โฆษก ก.ม.ม. เชื่อ บินขนอาวุธสงคราม จุดหมายมุ่งหน้าไปประเทศที่สหรัฐฯ ปราบปรามขบวนการก่อการร้าย ด้าน "ดร.ปณิธาน" ชี้ รัฐกำลังตัดสินใจเลือกทำลายอาวุธหนักบางส่วน ตามมติยูเอ็น ที่ให้สิทธิ์ยึดและทำลาย หากเห็นเป็นภัยต่อส่วนรวม
รายการ “คนในข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน เวลา 20.30-22.00 น. วันพุธที่ 16 ธ.ค. โดยมี นายเติมศักดิ์ จารุปราณ เป็นผู้ดำเนินรายการ วันนี้ได้เชิญ พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ โฆษกพรรคการเมืองใหม่ และดร.วิเชียร อินทะสี ผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลี นักวิจัยโครงการเกาหลีศึกษา ของสถาบันเอเซียตะวันออกศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ มาร่วมพูดคุยในประเด็นรัฐบาลไทยจับเครื่องบินขนอาวุธสงคราม ซึ่งตอนนี้กำลังมีหลายฝ่ายที่เป็นห่วงเรื่องความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
นายเติมศักดิ์ กล่าวเปิดประเด็นว่า หลังจากที่รัฐบาลไทยจับเครื่องบินขนอาวุธสงครามได้ ก็มีหลายฝ่ายกังวลว่า จะส่งผลต่อความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยขณะนี้ ยังไม่ชัดว่า เครื่องบินลำดังกล่าวมีจุดหมายปลายทางที่ไหน แต่ต้นทางคาดว่าจะมาจากเกาหลีเหนือ
ดร.วิเชียร กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วหากยังไม่มีการแถลงข่าวยืนยันว่าเป็นเครื่องบินของเกาหลีเหนือหรือไม่ ต้องไล่ดูขบวนการค้าอาวุธที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่จากการที่สหประชาชาติและสหรัฐฯ ได้ติดตามเรื่องนี้มาตลอดตั้งแต่ปี 2003 ทำให้ทราบว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยครั้งในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศเยเมน หรือที่ สหรัฐอาหรับเอมิเรต์ ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งสามารถยึดเรือขนอาวุธที่จะมุ่งหน้าไปทางอิหร่านได้ โดยหลังจากตรวจสอบเรือลำดังกล่าวเป็นของเกาหลีเหนือ ล่าสุด พบเรือสัญชาติเกาหลีชื่อคังนัม 1 มุ่งหน้ามายังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทุกฝ่ายลงความเห็นกันว่าเป็นเกาหลีเหนือ และมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ประเทศเพื่อนบ้านไทยทางตะวันตก
ดร.วิเชียร กล่าวว่า ทั้งนี้ มติสหประชาชาติ เมื่อปี 1874 ได้มีข้อกำหนดว่าให้ประเทศสมาชิกสามารถหยุดเรือหรือยานพาหนะต้องสงสัยว่าขนอาวุธ ซึ่งหากพบสามารถเข้าตรวจค้นและยึดได้ทันที นอกจากนี้ ยังมีสิทธิ์ทำลายอาวุธดังกล่าวด้วยหากมีความร้ายแรงและอาจเป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งมติดังกล่าว ถือเป็นการลงโทษเกาหลีเหนือในฐานะที่ดำเนินโครงการนิวเคลียร์
นายเติมศักดิ์ กล่าวถึงประเด็น มีข่าวว่าตลาดส่งออกอาวุธของเกาหลีเหนือ สองในสามมาจากอิหร่าน ดร.วิเชียร กล่าวถึงประเด็นนี้ ว่า ถ้าอาวุธทางยุทธศาสตร์หรือเป็นอาวุธที่ยิงวิสัยไกล ซึ่งไม่ใช่การรบในสนามแบบประจันหน้าหรือจะเรียกง่ายๆว่า ขีปนาวุธ ทางเกาหลีเหนือก็มีตลาดของตนเอง เนื่องจากเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ทำให้มีอาวุธที่คิดค้นหรือดัดแปลงขึ้น
ช่วงต่อมา นายเติมศักดิ์ ต่อสายสัมภาษณ์สด ดร.ปณิธาน วัฒนายากร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงประเด็นอาวุธที่ยึดได้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ดร.ปณิธาน กล่าวประเด็นนี้ว่า การจะนำมาใช้ได้หรือนั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ 1.ต้องรอดูมติสหประชาชาติ ที่ไทยเป็นสมาชิกอยู่ว่าระบุขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ เมื่อดูจากมติสหประชาชาติ ได้ระบุไว้ว่า หากอาวุธใดหนัก หรือมีอนุภาพในการทำลายร้ายแรง อาจจำเป็นต้องทำลายทิ้ง และ2.ขึ้นอยู่กับอธิปไตยหรือวิจารณญาณของประเทศที่พบ ว่าจะตัดสินใจอย่างไร โดยส่วนใหญ่แล้วจะทำลายบางส่วน เพื่อนำอีกส่วนมาวิจัยหรือใช้ในการฝึกต่อ
ดร.ปณิธาน กล่าวต่อว่า อาวุธที่ยึดได้พบว่ามีประมาณ 3-4 กลุ่มใหญ่ คือ 1.จรวดพาดบ่าจากพื้นสู่อากาศ ซึ่งยิงวิถีด้วยเลเซอร์ ถือว่าไม่ใช่อาวุธสงครามร้ายแรง สามารถมีไว้ในครอบครองได้ 2.เครื่องยิงระเบิด หรืออาร์พีจี 7หรือ9 ก็สามารถมีไว้ในครอบครองได้ 3.ลูกกระสุนต่อต้านรถถัง จุดนี้ต้องแล้วแต่ว่าไทยจะใช้หรือไม่ แต่กลุ่มที่ 4 ซึ่งเป็นอาวุธใหม่สุด คือ เครื่องยิงจรวดขนาดใหญ่ ที่มีพิสัยการยิงเกือบ 50 กว่ากิโลเมตร
ดร.ปณิธาน กล่าวต่อว่า สำหรับกระแสข่าวที่ก่อนหน้านี้ระบุว่า รัฐบาลสั่งให้กองทัพส่งเครื่องบินประกบให้เครื่องบินขนอาวุธลงจอดที่สนามบิน ข่าวดังกล่าวตนคิดว่าคนพูดคงดูภาพยนตร์มากเกินไป โดยจริงๆแล้ว เครื่องบินดังกล่าวมองว่าไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมในการซ่อมบำรุง จึงเลือกลงจอด
พล.ร.ท.ประทีป กล่าวประเด็นนี้ว่า ตอนนี้สิ่งที่คนอยากรู้มากที่สุด คือ จุดหมายของเครื่องบินลำดังกล่าวว่าอยู่ที่ไหน ซึ่งต่อมาก็จะเชื่อมโยงกับคำถามที่ว่า อาวุธเหล่านี้ จะถูกส่งไปยังประเทศที่ใช้อาวุธเหล่านี้อยู่แล้วหรือจะถูกส่งไปยังคลังแสงอีกที่ เพื่อส่งต่ออาวุธอีกทอด ทั้งนี้ หากให้ตนวิเคราะห์ก็มองว่า ขบวนการก่อการร้ายดังกล่าว ถูกส่งไปยังพื้นที่ซึ่งเป็นประเทศที่สหรัฐฯ เข้าไปมีบทบาทในการปราบปรามหรือต่อต้านการก่อการร้าย แต่ที่แน่ๆ ตนมั่นใจว่าไม่ใช่ศรีลังกา ที่เป็นจุดหมายปลายทาง
รายการ “คนในข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน เวลา 20.30-22.00 น. วันพุธที่ 16 ธ.ค. โดยมี นายเติมศักดิ์ จารุปราณ เป็นผู้ดำเนินรายการ วันนี้ได้เชิญ พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ โฆษกพรรคการเมืองใหม่ และดร.วิเชียร อินทะสี ผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลี นักวิจัยโครงการเกาหลีศึกษา ของสถาบันเอเซียตะวันออกศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ มาร่วมพูดคุยในประเด็นรัฐบาลไทยจับเครื่องบินขนอาวุธสงคราม ซึ่งตอนนี้กำลังมีหลายฝ่ายที่เป็นห่วงเรื่องความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
นายเติมศักดิ์ กล่าวเปิดประเด็นว่า หลังจากที่รัฐบาลไทยจับเครื่องบินขนอาวุธสงครามได้ ก็มีหลายฝ่ายกังวลว่า จะส่งผลต่อความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยขณะนี้ ยังไม่ชัดว่า เครื่องบินลำดังกล่าวมีจุดหมายปลายทางที่ไหน แต่ต้นทางคาดว่าจะมาจากเกาหลีเหนือ
ดร.วิเชียร กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วหากยังไม่มีการแถลงข่าวยืนยันว่าเป็นเครื่องบินของเกาหลีเหนือหรือไม่ ต้องไล่ดูขบวนการค้าอาวุธที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่จากการที่สหประชาชาติและสหรัฐฯ ได้ติดตามเรื่องนี้มาตลอดตั้งแต่ปี 2003 ทำให้ทราบว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยครั้งในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศเยเมน หรือที่ สหรัฐอาหรับเอมิเรต์ ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งสามารถยึดเรือขนอาวุธที่จะมุ่งหน้าไปทางอิหร่านได้ โดยหลังจากตรวจสอบเรือลำดังกล่าวเป็นของเกาหลีเหนือ ล่าสุด พบเรือสัญชาติเกาหลีชื่อคังนัม 1 มุ่งหน้ามายังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทุกฝ่ายลงความเห็นกันว่าเป็นเกาหลีเหนือ และมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ประเทศเพื่อนบ้านไทยทางตะวันตก
ดร.วิเชียร กล่าวว่า ทั้งนี้ มติสหประชาชาติ เมื่อปี 1874 ได้มีข้อกำหนดว่าให้ประเทศสมาชิกสามารถหยุดเรือหรือยานพาหนะต้องสงสัยว่าขนอาวุธ ซึ่งหากพบสามารถเข้าตรวจค้นและยึดได้ทันที นอกจากนี้ ยังมีสิทธิ์ทำลายอาวุธดังกล่าวด้วยหากมีความร้ายแรงและอาจเป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งมติดังกล่าว ถือเป็นการลงโทษเกาหลีเหนือในฐานะที่ดำเนินโครงการนิวเคลียร์
นายเติมศักดิ์ กล่าวถึงประเด็น มีข่าวว่าตลาดส่งออกอาวุธของเกาหลีเหนือ สองในสามมาจากอิหร่าน ดร.วิเชียร กล่าวถึงประเด็นนี้ ว่า ถ้าอาวุธทางยุทธศาสตร์หรือเป็นอาวุธที่ยิงวิสัยไกล ซึ่งไม่ใช่การรบในสนามแบบประจันหน้าหรือจะเรียกง่ายๆว่า ขีปนาวุธ ทางเกาหลีเหนือก็มีตลาดของตนเอง เนื่องจากเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ทำให้มีอาวุธที่คิดค้นหรือดัดแปลงขึ้น
ช่วงต่อมา นายเติมศักดิ์ ต่อสายสัมภาษณ์สด ดร.ปณิธาน วัฒนายากร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงประเด็นอาวุธที่ยึดได้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ดร.ปณิธาน กล่าวประเด็นนี้ว่า การจะนำมาใช้ได้หรือนั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ 1.ต้องรอดูมติสหประชาชาติ ที่ไทยเป็นสมาชิกอยู่ว่าระบุขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ เมื่อดูจากมติสหประชาชาติ ได้ระบุไว้ว่า หากอาวุธใดหนัก หรือมีอนุภาพในการทำลายร้ายแรง อาจจำเป็นต้องทำลายทิ้ง และ2.ขึ้นอยู่กับอธิปไตยหรือวิจารณญาณของประเทศที่พบ ว่าจะตัดสินใจอย่างไร โดยส่วนใหญ่แล้วจะทำลายบางส่วน เพื่อนำอีกส่วนมาวิจัยหรือใช้ในการฝึกต่อ
ดร.ปณิธาน กล่าวต่อว่า อาวุธที่ยึดได้พบว่ามีประมาณ 3-4 กลุ่มใหญ่ คือ 1.จรวดพาดบ่าจากพื้นสู่อากาศ ซึ่งยิงวิถีด้วยเลเซอร์ ถือว่าไม่ใช่อาวุธสงครามร้ายแรง สามารถมีไว้ในครอบครองได้ 2.เครื่องยิงระเบิด หรืออาร์พีจี 7หรือ9 ก็สามารถมีไว้ในครอบครองได้ 3.ลูกกระสุนต่อต้านรถถัง จุดนี้ต้องแล้วแต่ว่าไทยจะใช้หรือไม่ แต่กลุ่มที่ 4 ซึ่งเป็นอาวุธใหม่สุด คือ เครื่องยิงจรวดขนาดใหญ่ ที่มีพิสัยการยิงเกือบ 50 กว่ากิโลเมตร
ดร.ปณิธาน กล่าวต่อว่า สำหรับกระแสข่าวที่ก่อนหน้านี้ระบุว่า รัฐบาลสั่งให้กองทัพส่งเครื่องบินประกบให้เครื่องบินขนอาวุธลงจอดที่สนามบิน ข่าวดังกล่าวตนคิดว่าคนพูดคงดูภาพยนตร์มากเกินไป โดยจริงๆแล้ว เครื่องบินดังกล่าวมองว่าไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมในการซ่อมบำรุง จึงเลือกลงจอด
พล.ร.ท.ประทีป กล่าวประเด็นนี้ว่า ตอนนี้สิ่งที่คนอยากรู้มากที่สุด คือ จุดหมายของเครื่องบินลำดังกล่าวว่าอยู่ที่ไหน ซึ่งต่อมาก็จะเชื่อมโยงกับคำถามที่ว่า อาวุธเหล่านี้ จะถูกส่งไปยังประเทศที่ใช้อาวุธเหล่านี้อยู่แล้วหรือจะถูกส่งไปยังคลังแสงอีกที่ เพื่อส่งต่ออาวุธอีกทอด ทั้งนี้ หากให้ตนวิเคราะห์ก็มองว่า ขบวนการก่อการร้ายดังกล่าว ถูกส่งไปยังพื้นที่ซึ่งเป็นประเทศที่สหรัฐฯ เข้าไปมีบทบาทในการปราบปรามหรือต่อต้านการก่อการร้าย แต่ที่แน่ๆ ตนมั่นใจว่าไม่ใช่ศรีลังกา ที่เป็นจุดหมายปลายทาง