ASTVผู้จัดการรายวัน - นายกฯ สั่งการบินไทยทบทวน ยกเลิกเที่ยวบินไปอุบลฯ ครม.ร่วมด้วยช่วยยำ ทำไมต้องเอื้อนกแอร์ “ปิยสวัสดิ์” แจงทำตามแผนพร้อมการันตี
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา13.50 น. วานนี้ (22 ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอิสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะ ส.ส. จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำนายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นางเพ็ญพักตร์ ศรีทอง ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อร้องเรียนและขอให้ระงับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางกทม.-อุบลฯ-กทม.
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในที่ประชุม ครม.ได้รับทราบกรณีที่การบินไทย มีแนวคิดที่จะยกเลิกเที่ยวบินภายในหลายจังหวัด เช่น อุบลราชธานี สุราษฏร์ธานี และจะให้ทางนกแอร์ หรือสายการบินอื่นมาบินแทน โดยการบินไทยได้บอกถึงเหตุผลในเรื่องของต้นทุน หากการบินไทยยังคงให้บริการต่อไป ก็อาจจะต้องมีการปรับขึ้นค่าโดยสาร ซึ่งครม.มีความเห็นให้กระทรวงคมนาคมไปดูว่าที่ผ่านมา มีการดำเนินการเช่นนี้กับหลายจังหวัดหรือไม่ และให้การบินไทยทำรายงานเสนอรมว.คมนาคมในฐานะผู้กำกับ และกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ว่าปัญหาในจังหวัดอื่นเป็นอย่างไร ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับเส้นทางบินในจังหวัดที่เหลืออยู่
ทั้งนี้ การแก้ปัญหาโดยให้นกแอร์หรือสายการบินต้นทุนต่ำอื่นๆ มาให้บริการแทน จะต้องยืนยันได้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องการยกเลิกเที่ยวบิน หรือหากจะให้การบินไทยบินต่อไป ก็ต้องขึ้นค่าโดยสารนั้น ก็ต้องทำให้โปร่งใส บอกสาธารณชนให้เข้าใจ อย่างไรก็ตาม เรื่องขาดทุน ที่การบินไทยอ้างเป็นปัญหาในหลายเส้นทาง แต่บางเส้นทางมีผู้โดยสารเต็มก็อ้างว่าขาดทุน และไม่เฉพาะในประเทศเท่านั้นบางเส้นทางที่ไปต่างประเทศ ก็เต็มและขาดทุน ตรงนี้คงต้องไปดูว่าจะแก้ไขอย่างไร และเมื่อเป็นอย่างที่การบินไทยกล่าวอ้างมานั้นก็ต้องมาดูว่า เมื่อจะบินต่อ แต่ต้องมีการขึ้นค่าโดยสารจะรับกันได้แค่ไหน
“ได้รับการร้องเรียนว่า เมื่อให้สายการบินอื่นเข้ามาให้บริการ มักจะมีปัญหาในเรื่องการบริการ เช่น ล่าช้าหลายชั่วโมง ยกเลิกเที่ยวบินเอาดื้อๆ ที่สำคัญ คือ เวลาที่ช่วงไหนคนเดินทางมาก ราคาจะสูงกว่าการบินไทย แต่ถ้าการบินไทยไม่อยากจะบินต่อ เพราะค่าโดยสารไม่สอดคล้องกับต้นทุน ก็ควรไปทำเป็นตัวเลขให้สังคมได้รับทราบ”นายอภิสิทธิ์กล่าว
นางเพ็ญพักตร์ ศรีทอง ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะจ.อุบลฯ เป็นจังหวัดที่เป็นประตูเชื่อมออกไปสู่อินโดจีน ตรงนี้หากนำสายการบินต้นทุนต่ำมาบิน จะมีปัญหาในเรื่องความไม่แน่นอน ภาคธุรกิจ การท่องเที่ยวจะเสียหายได้ นอกจากนี้ ยังขอให้นายกฯ ช่วยพิจารณา ก่อสร้างขยาย ถนน 4 เลน จาก อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ไปยัง จ.อุบลฯที่มีระยะทางประมาณ 130 ก.ม.ให้ด้วย เพราะหากการบินไทยสั่งงดเที่ยวบิน ถนน 4 เลนก็ไม่มี การจะพัฒนาพื้นที่ภาคอีสานใต้ ก็เป็นไปได้ยาก
**ครม.รุมสกรัมเอื้อนกแอร์
แหล่งข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม ไปรวบตัวเลข และสถิติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน รวมถึงเหตุผลในการยกเลิกเส้นทางบินของการบินไทย รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ เช่น หากจะไม่ยกเลิกจะให้รัฐบาลช่วยเหลือหรืออุดหนุนอย่างไร หรือหากจำเป็นต้องขึ้นค่าโดยสารแลกกับการไม่ยกเลิกเส้นทางบินจะเป็นอัตราเท่าไร
นอกจากนี้ ในการถกเถียงกันเรื่องนี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้งรัฐมนตรีหลายคน เช่น นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวตำหนินายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานบอร์ดการบินไทย ให้ทบทวนการยกเลิกเส้นทางบินในต่างจังหวัด และให้สายการบินราคาถูกมาบินแทน เพราะมีการร้องเรียนจำนวนมาก เช่น บริการไม่ดี ยกเลิกหรือเลื่อนเที่ยวบินโดยไม่มีกำหนดสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้โดยสาร
ทั้งนี้ นายสุเทพได้กล่าวตำหนิอย่างรุนแรงว่า เหตุใดทางการบินไทยจึงเอื้อประโยชน์มากเป็นพิเศษแก่บริษัท นกแอร์ พร้อมกับยกตัวอย่างสายการบินที่กำลังยกเลิก เช่น ตรัง สุราษฎ์ธานี พิษณุโลก และอุบลราชธานี โดยระบุว่าได้รับการร้องเรียนเช่นกันว่า สายการบินต้นทุนต่ำมักจะยกเลิกเที่ยวบินโดยไม่แจ้งให้ผู้โดยสารรับทราบ นอกจากนั้น บางแห่งยังดีเลย์เป็นเวลา 4-5 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม นายอำพนกล่าวในที่ประชุมครม.ว่ามี 2 ทางเลือก คือ ให้ครม.แจ้งไปยังบอร์ดการบินไทยให้รับทราบการไม่ยกเลิกสายการบินโลว์คอร์สบางเส้นทางเพื่อให้บอร์ดได้รับทราบพร้อมกับยอมรับตัวเลขการขาดทุน และถ้าจะไม่ยกเลิกก็ต้องให้ขึ้นราคาได้หรือไม่
**“ปิยสวัสดิ์”อ้างทำตามกลยุทธ์
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การบินไทยได้ร่วมมือกับนกแอร์เพื่อให้ทำการบินเส้นทางสายรองภายในประเทศ โดยประชาชนจะได้รับบริการในระดับเดียวกันกับที่ได้รับจากการบินไทย ซึ่งเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ Two-Brand Strategy และได้รายงานและอธิบายถึงแนวทางการดำเนินนโยบายดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรีและหารือรมว.คมนาคมแล้ว ซึ่งจะมีการแจ้งล่วงหน้าก่อนที่การบินไทยจะหยุดบินอย่างน้อย 2 เดือนและนกแอร์จะต้องพร้อมเข้ามาบริการแทนทันทีโดยเช่าเครื่องบินของการบินไทย และให้บริการในอัตราค่าโดยสารที่ต่ำกว่าการบินไทย
“เรื่องนี้ยังไม่มีคำสั่งให้หยุดดำเนินการตามแผน ดังนั้น ก็จะเดินหน้าต่อไปและต้องอธิบายให้เข้าใจมากขึ้นว่าไม่ได้กระทบต่อบริการที่เคยได้รับแต่อย่างใด เพราะถือว่าการบินไทยไม่ได้ยกเลิกแต่เปลี่ยนให้นกแอร์ไปบินแทน”นายปิยสวัสดิ์กล่าว
ทั้งนี้ ตามข้อตกลง การบินไทยจะให้นกแอร์บินในเส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก, กรุงเทพ-อุดรธานีและเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ในวันที่ 1 มี.ค.2553 ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กำหนดไว้วันที่ 5ก.พ.2553
ก่อนหน้านี้ การบินไทย ได้มีการศึกษาผลดี ผลเสีย อย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ โดยปัญหาของการบินไทนในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา คือ ผลการดำเนินการในเส้นทางพิษณุโลกขาดทุนเฉลี่ย 86.3 ล้านบาทต่อปี อุบลราชธานีขาดทุนเฉลี่ย 74.9 ล้านบาทต่อปี และแม่ฮ่องสอนขาดทุนเฉลี่ย 499 ล้านบาทต่อปี
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา13.50 น. วานนี้ (22 ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอิสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะ ส.ส. จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำนายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นางเพ็ญพักตร์ ศรีทอง ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อร้องเรียนและขอให้ระงับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางกทม.-อุบลฯ-กทม.
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในที่ประชุม ครม.ได้รับทราบกรณีที่การบินไทย มีแนวคิดที่จะยกเลิกเที่ยวบินภายในหลายจังหวัด เช่น อุบลราชธานี สุราษฏร์ธานี และจะให้ทางนกแอร์ หรือสายการบินอื่นมาบินแทน โดยการบินไทยได้บอกถึงเหตุผลในเรื่องของต้นทุน หากการบินไทยยังคงให้บริการต่อไป ก็อาจจะต้องมีการปรับขึ้นค่าโดยสาร ซึ่งครม.มีความเห็นให้กระทรวงคมนาคมไปดูว่าที่ผ่านมา มีการดำเนินการเช่นนี้กับหลายจังหวัดหรือไม่ และให้การบินไทยทำรายงานเสนอรมว.คมนาคมในฐานะผู้กำกับ และกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ว่าปัญหาในจังหวัดอื่นเป็นอย่างไร ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับเส้นทางบินในจังหวัดที่เหลืออยู่
ทั้งนี้ การแก้ปัญหาโดยให้นกแอร์หรือสายการบินต้นทุนต่ำอื่นๆ มาให้บริการแทน จะต้องยืนยันได้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องการยกเลิกเที่ยวบิน หรือหากจะให้การบินไทยบินต่อไป ก็ต้องขึ้นค่าโดยสารนั้น ก็ต้องทำให้โปร่งใส บอกสาธารณชนให้เข้าใจ อย่างไรก็ตาม เรื่องขาดทุน ที่การบินไทยอ้างเป็นปัญหาในหลายเส้นทาง แต่บางเส้นทางมีผู้โดยสารเต็มก็อ้างว่าขาดทุน และไม่เฉพาะในประเทศเท่านั้นบางเส้นทางที่ไปต่างประเทศ ก็เต็มและขาดทุน ตรงนี้คงต้องไปดูว่าจะแก้ไขอย่างไร และเมื่อเป็นอย่างที่การบินไทยกล่าวอ้างมานั้นก็ต้องมาดูว่า เมื่อจะบินต่อ แต่ต้องมีการขึ้นค่าโดยสารจะรับกันได้แค่ไหน
“ได้รับการร้องเรียนว่า เมื่อให้สายการบินอื่นเข้ามาให้บริการ มักจะมีปัญหาในเรื่องการบริการ เช่น ล่าช้าหลายชั่วโมง ยกเลิกเที่ยวบินเอาดื้อๆ ที่สำคัญ คือ เวลาที่ช่วงไหนคนเดินทางมาก ราคาจะสูงกว่าการบินไทย แต่ถ้าการบินไทยไม่อยากจะบินต่อ เพราะค่าโดยสารไม่สอดคล้องกับต้นทุน ก็ควรไปทำเป็นตัวเลขให้สังคมได้รับทราบ”นายอภิสิทธิ์กล่าว
นางเพ็ญพักตร์ ศรีทอง ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะจ.อุบลฯ เป็นจังหวัดที่เป็นประตูเชื่อมออกไปสู่อินโดจีน ตรงนี้หากนำสายการบินต้นทุนต่ำมาบิน จะมีปัญหาในเรื่องความไม่แน่นอน ภาคธุรกิจ การท่องเที่ยวจะเสียหายได้ นอกจากนี้ ยังขอให้นายกฯ ช่วยพิจารณา ก่อสร้างขยาย ถนน 4 เลน จาก อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ไปยัง จ.อุบลฯที่มีระยะทางประมาณ 130 ก.ม.ให้ด้วย เพราะหากการบินไทยสั่งงดเที่ยวบิน ถนน 4 เลนก็ไม่มี การจะพัฒนาพื้นที่ภาคอีสานใต้ ก็เป็นไปได้ยาก
**ครม.รุมสกรัมเอื้อนกแอร์
แหล่งข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม ไปรวบตัวเลข และสถิติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน รวมถึงเหตุผลในการยกเลิกเส้นทางบินของการบินไทย รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ เช่น หากจะไม่ยกเลิกจะให้รัฐบาลช่วยเหลือหรืออุดหนุนอย่างไร หรือหากจำเป็นต้องขึ้นค่าโดยสารแลกกับการไม่ยกเลิกเส้นทางบินจะเป็นอัตราเท่าไร
นอกจากนี้ ในการถกเถียงกันเรื่องนี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้งรัฐมนตรีหลายคน เช่น นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวตำหนินายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานบอร์ดการบินไทย ให้ทบทวนการยกเลิกเส้นทางบินในต่างจังหวัด และให้สายการบินราคาถูกมาบินแทน เพราะมีการร้องเรียนจำนวนมาก เช่น บริการไม่ดี ยกเลิกหรือเลื่อนเที่ยวบินโดยไม่มีกำหนดสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้โดยสาร
ทั้งนี้ นายสุเทพได้กล่าวตำหนิอย่างรุนแรงว่า เหตุใดทางการบินไทยจึงเอื้อประโยชน์มากเป็นพิเศษแก่บริษัท นกแอร์ พร้อมกับยกตัวอย่างสายการบินที่กำลังยกเลิก เช่น ตรัง สุราษฎ์ธานี พิษณุโลก และอุบลราชธานี โดยระบุว่าได้รับการร้องเรียนเช่นกันว่า สายการบินต้นทุนต่ำมักจะยกเลิกเที่ยวบินโดยไม่แจ้งให้ผู้โดยสารรับทราบ นอกจากนั้น บางแห่งยังดีเลย์เป็นเวลา 4-5 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม นายอำพนกล่าวในที่ประชุมครม.ว่ามี 2 ทางเลือก คือ ให้ครม.แจ้งไปยังบอร์ดการบินไทยให้รับทราบการไม่ยกเลิกสายการบินโลว์คอร์สบางเส้นทางเพื่อให้บอร์ดได้รับทราบพร้อมกับยอมรับตัวเลขการขาดทุน และถ้าจะไม่ยกเลิกก็ต้องให้ขึ้นราคาได้หรือไม่
**“ปิยสวัสดิ์”อ้างทำตามกลยุทธ์
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การบินไทยได้ร่วมมือกับนกแอร์เพื่อให้ทำการบินเส้นทางสายรองภายในประเทศ โดยประชาชนจะได้รับบริการในระดับเดียวกันกับที่ได้รับจากการบินไทย ซึ่งเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ Two-Brand Strategy และได้รายงานและอธิบายถึงแนวทางการดำเนินนโยบายดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรีและหารือรมว.คมนาคมแล้ว ซึ่งจะมีการแจ้งล่วงหน้าก่อนที่การบินไทยจะหยุดบินอย่างน้อย 2 เดือนและนกแอร์จะต้องพร้อมเข้ามาบริการแทนทันทีโดยเช่าเครื่องบินของการบินไทย และให้บริการในอัตราค่าโดยสารที่ต่ำกว่าการบินไทย
“เรื่องนี้ยังไม่มีคำสั่งให้หยุดดำเนินการตามแผน ดังนั้น ก็จะเดินหน้าต่อไปและต้องอธิบายให้เข้าใจมากขึ้นว่าไม่ได้กระทบต่อบริการที่เคยได้รับแต่อย่างใด เพราะถือว่าการบินไทยไม่ได้ยกเลิกแต่เปลี่ยนให้นกแอร์ไปบินแทน”นายปิยสวัสดิ์กล่าว
ทั้งนี้ ตามข้อตกลง การบินไทยจะให้นกแอร์บินในเส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก, กรุงเทพ-อุดรธานีและเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ในวันที่ 1 มี.ค.2553 ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กำหนดไว้วันที่ 5ก.พ.2553
ก่อนหน้านี้ การบินไทย ได้มีการศึกษาผลดี ผลเสีย อย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ โดยปัญหาของการบินไทนในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา คือ ผลการดำเนินการในเส้นทางพิษณุโลกขาดทุนเฉลี่ย 86.3 ล้านบาทต่อปี อุบลราชธานีขาดทุนเฉลี่ย 74.9 ล้านบาทต่อปี และแม่ฮ่องสอนขาดทุนเฉลี่ย 499 ล้านบาทต่อปี