่าวประเด็นนี้ว่า การบินไทยอ้างมาตลอดว่า สายการบินนกแอร์ ดำเนินธุรกิจสายการบินโลว์คอร์สอยู่แล้ว ทำให้มีต้นทุนการบินที่ต่ำกว่าการบินไทย ดังนั้น เวลานี้ฝ่ายบริหารการบินไทย หากบริสุทธิ์ใจจริงต้องออกมาเปิดเผยตัวเลขว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
น.ส.อัญชะลี กล่าวเสริมว่า สายการบินต้นทุนต่ำหรือโลว์คอร์ส มักเกิดปัญหาเรื่องดีเลย์หรือยกเลิกเที่ยวบินกระทันหัน โดยไม่ได้แจ้งผู้โดยสารล่วงหน้า ซึ่งหลายครั้งได้สร้างปัญหาให้แก่ผู้โดยสาร ทั้งนี้ สายการบินนกแอร์ ก็โดนร้องเรียนเรื่องปัญหาการบริการด้านนี้มาตลอด ดังนั้น การบินไทยต้องชี้แจงว่ามีเหตุผลใดจึงทำเช่นนั้น
นายชัชวาลย์ กล่าวว่า การบินไทย จากเดิมเคยเป็นองค์กรที่ร่ำรวย และทำกำไรมหาศาล แต่เวลานี้ แทบจะดำเนินธุรกิจแบบเอาตัวไม่รอด ซึ่งปัญหาเกิดจาก 2 ส่วน คือ มีนักการเมืองขี้โกงเข้าไปมีส่วนในผลประโยชน์ และมีผู้บริหารบางคนรู้เห็นเป็นใจให้นักการเมืองขี้โกงทำเช่นนั้น ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จึงถือเป็นปัญหาสะสมที่หมักหมมมายาวนาน โดยผู้บริหารการบินไทย ต้องตอบคำถามคนไทยข้อนี้
น.ส.อัญชะลี กล่าวว่า มีประเด็นต่อเนื่องจากปัญหาในการบินไทย คือ กรณีที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า นายกรณ์ จาติกวนิช รมว.คลัง ได้ใช้สิทธิอัพเกรดตั๋วเครื่องบินสายการบินไทยจากชั้นประหยัด เป็นชั้นธุรกิจในการเดินทางไปต่างประเทศ 14 ครั้ง โดยมีผู้ใหญ่ในการบินไทยดำเนินเรื่องให้
นายชัชวาลย์ กล่าวประเด็นนี้ว่า เวลานี้หลายเรื่องรุ้มเร้าการบินไทย ดังนั้น ถ้าหากมองในแง่ดี อาจถึงเวลาที่ต้องชำแหละปัญหาต่างๆของการบินไทย เพื่อนำออกมาสางปัญหาและปฏิรูปองค์กร
น.ส.อัญชะลี กล่าวเสริมว่า มีรายงานข่าวระบุว่า ข้อมูลับที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นำออกมากล่าวหาเป็นใบเสร็จมัดตัว นายกรณ์ แท้จริงแล้วได้มาจากมารดานายอนุดิษฐ์ ที่เป็นผู้ทรงอิทธพลในการบินไทย นอกจากนี้ อาจเป็นไปได้ว่า อาจจะมีภรรยาหนึ่งในแก๊งค์สามเกลอหัวขวด ที่เป็นคนในการบินร่วมมือล้วงข้อมูลดังกล่าวด้วย