xs
xsm
sm
md
lg

“รสนา” สับ “วิชาญ” เขียนมุมเดียว แนะวุฒิฯ ทำเว็บประจาน ส.ว.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม.
“ส.ว.รสนา” สับ “วิชาญ” เขียนแค่มุมเดียว ยันล็อบบี้โหวตกฎหมายเรื่องปกติ บางพวกพากันสกัดก็มี ชี้ทุกคนเห็นต่างกันได้ พร้อมตั้งข้อสังเกตทีโหวตสรรหา กทช.ล่ม ทำไมไม่ยกมาโจมตีบ้าง ซัดบางคนรอกดบัตรแล้วชิ่ง แนะวุฒิสภาทำเว็บไซต์ประจานใครไม่เข้าประชุม-ใครลงมติ แก้ปัญหา

วันนี้ (16 ธ.ค.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม.ในฐานะประธานกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ระบุถึงกรณีที่นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา แจกหนังสือชื่อ “ความรับผิดชอบของสมาชิกรัฐสภาและสภาล่มซ้ำซาก” ต่อสื่อมวลชน ซึ่งตอนหนึ่งถึงการประชุมวุฒิสภา ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ..... วาระที่ 2 และ 3 โดยระบุว่า มี ส.ว.บางกลุ่มและผู้มีอิทธิพลนอกสภา เชิญชวน ข่มขู่ ร้องขอ ให้เร่งผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวว่า เรื่องการล็อบบี้ให้ ส.ว.มีมติใดๆ ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะในการพิจารณาเรื่องใดๆย่อมมีคนสนับสนุนและคัดค้าน จึงมีการสกัดและการดึงคนมาสนับสนุน เช่น สมัยเลือกคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.ครั้งแรก ที่สุดท้ายวุฒิสภา ต้องส่งชื่อคืนให้กรรมการสรรหา สรรหามาใหม่เพราะผู้ได้รับการเสนอชื่อ ได้คะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ตอนนั้นก็มี ส.ว.บางกลุ่มมาคุยกับเพื่อนสมาชิกเพื่อให้โหวตไม่ผ่าน และก็มีการดึงคนออกจากห้องประชุม ทั้งนี้ กระบวนการการเมืองและการตรวจสอบ แต่ละคนสามารถเห็นต่างกันได้ ต่างคนต่างมีเหตุผลของตนเอง อย่างกฎหมายฉบับนี้ ตนไม่เห็นด้วยบางประเด็น แต่ในแง่ภาพรวม ยากที่แต่ละครั้งจะออกกฎหมายจัดการทุจริต จึงตัดสินใจสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการการ คอร์รัปชัน

ส่วนที่หนังสือระบุถึงการมี ส.ว.บางกลุ่ม จงใจทำให้สภาล่มนั้น น.ส.รสนากล่าวว่า ขอให้สื่อไปลองตรวจสอบอีกด้านว่าใครบ้างที่หายไปทั้งวัน แต่มารอจะโหวตให้ได้ในตอนสุดท้าย ซึ่งการประชุมวันนั้น เป็นการพิจารณาวาระ 2 และ 3 ในวาระ 2 ที่ เป็นการพิจารณารายมาตรา ไปตรวจสอบดูได้ว่ามี ส.ว.หลายคนโหวตตอนเช้าครั้งเดียว ส่วนมาตราอื่นอีกเกือบร้อยมาตราไม่ได้โหวต แต่จะมาโหวตให้ได้ตอนสุดท้ายในวาระ 3 และบทความที่นายวิชาญ เขียน ถ้าจะให้ยุติธรรมต้องให้ครอบคลุมถึงตรงนี้ด้วย กมธ.ของตนจึงเสนอให้วุฒิสภาทำเว็บไซต์ให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของ ส.ว.แต่ละคนถึงการเข้าประชุม การลงมติแต่ละครั้ง เพื่อให้ตรวจสอบถึงจุดยืน และการพิจารณาเรื่องใดๆ ทำอย่างปกติหรือไม่ ไม่เช่นนั้นก็จะพูดถึงปัญหาเรื่องนี้กันแค่ผิวๆ

น.ส.รสนา กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานว่า มี ส.ว.บางคนอยู่ แต่เลือกที่จะไม่เสียบบัตรแสดงตนเพื่อให้องค์ประชุมล่มว่า ตนไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่การประชุมในตอนนั้นมี ส.ว.อยู่กันประมาณ 80 คน ตนจึงเสนอที่ประชุมว่า ที่ประชุมอุตส่าห์พิจารณาเรื่องนี้กันมาทั้งวัน โหวตไปตอนนี้กฎหมายก็ล่ม เป็นเทคนิคที่ทำให้ล่มได้เพราะกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญต้องใช้เสียงโหวตเกินกึ่งหนึ่งจึงจะผ่าน จึงเสนอว่ ให้ไปโหวตในวันรุ่งขึ้นเพราะน่าเสียดาย ทั้งนี้ ตนคิดว่า อยู่ที่ว่าแต่ละคนจะมองมุมไหน ถามว่ากรณีการเลือกก ทช.รอบล่าสุด ที่บรรจุวาระวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 มี ส.ว.อยู่ถึง 110 คน แต่เลื่อนมาพิจารณาวันที่ 23 พฤศจิกายน ตรงนี้ทำไมไม่มีใครออกมาบอกว่ารู้สึกผิดปกติบ้าง
กำลังโหลดความคิดเห็น